ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

นวัตกรรมแปรรูปเพิ่มมูลค่า“พริกไทย 5 สี” ขายได้ขีดละ 100 บาท

พริกไทย เป็นพืชที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นราชาของเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน และเป็นเครื่องเทศที่ให้รสเผ็ดร้อน สามารถนำมาทำพริกไทยแห้งเป็นเครื่องปรุงอาหาร โดยทั่วไปแล้วจะคุ้นเคยกับพริกไทยดำและพริกไทยขาว ซึ่งถ้าทำแห้งทั้งเปลือกจะได้พริกไทยดำเนื่องจากเปลือกเมื่อทำให้แห้งจะมีสีดำ ส่วนพริกไทยขาวได้จากการลอกเปลือกออกก่อน พบทั้งการใช้ประกอบอาหารทั้งผลแห้งและผลสดที่มีสีเขียว หรือผลแห้งป่นเป็นผงเรียกพริกไทยป่น แต่ด้วยนวัตกรรมการเกษตรที่พัฒนาขึ้น ทำให้ตอนนี้มีเกษตรกรที่คิดค้นการแปรรูปพริกไทยให้มีมากกว่า 2 สี ได้เป็นที่สำเร็จแล้ว

คุณสิทธิโชค สิทธิโชติพงศ์ หรือ พี่หนึ่ง อยู่บ้านเลขที่ 97/2 หมู่ที่ 6 ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เกษตรกรเมืองพัทลุง ดีกรีปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม กลับบ้านเกิดพัฒนาสวนพริกไทยของพ่อ แปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มทำผลิตภัณฑ์พริกไทย 5 สี สร้างรายได้หลักหมื่นต่อเดือน

พี่หนึ่ง เล่าถึงจุดเริ่มต้นการเป็นเกษตรกรให้ฟังว่า ก่อนหน้านี้ตนเองทำงานประจำอยู่ที่หาดใหญ่ เป็นพนักงานในห้องแล็บคอยตรวจสอบคุณภาพสินค้านานกว่า 15 ปี จนถึงจุดอิ่มตัวอยากมาทำงานที่บ้าน ซึ่งที่บ้านมีสวนพริกไทยที่พ่อปลูกไว้ประมาณ 1 ไร่ ตนเองจึงอยากกลับมาพัฒนาสวนพริกไทยของพ่อให้ดีขึ้น จากเดิมที่เคยขายแต่พริกไทยดำ พริกไทยสด อย่างเดียวแล้วราคาไม่ดีเท่าที่ควร ตนเองจึงคิดหาแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าพริกไทยให้เพิ่มขึ้น พร้อมกับการตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไรจะให้พริกไทยของที่สวนมีความแตกต่างไปจากพริกไทยเจ้าอื่นๆ จนได้ไปเห็นกระบวนการทำพริกไทยที่ต่างประเทศ ที่จะมีวิธีการอบแห้งเพื่อรักษาสีไว้ ให้มีความหลากหลาย พร้อมกับคุณภาพที่ยังคงอยู่เหมือนเดิม ซึ่งหลังจากจุดประกายไอเดียจากตรงนี้มาได้ ขั้นตอนหลังจากนั้นคือการแสวงหาวิธีการและอุปกรณ์เครื่องจักรที่สามารถทำได้ และก็ค้นพบอุปกรณ์จนนำไปสู่การแปรรูปออกมาเป็นพริกไทยหลากสีได้สำเร็จ

การปลูกพริกไทยเพื่อการแปรรูป

พี่หนึ่ง บอกว่า เดิมพริกไทยที่พ่อปลูกไว้จำนวน 1 ไร่ เป็นพริกไทยปะเหลียน ที่เป็นสายพันธุ์พื้นบ้านของชาวอำเภอปะเหลียน ที่ปลูกแบบอินทรีย์ทั้งหมด มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าพริกไทยสายพันธุ์อื่นๆ ด้วยรสชาติที่เผ็ดร้อน มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ฝักแน่นเป็นที่นิยมในหมู่ร้านอาหาร

เตรียมสู่กระบวนการแปรรูป

โดยทั่วไปส่วนที่นำมาขยายพันธุ์พริกไทยมีอยู่ 2 ส่วน คือ กิ่งแขนงและกิ่งไหล ที่สวนจะเลือกปลูกแบบขึ้นค้าง จะใช้ในส่วนของไหลยอดมาขยายพันธุ์ เพราะเลื้อยขึ้นเสาค้างที่มีความสูงได้ดี

