ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

การผลิตข้าวโพดในประเทศไทยเพื่อการส่งออก

การแปรรูปข้าวโพด

แป้งข้าวโพด

ได้จากเมล็ดข้าวโพดที่แก่และแห้งแล้ว ผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวโพดมีอยู่ในรูปแบบต่างๆ เช่นขนมปังข้าวโพด หรือนำไปทำขนม ใช้เป็นแป้งข้าวโพดซุปผักหรือเนื้อทอด หรือจะใช้เป็นน้ำซุปข้นราดบนอาหารหลายชนิด

แป้งที่ได้จากการโม่เมล็ดข้าวโพดแบบแห้ง เรียกว่า คอร์นมีล (cornmeal) เมื่อร่อนแยกขนาดและแยกเอ็มบริโอออก เรียกว่า คอร์นฟลาวร์ (corn flour) มีโปรตีน และแร่ธาตุสูง เหมาะที่จะใช้ประกอบอาหาร คอร์นสตาร์ช (cornstarch) เป็นเวลา 36-50 ชั่วโมง เพื่อให้เปลือกนุ่ม แล้วนำเมล็ดไปบดหยาบเพื่อแยกเปลือกชั้นนอกออก แล้วผ่านไปยังถังแช่น้ำเพื่อแยกเอ็มบริโอออก จะได้แป้งและโปรตีนกลูเต็น°ได้จากการโม่เปียก โดยต้องแช่เมล็ดข้าวโพดในน้ำที่มีส่วนผสมของกำมะถันเผา ที่อุณหภูมิ 50 (gluten) เป็นเม็ดขนาดเล็ก จากนั้นนำไปผ่านเครื่องเหวี่ยง จะได้แป้งในรูปสารแขวนลอยเข้มข้นที่มีโปรตีนกลูเต็นปนอยู่เล็กน้อย

เมื่อนำสารแขวนลอยมาปั่นแยกอีกครั้งด้วยเครื่องเหวี่ยงแรงสูง ล้างแป้ง แล้วทำให้แห้ง จะได้คอร์นสตาร์ช คอร์นสตาร์ชช่วยทำให้อาหารข้น (thickener) ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ ซอส ใช้เป็นแป้งรีดผ้าและใช้ในอุตสาหกรรมการทอผ้า และผลิตเด็กซ์ตริน คอร์นไซรัป (corn syrup) เป็นฟรักโทสไซรัป (fructose syrup) ได้จากการเปลี่ยนคอร์นสตาร์ชเป็นน้ำตาลฟรักโทสด้วยกรดและเอนไซม์ เป็นน้ำตาลที่มีความหวานมากกว่าน้ำตาลจากอ้อย ไม่ให้พลังงาน และมีราคาแพง ใช้ผสมในอาหารพวกเนยถั่ว ซอสมะเขือเทศ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มต่างๆ นอกจากผลิตจากคอร์นสตาร์ชแล้ว ฟรักโทสไซรัปอาจผลิตจากแป้งมันสำปะหลังได้เช่นกัน

น้ำมันข้าวโพด

เป็นน้ำมันที่สกัดจากเมล็ดข้าวโพด ที่แก่ และแห้งแล้วประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว และมีกรดไขมันที่จำเป็นอยู่มาก น้ำมันข้าวโพดจัดเป็นน้ำมันที่มีคุณภาพดี และมีประโยชน์

ในการผลิตต้องแยกเอมบริโอออกจากเมล็ดโดยการนึ่งและบดก่อน เสร็จแล้วจึงนำเอมบริโอมาบีบหรือสกัดน้ำมันด้วยตัวทำละลาย สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่สกัดน้ำมันจากข้าวโพดมาใช้ ในตอนนั้นข้าวโพดถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมสบู่และสีเท่านั้น ต่อมาจึงนำมาใช้เป็นอาหาร เพราะน้ำมันข้าวโพดสามารถทนความร้อนได้สูงที่สุด ซึ่งเหมาะกับการทอดแบบ Deep Fried คือ ใช้ความร้อนสูงในเวลาไม่มากนัก

