ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

"ธุรกิจสินค้าออแกนิค" อยากทำธุรกิจสินค้าออแกนิคไม่ใช่เรื่องยาก

อยากทำธุรกิจออร์แกนิคแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง?

ในยุคปัจจุบันที่คนไทยใส่ใจกับเทรนด์รักสุขภาพและความปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงยุคที่ประเทศไทยประสบกับโรคระบาดโควิด 19 ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการและสนใจอาหารที่ปลอดภัย ไม่เจือปนสารเคมี และสามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้เพิ่มมากขึ้น คำว่า ออร์แกนิค หรือ เกษตรอินทรีย์ จึงเป็นคำที่ทุกคนคุ้นหู และใช้กันมากขึ้นในทุกๆวัน ฉะนั้นเกษตรกรชาวไทยจึงรอเฉยไม่ได้ ต้องรีบตักตวงโอกาสนี้ หาข้อมูลในการทำสินค้าออร์แกนิค ลงทุนทำเกษตรปลอดสาร และเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจของตัวเอง

ออร์แกนิคคืออะไร?

ก่อนที่เกษตรกรจะลงทุนหรือลงมือทำสินค้าออร์แกนิค อันดับแรกคือ ต้องรู้จักคำว่า ออร์แกนิค ให้ชัดเจนเสียก่อน ออร์แกนิค คือ การปลูกพืชด้วยวิธีทางธรรมชาติ ปลอดสารเคมีทุกขั้นตอนการผลิต พืชที่ปลูกเป็นพืชตามฤดูกาลทีเหมาะสม ไม่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรม (GMO) เมล็ดพืชที่ใช้ไม่เป็นเมล็ดพืชที่ถูกตัดต่อหรือดัดแปลง รวมถึงวัสดุดินที่ใช้ปลูกต้องไม่ผ่านการใช้สารเคมีมาก่อนหน้า โดยเงื่อนไขในการผ่านใบรับรองออร์แกนิค คือ ต้องไม่มีการใช้สารเคมี หรือ ปุ๋ยเคมี เป็นเวลาติดต่อกัน 3 ปี

ออร์แกนิคดีอย่างไร?

เกษตรอินทรีย์นับว่าเป็นธุรกิจออร์แกนิคที่น่าลงทุน และเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ และได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากผู้บริโภค อีกทั้งยังเป็นแนวปฏิบัติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากจะช่วยทำให้ผู้บริโภคและตนเองมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากผักออร์แกนิคแล้ว ผู้ปลูกยังสามารถมีผักผลไม้จากการเพาะปลูกออร์แกนิคกินได้ตลอดทั้งปี

เกษตรกรหลายท่านอาจกลัวว่าสินค้าออร์แกนิคนั้นมีราคาสูงเกินไป แต่จริงๆ แล้วเกษตรอินทรีย์หรือสินค้าออร์แกนิคมีตลาดที่ใหญ่มากและผู้บริโภคส่วนใหญ่มีกำลังซื้อ โดยดูได้จากเทรนด์ธุรกิจออร์แกนิคในประเทศไทย (อ้างอิงจาก เส้นทางเศรษฐีออนไลน์) ที่มีมูลค่าตลาดภายในประเทศประมาณกว่า 3,000 ล้านบาท และมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ประมาณ 2.1 พันล้านบาท ตลาดออร์แกนิคมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% ต่อปี อีกทั้งพื้นที่เพาะปลูกเกษตรอินทรีย์ของประเทศไทยจากเดิม 357,091 ไร่ ปัจจุบันเพิ่มขึ้นมาเป็น 83% หรือคิดเป็น 652,000 ไร่ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ผลิตเกษตรอินทรีย์มากที่สุดเป็นลำดับที่ 3 ในกลุ่มอาเซียน รองจากประเทศอินโดนิเชีย และประเทศฟิลิปปินส์

ขั้นตอนสู่ธุรกิจออร์แกนิค

การเริ่มต้นธุรกิจออร์แกนิค ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากการทำสิ่งยิ่งใหญ่ แต่ทว่าเริ่มจากการทดลองปลูกแปลงเล็กๆ เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ รวมถึงหาข้อมูลเชิงลึกในการทำเกษตรอินทรีย์ และเพื่อได้ใช้เวลาหาตลาดที่ใช่ในการกระจายสินค้าออร์แกนิคอีกด้วย ขั้นตอนในการทำธุรกิจออร์แกนิคไม่ยาก มี 5 ขั้นตอน ดังนี้