ความสะอาดเป็นสิ่งที่เราใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง

พริกไทยสด ปลอดสารพิษ ปลอดสารปนเปื้อน พร้อมนำไปอบแห้ง
วิธีปลูก ขั้นตอนสำคัญคือการเตรียมดินปลูกให้ดี แปลงปลูกจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีการระบายน้ำได้ดี ปรับพื้นที่ไม่ให้มีน้ำขัง ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

กระบวนการผลิตพริกไทยเขียว
หลังจากเตรียมดินเสร็จ ทำเสาค้าง ที่สวนใช้เป็นเสาปูนสูงประมาณ 2 เมตรครึ่ง ปักเสาปูนลงดินลึกประมาณ 50 เซนติเมตร นำกิ่งพันธุ์ที่เตรียมไว้ ขุดหลุมปลูกไม่ต้องลึก ปลูกหลุมละ 2 กิ่งไหล กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม

แปลงพริกไทยอินทรีย์ของที่สวน
ระบบน้ำ ปัจจุบันใช้ระบบเดินรดน้ำ โดยดูจากสภาพอากาศเป็นหลัก หากช่วงไหนฝนแล้งจะรดน้ำอาทิตย์ละ 2-3 ครั้ง หากช่วงไหนฝนตกเยอะจะงดให้น้ำ

ปริมาณผลผลิตต่อต้น ใช้เวลาปลูกประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปีครึ่ง เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ โดยพริกไทยทางใต้ส่วนใหญ่จะออกผลผลิตปีละครั้ง เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม เก็บผลผลิตทั้งพริกไทยเขียวและพริกไทยแดง ผลผลิตต่อต้นประมาณ 15 กิโลกรัมต่อปี

ขยายพื้นที่ปลูกเพิ่ม

พี่หนึ่ง อธิบายว่า พริกไทยหลากสีเกิดมาจากพริกไทยสายพันธุ์เดียว แต่สาเหตุที่ทำให้เป็นพริกไทยออกมาได้หลายสีนั้นตัวแปรสำคัญอยู่ที่ขั้นตอนกระบวนการแปรรูปที่ทำให้เกิดเป็นพริกไทยหลากสีออกมา ด้วยวิธีการทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง หรือ ฟรีซดราย (Freeze Drying) เพื่อรักษาสีของพริกไทยให้คงเดิม ในสัดส่วนการแปรรูปพริกไทยสด 10 กิโลกรัม เมื่อนำมาแปรรูปจะได้พริกไทยแห้ง 4 กิโลกรัม

ฝักแน่น
ขั้นตอนการแปรรูปพริกไทยหลากสี

พริกไทยสีดำ หลังเก็บพริกไทยสดจากต้นมาแล้ว ในส่วนของการทำพริกไทยดำ จะเลือกเก็บเอาพริกไทยสีเขียวที่แก่เต็มที่แล้ว มาแกะออกจากช่อ นำไปล้างน้ำให้สะอาดประมาณ 4-5 รอบ ล้างเสร็จนำไปใส่ตะแกรงแล้วเอาไปตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน จากนั้นพริกไทยจากสีเขียวจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีดำ แล้วนำมาอบอีกครั้งในตู้อบที่มีอุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง เพื่อให้เมล็ดพริกไทยมีความแห้งสนิท ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรา
จุดเด่น : กลิ่นหอมเด่นชัด รสชาติเผ็ดร้อน

พริกไทยสีขาว จะใช้พริกไทยสุกที่มีสีแดงมาแช่น้ำไว้ 1 คืน เพื่อให้เปลือกของพริกพองออกง่ายต่อการปอกเปลือก หากแช่นานกว่านี้จะทำให้พริกไทยกลิ่นไม่หอม โดยใช้วิธีขยำแบบภูมิปัญญาชาวบ้านทั่วไป ขยำล้างน้ำหลายๆ รอบเพื่อให้เปลือกของพริกไทยหลุดออกจนหมด เผยให้เห็นเมล็ดพริกไทยเป็นสีขาว ให้นำไปตากแดดไว้ประมาณ 3-4 วัน แล้วนำไปอบแห้งที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง
จุดเด่น : กลิ่นหอมอ่อนๆ รสชาติเผ็ดร้อนใกล้เคียงกับพริกไทยดำ

