ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

การทำธุรกิจผลิตน้ำดื่ม - ขั้นตอนและข้อกำหนดต่างๆ ที่ต้องพิจารณา

ปัจจุบันธุรกิจการผลิตน้ำดื่มได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการและผู้ต้องการลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากน้ำดื่ม กล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยที่จำเป็นอันดับต้นๆ ในการดำรงชีีวิต และการบริโภคน้ำดื่มที่สะอาดมีคุณภาพที่ได้มาตรฐานสากล จึงเป็นหนึ่งสินค้าที่ได้รับเลือกในการซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ อยู่เสมอ

บทความนี้ เรามาสร้างความเข้าใจในธุรกิจอุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่มเพื่อจำหน่าย รวมถึงข้อกำหนดที่ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการ

ผลิตภัณฑ์นํ้าดื่ม (Product)

ในท้องตลาด นํ้าดื่มสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ นํ้าดื่มในภาชนะที่เป็นพลาสติกใสและพลาสติกขุ่น ผู้บริโภคจะนิยมดื่มน้ำในภาชนะบรรจุที่เป็นพลาสติกใสมากกว่า เพราะมีความเชื่อมั่นต่อความสะอาดและปลอดภัย การที่ผู้บริโภคหันมานิยมดื่มนํ้าบรรจุขวด เนื่องจากเห็นว่าหาซื้อง่าย และที่สำคัญคือมีประโยชน์ต่อร่างกาย

ลักษณะที่ดีของนํ้าดื่มบรรจุขวด/ถัง
1. สภาพภายนอกและสภาพภายในของขวด/ถังที่ใช้บรรจุต้องสะอาด บริเวณฝาปิดต้องไม่มีคราบปนเปื้อน ฝาต้องปิดสนิท มีแผ่นพลาสติกรัดฝาอีกชั้นหนึ่ง
2. ลักษณะของนํ้าต้องใส ไม่มีตะกอน สี กลิ่น รสที่ผิดปกติ
3. ฉลากต้องระบุชื่อ ตราน้ำ ดื่มที่ตั้งของผู้ผลิต ปริมาตรสุทธิ เลขทะเบียน อย. อย่างชัดเจน

ขั้นตอนการเริ่มต้นธุรกิจผลิตน้ำดื่ม

1. ติดต่อกับหน่วยงานราชการ
2. จัดเตรียมในส่วนของพื้นที่โรงเรือน
3. จัดเตรียมและในส่วนของเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่ม
4. จัดเตรียมในส่วนของกำลังคน
5. จัดเตรียมในส่วนของตลาดและกลุ่มลูกค้า

การติดต่อกับหน่วยงานราชการ
ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องติดต่อกับหน่วยงานราชการ ดังนี้
1. หน่วยงานท้องที่ ในเรื่องการขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร และการช ระภาษีโรงเรือน

-การขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร
ผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบว่าสถานที่ผลิตอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการท้องถิ่นใด เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เป็นต้นและส่วนราชการท้องถิ่นนั้น มีข้อกำหนดให้การผลิตอาหารต้องยื่นขออนุญาตหรือไม่

สถานที่ติดต่อ
กรุงเทพมหานคร ติดต่อสำนักงานเขตต่างจังหวัด ติดต่อราชการส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล

ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต
ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไป ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 1,000 บาท แต่อัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้คือ 10,000 บาท
- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ในกรณีที่สิ่งปลูกสร้างเป็นอาคารหรือโรงเรือน ผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน

สถานที่ชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน
กรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการสามารถชำระได้ยังสำนักงานเขต ที่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นตั้งอยู่ต่างจังหวัด ชำระได้ที่เทศบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล

2. กรมโรงงาน หากสถานประกอบการเข้าข่ายโรงงาน ดูได้จากจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร

สถานที่เข้าข่ายโรงงาน สามารถแยกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- โรงงานประเภท 1 มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต 5 – 20 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 20คน โรงงานประเภทนี้ไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
- โรงงานประเภท 2 มีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 20 – 50 แรงม้า หรือคนงานไม่เกิน 50 คน เมื่อจะเริ่มประกอบกิจการ โรงงานต้องแจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่
- โรงงานประเภท 3 มีเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตเกิน 50 แรงม้า หรือคนงานเกิน 50คน หรือโรงงานประเภท 1 และ 2 ที่มีการใช้ ฟืน ขี้เลื่อย หรือแกลบเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต ผู้ประกอบการต้องยื่นขออนุญาตก่อน จึงจะตั้งโรงงานได้

การชำ ระค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต มีตั้งแต่ 500 บาท สูงสุด 50,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร
ค่าธรรมเนียมรายปี
ตั้งแต่ 150 บาท สูงสุด 18,000 บาท ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 ต้องชำ ระค่าธรรมเนียมรายปีทุกปี ตั้งแต่วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน ถ้าผู้ประกอบการมิได้เสียค่าธรรมเนียมภายในเวลาที่กำหนดให้ ผู้ประกอบการจะต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน

สถานที่ชำ ระค่าธรรมเนียม
โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร ชำระค่าธรรมเนียมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนโรงงานในจังหวัดอื่นๆ ชำระที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

3. กรมทรัพยากรธรณี (หรือกรมทรัพยากรน้ำบาดาล) ในกรณีที่ไม่มีนํ้าประปาหรือนํ้าประปาไม่เพียงพอ

4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อการจัดตั้งกิจการ

5. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสาธารณสุขจังหวัด เช่น การขออนุญาตผลิตอาหารและการขอเครื่องหมาย อย.

