ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

เคล็ดลับ ปลานิลแดดเดียว ทำง่ายๆ ทอดสวยๆ ทำขายก็รวย

ปลานิลแดดเดียว วัตถุดิบธรรมดาที่สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับหลายคน ในช่วงโควิด 19 พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ ด้วยวิธีทำที่ง่าย สามารถทำที่บ้านได้ จึงอาจเป็นทางรอดของใครหลายคนที่กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคระบาดที่ยังไม่สิ้นสุด

ปลา เป็นเนื้อสัตว์ที่คนไทยนิยมนำมารับประทาน เพราะบ้านเรือนแต่ก่อนติดแม่น้ำลำคลอง ทำให้หาทานได้ง่าย ซึ่งจากการที่หาปลามาได้จำนวนมาก แต่ทานไม่หมด คนในสมัยก่อนจึงได้หากรรมวิธีในการถนอมเนื้อปลา เพื่อให้เก็บรักษาได้นาน ไว้ทำเป็นอาหารในวันถัดไป จึงได้นำปลาไปดองเค็มแล้วตากแดด จนกลายเป็น ปลาแดดเดียว ซึ่งวัตถุดิบที่ใช้ก็คือ เกลือ ในการดองเค็ม เพราะจะช่วยป้องกันการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์หรือแบคทีเรีย ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย ทำให้เก็บรักษาเนื้อปลาได้นาน โดยปลาที่นิยมนำมาทำปลาแดดเดียวส่วนใหญ่จะเป็นปลาตัวเล็กๆ มีความหนาไม่มาก เช่น ปลากระดี่ ปลาหมอ ปลาสลิด

สำหรับการนำปลาแดดเดียวมารับประทาน ส่วนใหญ่จะนำมาทอดก่อนแล้วจึงรับประทาน เป็นเมนูเสริมกับอาหารอื่นๆ มากกว่า เช่น รับประทานกับข้าวต้ม เป็นต้น เพราะมีความเค็มมาก จึงอาจไม่เหมาะ หากจะทานเป็นกับข้าวจานหลัก โดยผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือผู้ที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ ควรหลีกเลี่ยงในการรับประทาน เนื่องจากปลาเค็มมีปริมาณเกลือโซเดียมเป็นจำนวนมาก อาจส่งผลเสียต่อร่างกายได้

ปลานิล เป็นปลาที่เจริญเติบโตเร็วและแพร่ขยายพันธุ์ได้ดี สามารถกินอาหารได้หลากหลายชนิดทั้ง ไรน้ำ, ตะไคร่น้ำ, ตัวอ่อนของแมลง, กุ้งฝอย ตลอดจนพืชผักชนิดต่างๆ เนื้อแน่น ทานง่าย ทำให้หาทานได้ไม่ยากและเป็นปลาชนิดหนึ่งที่คนไทยนิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งจากการที่มีลักษณะเป็นตัวไม่ใหญ่มาก จึงนิยมนำมาทำเป็นปลาแดดเดียว นอกเหนือจากปลากระดี่ ปลาหมอ และปลาสลิด

โดยในช่วงโควิด 19 ระบาด มีผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากมาย ออกมาทำปลานิลแดดเดียวขายเพื่อสร้างรายได้ ซึ่งก็ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับดีมาก สามารถสร้างรายได้จนผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ ยกตัวอย่างเช่น คุณฮาย อาภาพร นครสวรรค์ ที่เดิมอาชีพของเธอคือ นักร้อง นักแสดง ซึ่งก็ได้รับผลกระทบจากอาชีพอื่น ๆ ไม่แพ้กัน พอทำปลานิลแดดเดียวทานเอง แล้วรีวิวผ่านทางโลกโซเชี่ยล ปรากฏว่ามีคนสนใจและสั่งซื้อจำนวนมาก จากวันแรก 20 กิโลกรัม มาเป็นไม่ต่ำกว่า 200 กิโลกรัมในเวลาต่อมา แสดงให้เห็นว่า ปลานิลแดดเดียว เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภค และอาจเป็นทางรอดและช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้ของใครหลายคน ในภาวะที่ยากลำบากในขณะนี้ก็ได้