น้ำมันข้าวโพดมีสีเหลืองและกลิ่นหอม เมื่อเย็นจะไม่มีกลิ่น แต่ถ้าได้รับความร้อนมากขึ้นจะเริ่มมีกลิ่นของข้าวโพดบางๆ หากต้องการจะปรุงอาหารประเภทผัด น้ำมันข้าวโพดก็จะช่วยทำให้อาหารมีรสชาติอร่อย โดยยังคงคุณค่าของสารอาหารที่จำเป็น และสารธรรมชาติที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated vegetable oil) เช่นเดียวกับน้ำมันงา น้ำมันเมล็ดคำฝอย น้ำมันรำข้าว น้ำมันเมล็ดทานตะวัน และน้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น

ด้วยความที่น้ำมันข้าวโพดเป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated vegetable oil) การบริโภคน้ำมันข้าวโพดจึงเป็นดีต่อสุขภาพ เพราะจะช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจ และโรคมะเร็งได้ แต่ในชีวิตประจำวันเราจะได้บริโภคไขมันทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อสุขภาพอยู่บ่อยครั้งอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว แต่ถ้าเราได้รู้สักนิดว่าน้ำมันชนิดใดเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็คงจะช่วยให้เราตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารได้มากยิ่งขึ้น

น้ำเชื่อมข้าวโพด

เป็นน้ำเชื่อมที่ได้จากการย่อยสลายแป้งข้าวโพดใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ประเภทน้ำอัดลม และขนมหวานต่างๆ

เป็นสารให้รสหวานที่ผลิตโดยนำสตาร์ชข้าวโพดมาทำการไฮโดรไลซ์บางส่วนด้วยกรดที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส เป็นของเหลวข้นหนืดที่ประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคส มอลโทส เดกซ์ทริน มอลโทเด็กซ์ทริน และพอลิแซ็กคาไรด์อื่นๆ degree of hydrolysis จะขึ้นอยู่กับการนำน้ำเชื่อมข้าวโพดไปใช้ประโยชน์ เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพดที่พันธะถูกไฮโดรไลซ์ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ จะมี dextrose equivalent (DE) ระหว่าง 40-60 มีรสหวานประมาณครึ่งหนึ่งของน้ำตาลซูโครส หาก degree of hydrolysis เพิ่มขึ้นน้ำเชื่อมข้าวโพดที่ได้จะมีรสหวานมากขึ้น

มาตรฐานสินค้าการเกษตรข้าวโพด

ข้าวโพดหวาน เป็นสินค้าเกษตรที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตเพื่อจําหน่ายผลิตผลสดและเป็น
วัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีการส่งออกในปริมาณสูง การกําหนดมาตรฐานข้าวโพดหวาน จึงมีความสําคัญที่จะส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย สร้างความเชื่อถือให้เป็นที่ยอมรับทั้ง
ในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร จึงเห็นควรจัดทํามาตรฐาน
ข้าวโพดหวานขึ้น

มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้กําหนดขึ้นโดยใช้เอกสารต่อไปนี้เป็นแนวทาง

มาตรฐานสินค้าเกษตร ข้าวโพดหวาน

1. ขอบข่าย

มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ครอบคลุมข้าวโพดหวาน (sweet corn) พันธุ์ที่ผลิตเป็นการค้า ซึ่งได้มาจากพืชที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Zea mays L. วงศ์ Poaceae สำหรับบริโภคสด หรือใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม

2. นิยาม

ข้าวโพดหวาน หมายถึง ข้าวโพดที่มีความหวาน โดยมีปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ (total soluble solids) ไม่น้อยกว่า 9 องศาบริกซ์ (Brix) ในลักษณะทั้งฝักที่มีหรือไม่มีเปลือกหุ้ม เมล็ดติดกับซัง

3. คุณภาพ

3.1 คุณภาพขั้นต่ำ

3.1.1 ข้าวโพดหวานทุกชั้นคุณภาพอย่างน้อยต้องมีคุณภาพดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะมีข้อกำหนด

เฉพาะของแต่ละชั้นคุณภาพ และเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้มีได้ตามที่ระบุไว้