การขออนุญาตผลิตอาหาร
สำหรับสถานที่ผลิตอาหารที่เข้าข่ายโรงงาน ผู้ประกอบการจะต้องยื่นขออนุญาตเป็นผู้ผลิตอาหารต่อสำ นักคณะกรรมการอาหารและยา หรือสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัดที่โรงงานตั้งอยู่

สถานที่ติดต่อ (กรณีเข้าข่ายโรงงาน)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุขต่างจังหวัด ติดต่อสำ นักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำดื่มจะต้องส่งตัวอย่างวิเคราะห์ตามที่กฎหมายกำหนดและนำ ผลวิเคราะห์มายื่นขออนุญาตผลิตต่อสำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.)/สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)

สถานที่ออกใบอนุญาต (เครื่องหมาย อย.)
กรุงเทพมหานคร ติดต่อกองควบคุมอาหาร สำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ถ.ติวานนท์ นนทบุรี 11000ต่างจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งสถานที่ผลิตตั้งอยู่

6. กรมสรรพากร เช่น ภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม

การจัดเตรียมพื้นที่โรงเรือน
โรงงานสิ่งปลูกสร้างและสภาพแวดล้อม
- สถานที่ตั้งและอาคารผลิต
สถานที่ตั้งของตัวอาคารและบริเวณใกล้เคียงต้องอยู่ในที่เหมาะสม ไม่ทำ ให้เกิดการปนเปื้อนกับนํ้าบริโภค หรือถ้าผู้ผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ผู้ผลิตก็ต้องมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติม อาคารผลิตต้องมีผนังทั้ง 4 ด้าน การจัดอาคารอย่างน้อยจะต้องประกอบด้วย

1. ห้องติดตั้งเครื่องมือ อุปกรณ์ปรับคุณภาพนํ้า ห้องดังกล่าวต้องมีพื้นลาดเอียง มีทางระบาย

นํ้าไม่มีนํ้าขัง

2. ห้องหรือบริเวณเก็บภาชนะก่อนล้าง ห้องนี้ต้องมีพื้นที่แห้ง มีชั้น หรือยกพื้น มีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง

3. ห้องหรือบริเวณล้างและฆ่าเชื้อภาชนะบรรจุ ห้องดังกล่าวต้องมีพื้นลาดเอียง ไม่มีนํ้าขัง และมีทางระบายนํ้า มีระบบจัดแยกภาชนะที่กำ ลังรอล้าง และที่ล้างแล้ว

4. ห้องบรรจุ ห้องนี้ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนอย่างมีประสิทธิภาพ มีทางเข้าออกที่สามารถป้องกันสัตว์ แมลง ไม่เป็นทางเดินผ่านไปยังบริเวณหรือห้องอื่นๆ มีพื้นลาดเอียง ไม่มีนํ้าขัง และมีทางระบายนํ้า มีโต๊ะ และหรือแท่นบรรจุ ซึ่งทำ ความสะอาดง่าย ห้องบรรจุดังกล่าวต้องมีการใช้ และปฏิบัติงานจริง

5. ห้องหรือบริเวณเก็บผลิตภัณฑ์ ห้องนี้ต้องมีชั้น หรือยกพื้นรองรับ มีระบบการเก็บผลิตภัณฑ์เพื่อรอจำหน่าย

เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิต
ผิวหน้าของเครื่องหรืออุปกรณ์ที่สัมผัสโดยตรงกับนํ้าบริโภค ต้องทำ จากวัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดสนิมและไม่เป็นพิษ เครื่องมือเครื่องจักรต้องสามารถทำ ความสะอาด ฆ่าเชื้อได้ง่าย และมีจำนวนพอเพียง

เครื่องมืออย่างน้อยต้องประกอบด้วย
1. เครื่องหรืออุปกรณ์การปรับคุณภาพนํ้า
2. เครื่องหรืออุปกรณ์ล้างภาชนะบรรจุ
3. เครื่องหรืออุปกรณ์การบรรจุ
4. เครื่องหรืออุปกรณ์การปิดผนึก
5. โต๊ะหรือแท่นบรรจุ ที่เหมาะสมสำ หรับขนาดบรรจุที่ต่างกัน

6. ท่อส่งนํ้าเป็นท่อพลาสติก PVC หรือวัสดุอื่นที่มีคุณภาพทัดเทียมกันดังกล่าวมีสภาพการทำ งานที่ดี นอกจากนี้ อุปกรณ์ยังต้องได้รับการทำ ความสะอาดและฆ่าเชื้ออย่างเพียงพอ ทั้งก่อนและหลังการผลิต หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสม

ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/22 14:18:14
อ่าน: 246, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจน้ำในการผลิตน้ำดื่ม , ตรวจฉลากบรรจุภัณฑ์น้ำดื่ม , ตรวจสิ่งปนเปื้อนในน้ำดื่ม



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 927 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 778 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022