วิธีทำ ปลานิลแดดเดียว
ปลานิล

วิธีนี้เหมือนกับวิธีแบบดั้งเดิม นั่นก็คือแช่ในน้ำเกลือก่อน แต่มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเล็กน้อย นั่นก็คือ มีการคลุกเคล้ากับน้ำปลาด้วย เพื่อให้เค็มกำลังดี แต่ก็ต้องระวังอย่าใส่น้ำปลาเยอะ เพราะอาจทำให้เนื้อปลาเค็มเกินไป จนทานไม่อร่อยได้

วัตถุดิบและส่วนประกอบ

ปลา 2 ตัว
เกลือ 3 ช้อนชา
น้ำเปล่า 1 ½ ลิตร
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
นำปลาที่คัดเลือกมาล้างให้สะอาด ขอดเกร็ด ตัดหัว เอาเครื่องในออก แล่เอาเนื้อปลาออกมา นำไปล้างน้ำให้สะอาด ถ้ามีคราบสีดำอยู่ ต้องล้างให้เกลี้ยงเกลา หั่นเป็นชิ้น ให้มีขนาดเท่า ๆ กัน
เตรียมกะละมังหรือชามขนาดใหญ่ ใส่น้ำ 1 ½ ลิตร แล้วใส่เกลือ 3 ช้อนชา ทดลองให้นำเนื้อปลามาหย่อน ถ้าเนื้อปลาไม่ลอย แสดงว่าใส่เกลือยังไม่พอ ให้ใส่เกลือเพิ่มจนกว่า เนื้อปลาจะลอยขึ้นมา
นำปลามาแช่ไว้ในน้ำเกลือให้ท่วม เป็นเวลา 15 นาทีเทน้ำเกลือออก แล้วใส่น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ คลุกเคล้าให้น้ำปลาซึมเข้าสู่เนื้อปลา จนกว่าจะรู้สึกว่า เนื้อปลามีสัมผัสที่ลื่นมือ ให้พักทิ้งไว้ 20 นาที
นำมาเรียงบนกระด้ง แล้วตากแดด เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ถ้ากลัวแมลงวันตอม ให้ใส่น้ำมันพืชในขวดฟ๊อกกี้ ฉีดพรมให้ทั่วพอตากแดดได้ที่แล้ว นำมาบรรจุใส่ถุงพลาสติกหรือภาชนะปิดสนิท เก็บไว้ทอดหรือเตรียมจำหน่ายต่อไป

ปลาแดดเดียว เป็นภูมิปัญญาในการถนอมเนื้อปลาของคนไทย ให้เก็บรักษาได้นาน และสามารถนำมาทำอาหารในวันถัด ๆ ไป ซึ่งปลานิลแดดเดียว ถือว่าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากในปัจจุบัน แม้แต่ในช่วงโควิด 19 ระบาด สร้างรายได้ให้กับผู้ทำธุรกิจขายปลานิลแดดเดียวจำนวนมาก หากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจ อยากทำปลานิลแดดเดียวขาย เพื่อสร้างรายได้แล้วละก็ ลองทำตามวิธีที่นำมาฝากกัน รับรองว่า ปลานิลแดดเดียวของคุณจะมีรสชาติอร่อย ขายดีไม่แพ้ใครแน่นอน

วิธีการขอ อย.อาหาร
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย

โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป

อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน ( ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7 คน ) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย

อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือ อาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือ สูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือ มาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือ จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก

อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)

หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP

สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุม เฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก

สถานที่ยื่นคำขออนุญาต ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ( One stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทนแต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่าสำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็ว

ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/19 13:23:33
อ่าน: 426, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจฉลากโภชนาการ ปลานิลแดดเดียว , ตรวจปลานิลเเดดเดียว เพื่อขอ อย. , ตรวจอาหารสำเร็จรูป



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 639 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 665 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 901 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 899 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1086 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 884 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 900 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 885 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 945 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 882 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022