(1) เป็นข้าวโพดหวานทั้งฝักที่มีหรือไม่มีเปลือกหุ้ม ถ้ามีเปลือกหุ้ม เปลือกต้องสด

(2) เมล็ดข้าวโพดหวานมีความสด

(3) ไม่เน่าเสียหรือเสื่อมคุณภาพ ที่ไม่เหมาะกับการบริโภค

(4) สะอาด และปราศจากสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นได้

(5) ไม่มีศัตรูพืช และไม่มีความเสียหายเนื่องจากศัตรูพืชที่อาจมีผลกระทบต่อ

รูปลักษณ์หรือคุณภาพของเมล็ดข้าวโพดหวาน

(6) ไม่มีความเสียหายทางกายภาพ เนื่องจากการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการ

เก็บเกี่ยว

(7) ไม่มีการเพิ่มความชื้นจากภายนอก เพื่อเพิ่มความสดของฝักข้าวโพดหวาน

(8) ไม่มีกลิ่นแปลกปลอม และ/หรือ รสชาติที่ผิดปกติ

3.1.2 ต้องเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเมื่อแก่ได้ที่ และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การบรรจุ และ การขนส่งต้องปฎิบัติอย่างระมัดระวัง เพื่อให้อยู่ในสภาพที่ยอมรับได้เมื่อถึงปลายทาง

3.2 การแบ่งชั้นคุณภาพ ข้าวโพดหวานตามมาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพ ดังนี้

3.2.1 ชั้นพิเศษ (extra class) ข้าวโพดหวานในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด มีลักษณะตรงตาม
พันธุ์ ดังต่อไปนี้

(1) ไม่มีความผิดปกติด้านรูปทรงของฝัก และสีของเมล็ด

(2) การติดและการเรียงของเมล็ดสม่ำเสมอ

(3) ไม่มีตำหนิ ยกเว้นตำหนิเล็กน้อยที่ไม่ชัดเจน ตำหนิต้องไม่มีผลกระทบต่อ

ลักษณะทั่วไปของข้าวโพดหวาน คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และการ

จัดเรียงเสนอในภาชนะบรรจุ

3.2.2 ชั้นหนึ่ง (class I) ข้าวโพดหวานในชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดี มีลักษณะตรงตามพันธุ์

มีตำหนิได้เล็กน้อย ดังต่อไปนี้

(1) ความผิดปกติเล็กน้อยด้านรูปทรงของฝัก และสีของเมล็ด

(2) การติดและการเรียงของเมล็ดไม่สม่ำเสมอ

(3) ตำหนิเล็กน้อยที่ผิวเมล็ด ซึ่งเกิดจากการเสียดสี ขีดข่วน หรือเสียหายจากเครื่องมืออื่น โดยขนาดของตำหนิโดยรวมต้องไม่เกิน 5% ของพื้นที่ผิวข้าวโพดหวานต่อฝัก ตำหนิต้องไม่มีผลกระทบต่อ
ลักษณะทั่วไปของข้าวโพดหวาน

คุณภาพระหว่างการเก็บรักษา และการจัดเรียงเสนอในภาชนะบรรจุ

3.2.3 ชั้นสอง (class II) ข้าวโพดหวานในชั้นนี้รวมข้าวโพดหวานที่มีคุณภาพไม่เข้าชั้น

คุณภาพที่สูงกว่า แต่มีคุณภาพขั้นต่ำตามที่กำหนดในข้อ 3.1 ข้าวโพดหวานในชั้นนี้มีตำหนิ ดังต่อไปนี้

(1) ความผิดปกติด้านรูปทรงของฝัก และสีของเมล็ด

(2) การติดและการเรียงของเมล็ดไม่สม่ำเสมอ

(3) ตำหนิที่ผิวเมล็ด ซึ่งเกิดจากการเสียดสี ขีดข่วน หรือเสียหายจากเครื่องมืออื่นๆ

โดยขนาดของตำหนิโดยรวมต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ผิวข้าวโพดหวานต่อฝัก