พริกไทยสีเขียว เก็บพริกไทยแก่สีเขียว ไปล้างน้ำทำความสะอาด แล้วนำไปเข้าเครื่องฟรีซดราย (Freeze Drying) เพื่อช่วยในการรักษาสี รักษากลิ่นของพริกไทยไว้ให้คงเดิม โดยเครื่องฟรีซดรายเป็นการขอเช่าใช้เครื่องกับทางมหาวิทยาลัยทักษิณก่อนในเบื้องต้น เนื่องด้วยราคาเครื่องมีราคาค่อนข้างสูง ตนเองถือเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ แต่ในอนาคตหากสินค้าไปได้ดีคาดว่าจะซื้อเป็นของตนเองอย่างแน่นอน
จุดเด่น : กลิ่นหอมสดชื่น รสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อย

พริกไทยสีแดง เก็บพริกไทยสุกสีแดง ไปล้างน้ำทำความสะอาด แล้วนำไปเข้าเครื่องฟรีซดราย (Freeze Drying) เหมือนขั้นตอนการทำพริกไทยสีเขียว
จุดเด่น : กลิ่นหอมสดชื่นคล้ายกับกลิ่นผลไม้ รสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อย

พริกไทยหลากสี เกิดจากการนำพริกไทยทั้ง 4 สี คือ สีดำ สีขาว สีแดง และสีเขียว มาผสมกันไว้ในขวดเดียว เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับผู้บริโภค ทั้งสีสันและรสชาติที่แตกต่างกันออกไป
จุดเด่น : รวมความหอมของพริกไทยแต่สีได้อย่างลงตัว รสชาติเผ็ดร้อน

ขั้นตอนบรรจุภัณฑ์

รูปแบบการสร้างรายได้ แบ่งออกเป็น 2 แบบ 1. ภาชนะบรรจุ แบบขวดพร้อมฝาบด ขายในราคา พริกไทยหลากสี 50 กรัม 220 บาท พริกไทยสีแดง 35 กรัม 190 บาท พริกไทยสีเขียว 35 กรัม 160 บาท พริกไทยสีขาว 50 กรัม 120 บาท และพริกไทยสีดำ 50 กรัม 80 บาท 2. ภาชนะบรรจุ แบบรีฟิล ขนาดต่างๆ ตามความต้องการของลูกค้า ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการตอบรับที่ดี มีกลุ่มลูกค้าหลักเป็นร้านอาหาร ร้านสเต๊ก ร้านชาบู และลูกค้าชาวต่างชาติที่เข้ามาเป็นลูกค้าประจำ สามารถสร้างรายได้กว่า 30,000 บาทต่อเดือน เป็นรายได้ที่พอใจสำหรับการเริ่มต้นทำ ซึ่งในอนาคตวางแผนพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าจากพริกไทยไปอีกเรื่อยๆ รวมถึงการขยายฐานการผลิตให้มั่นคงกว่าเดิม

บรรจุใส่ขวดสวยงาม สะอาด ปลอดภัย

วิ่งเข้าหาตลาด อย่าหยุดอยู่กับที่

สำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่การตลาดถือว่าไม่น่าเป็นห่วง แต่สำหรับเกษตรกรรุ่นเก่าด้วยความคิดเห็นของผมคือเขายังยึดติดอยู่กับที่ ชินอยู่แต่ในสวน รอแต่ให้พ่อค้าเข้ามารับซื้อ แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้วถ้าโซเชียลเราไม่เก่ง ให้เราขยันออกไปหาตลาดข้างนอก ออกไปเจอลูกค้า ออกไปขายเอง แล้วถ้าวันหนึ่งขายจนลูกค้าติด มีลูกค้าประจำแล้ว ถึงวันนั้นจะกลับไปอยู่ที่บ้านแล้วมีพ่อค้ามารับซื้อถึงที่สวนอันนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี แต่ถ้าหากใครนอนรอพ่อค้าแม่ค้าอยู่บ้านเฉยๆ ในยุคนี้คิดว่าอยู่ยาก และที่สำคัญการแปรรูปถือเป็นเรื่องสำคัญ หากทำได้เกษตรกรไม่มีจน แต่ก็ต้องเน้นถึงคุณภาพสินค้าเป็นที่ตั้งด้วย หากทำออกมาไม่ได้มาตรฐานจากข้อดีจะกลายเป็นข้อเสียไปเลย พี่หนึ่ง กล่าวทิ้งท้าย

พริกไทยเขียวอบแห้ง ลักษณะเมล็ดผิวเรียบผสมขรุขระ มีเปลือกหุ้มสีเขียว รสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อย กลิ่นหอมสด

ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/05 13:40:21
อ่าน: 235, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพมาตรฐานพริกไทย , ตรวจสารปนเปื้อนพริกไทย , ตรวจฉลาก บรรจุภัณฑ์พริกไทย




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 644 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 671 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1091 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 890 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 890 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 952 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 888 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022