ตำหนิต้องไม่มีผลกระทบต่อลักษณะทั่วไปของข้าวโพดหวาน คุณภาพระหว่าง

การเก็บรักษา และการจัดเรียงเสนอในภาชนะบรรจุ

4. ขนาด

การแบ่งชั้นคุณภาพและขนาดในมาตรฐานนี้ ใช้ในการพิจารณาในทางการค้าโดยนำข้อกำหนดการแบ่ง ชั้นคุณภาพไปใช้ร่วมกับข้อกำหนดเรื่องขนาด เพื่อกำหนดเป็นชั้นทางการค้า ซึ่งคู่ค้าอาจมีการเรียกชื่อ
ทางการค้าที่แตกต่างกัน ขึ้นกับความต้องการของคู่ค้าหรือตามข้อจำกัดที่มีเนื่องมาจากฤดูกาล

5. เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน

เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพและขนาดที่ยอมให้มีได้ในแต่ละภาชนะบรรจุ สำหรับข้าวโพดหวาน ที่ไม่เข้าชั้นที่ระบุไว้ดังนี้

5.1 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องคุณภาพ

5.1.1 ชั้นพิเศษ (extra class) ไม่เกิน 5% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของข้าวโพดหวานที่มี

คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นพิเศษ (ข้อ 3.2.1) แต่เป็นไปตามคุณภาพของชั้นหนึ่ง (ข้อ 3.2.2) หรือคุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของคุณภาพชั้นหนึ่ง (ข้อ 5.1.2)

5.1.2 ชั้นหนึ่ง (class I) ไม่เกิน 10% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของข้าวโพดหวานที่มี

คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นหนึ่ง (ข้อ 3.2.2) แต่เป็นไปตามคุณภาพของชั้นสอง (ข้อ 3.2.3) หรือคุณภาพยังอยู่ในเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของคุณภาพชั้นสอง (ข้อ 5.1.3)

5.1.3 ชั้นสอง (class II) ไม่เกิน 15% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของข้าวโพดหวานที่มี

คุณภาพไม่เป็นไปตามข้อกำหนดของชั้นสอง (ข้อ 3.2.3) หรือไม่ได้คุณภาพขั้นต่ำ (ข้อ 3.1) แต่ต้องไม่มีข้าวโพดหวานที่เน่าเสีย มีรอยช้ำหรือลักษณะอื่นที่ไม่เหมาะสำหรับการบริโภคหรือใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม

5.2 เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนเรื่องขนาด ข้าวโพดหวานทุกรหัสขนาด มีข้าวโพดหวานที่ขนาดใหญ่หรือเล็กกว่าชั้นถัดไปหนึ่งชั้นปนมาได้ไม่เกิน 10% โดยจำนวนหรือน้ำหนักของข้าวโพดหวาน

6. การบรรจุ

กรณีข้าวโพดหวานสำหรับบริโภคสด ให้ปฏิบัติตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.3 กรณีข้าวโพดหวานสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม ให้ปฏิบัติตามข้อ 6.1

6.1 ความสม่ำเสมอ

ข้าวโพดหวานที่บรรจุในแต่ละภาชนะบรรจุหรือรุ่นสินค้า ให้มีความสม่ำเสมอทั้งในเรื่องพันธุ์ คุณภาพ ขนาด สี และแหล่งผลิต กรณีที่มองเห็นจากภายนอกภาชนะบรรจุ ข้าวโพดหวานส่วนที่มองเห็นต้องเป็นตัวแทนของผลิตผลทั้งหมด

6.2 การบรรจุ

ให้บรรจุข้าวโพดหวานในลักษณะที่สามารถเก็บรักษาข้าวโพดหวานได้เป็นอย่างดี ภาชนะบรรจุต้องสะอาด และมีคุณภาพ สามารถป้องกันความเสียหายที่จะมีผลต่อคุณภาพของข้าวโพดหวาน หากมีการใช้วัสดุ

โดยเฉพาะกระดาษหรือตราประทับที่มีข้อกำหนดทางการค้าสามารถทำได้ หากมีการพิมพ์หรือการแสดง

ฉลากต้องใช้หมึกพิมพ์หรือกาวที่ไม่เป็นพิษ

6.3 รายละเอียดภาชนะบรรจุ

ภาชนะบรรจุมีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะ มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่มีกลิ่นและสิ่งแปลกปลอม มีคุณสมบัติทนทานต่อการขนส่ง และรักษาคุณภาพข้าวโพดหวานได้

7. เครื่องหมายและฉลาก

7.1 ข้าวโพดหวานสำหรับบริโภคสด

ต้องมีข้อความแสดงรายละเอียดที่ภาชนะบรรจุข้าวโพดหวานให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน ไม่เป็นเท็จ ดังต่อไปนี้

(1) ประเภทของผลิตผล ให้ระบุข้อความว่า ข้าวโพดหวาน หรือ ข้าวโพดหวาน และชื่อพันธุ์

(2) ชั้นคุณภาพ

(3) รหัสขนาด ในกรณีที่มีการคัดขนาด

(4) น้ำหนักสุทธิเป็นกรัมหรือกิโลกรัม

(5) ข้อมูลผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่าย ให้ระบุชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือแบ่ง

บรรจุ หรือจัดจำหน่าย กรณีข้าวโพดหวานที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคอาจระบุ

หมายเลขรหัสสินค้า (ถ้ามี) ทั้งนี้อาจแสดงชื่อและที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของ

ผู้ผลิต หรือผู้แบ่งบรรจุก็ได้ กรณีข้าวโพดหวานนำเข้าให้ระบุชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า

(6) ข้อมูลแหล่งผลิต ให้ระบุประเทศผู้ผลิต ยกเว้นกรณีข้าวโพดหวานที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ

(7) ภาษา กรณีที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศต้องใช้ข้อความเป็นภาษาไทย กรณีที่ผลิตเพื่อ

การส่งออกให้แสดงข้อความเป็นภาษาต่างประเทศได้

7.2 ข้าวโพดหวานสำหรับใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรม

ในสินค้าแต่ละรุ่นให้มีข้อความที่ระบุในเอกสารนำส่งสินค้า ที่อ่านได้ชัดเจน ไม่หลุดลอก ไม่เป็นเท็จ ดังต่อไปนี้

(1) ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือผู้รวบรวม หรือประเทศผู้ผลิต

(2) ชั้นคุณภาพ

(3) รหัสขนาด ในกรณีที่มีการคัดขนาด

(4) แบบบันทึกการปลูก/ใบรับรองแหล่งผลิตพืชตามระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติ

ทางการเกษตรที่ดี (ถ้ามี)

8. เครื่องหมายการตรวจสอบทางราชการ หรือเครื่องหมายรับรอง

ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรกำหนด หรือให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของหน่วยตรวจ หรือหน่วยรับรอง

9. สารปนเปื้อน

ชนิดและปริมาณสารปนเปื้อนในข้าวโพดหวานให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

10. สารพิษตกค้าง

ชนิดและปริมาณสารพิษตกค้างในข้าวโพดหวานให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มกษ. 9002 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกค้าง: ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด และ มกษ. 9003 มาตรฐาน สินค้าเกษตร เรื่อง สารพิษตกค้าง: ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

11. สุขลักษณะ

11.1 การเก็บเกี่ยว การปฏิบัติต่อข้าวโพดหวานในขั้นตอนต่างๆ รวมถึงการเก็บรักษา การบรรจุ และ

การขนส่ง ต้องปฏิบัติอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

11.2 การรับวัตถุดิบ การคัดเลือกตัดแต่ง การเก็บรักษา การบรรจุ และการขนส่ง ให้เป็นไปตามข้อกำหนดใน มกษ. 9035 มาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงคัดบรรจุผักและผลไม้สด

12. วิธีวิเคราะห์และชักตัวอย่าง

12.1 ให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อกำหนดของมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับวิธีวิเคราะห์และชักตัวอย่าง

12.2 วิธีวิเคราะห์ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ โดยนำน้ำคั้นข้าวโพดหวาน ไปแยกตะกอนออกโดยใช้เครื่องเหวี่ยง และนำไปวัดปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายน้ำได้ โดยใช้เครื่อง refractometer มีหน่วยเป็นองศาบริกซ์


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/09/28 13:51:19
อ่าน: 276, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจภาชนะบรรจุ ฉลากโภชนาการ ข้าวโพด , ตรวจ สารปนเปื้อน ในข้าวโพด , ตรวจ สารพิษตกค้าง ในข้าวโพด



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022