1.วางแผนทำสวนผักออร์แกนิค เกษตรกรต้องมีการวางแผนงานการดำเนินการที่ละเอียด และคำนึงถึงปัจจัยและปัญหาที่น่าจะเกิดขึ้นในการทำสวนผักออร์แกนิค โดยเริ่มจากการประเมินสิ่งที่ตนเองมี เช่น พื้นที่ปลูก งบประมาณลงทุน แหล่งซื้ออุปกรณ์หรือวัสดุต่างๆใกล้บ้าน แหล่งข้อมูลทั้งออนไลน์และออฟไลน์ (แหล่งข้อมูลบุคคล หรือสถานที่ดูงาน) ไปจนถึงการคิดหาแนวทางการทำธุรกิจออร์แกนิค

2.ศึกษาหาความรู้และเตรียมการ ก่อนจะลงมือทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรจะต้องศึกษาหาข้อมูลการทำสวนผักออร์แกนิคเชิงลึก โดยการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งอินเตอร์เน็ต หรือช่องวิดีโอที่เกี่ยวข้อง หรือกระทั่งไปศึกษาดูงานจากสวนผักออร์แกนิคต่างๆได้ เกษตรจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ พื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม ดิน ปุ๋ยอินทรีย์ จุลินทรีย์ ปริมาณแสงแดดที่เหมาะสม ฤดูกาลปลูกที่ดี รวมไปถึงการกำจัดโรคและวัชพืชแบบไม่ใช้สารเคมี

3.ทดลองปลูกผักออร์แกนิค ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำสวนผักออร์แกนิคที่เป็นกรณีตัวอย่างในข่าว หรือช่องวิดีโอต่างๆ ต่างก็เป็นเกษตรกรที่ต้องเริ่มจากการทดลองปลูก และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ก่อนทั้งสิ้น อาจจะมีการทดลองผิดทดลองถูกอยู่หลายต่อหลายครั้งเพื่อพัฒนาธุรกิจออร์แกนิคของตนให้ดียิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการปลูกพืชที่ตนเองชอบ หรือถนัด ไม่ควรปลูกพืชชนิดเดียวเยอะเกินไปจนทำให้เกิดสินค้าล้นตลาด และอาจทำให้ทางเลือกในการขายสินค้าลดน้อยลง การปลูกสามารถเริ่มปลูกได้จากแปลงปลูกขนาดเล็ก เพื่อช่วยให้ดูแลและควบคุมผักออร์แกนิคได้อย่างทั่วถึง

4.ขึ้นทะเบียนรับรองสวนผักออร์แกนิค การมีใบรับรองสวนผักออร์แกนิคถือเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากเป็นสิ่งรับรองความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของธุรกิจออร์แกนิคของเกษตรกรนั้นๆ และยังเป็นเครื่องหมายในการต่อยอดทางด้านการขายสินค้าออร์แกนิคอีกด้วย

ฉะนั้นเกษตรกรสายสุขภาพจึงต้องรู้จักตรามาตรฐานสินค้าอินทรีย์ของหน่วยงานไทย ซึ่งมีดังนี้

ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ มกท. (ORGANIC AGRICULTURE CERTIFICATION THAILAND – ACT)

ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ– มกอช. (NATIONAL BUREAU OF AGRICULTURAL COMMODITY AND FOOD STANDARDS – ACFS)

ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ องค์กรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ภาคเหนือ – มอน. (THE NORTHERN ORGANIC STANDARD ORGANIZATION)

ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เพชรบูรณ์ (มก.พช.)

ตรามาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ ชมรมเกษตรอินทรีย์เกาะพะงัน

5.ทำการตลาดสินค้าออร์แกนิค เกษตรกรสามารถต่อยอดธุรกิจออร์แกนิคได้โดยการทำการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าเกษตรอินทรีย์ และขยายช่องทางการขายสู่ตลาดใหม่ๆ อีกทั้งประชาสัมพันธ์สวนผักออร์แกนิคเพื่อทำการเกษตรเชิงท่องเที่ยวได้อีกด้วย โดยอาจจะเริ่มต้นจากการสร้างเว็บไซต์ หรือเพจเพื่อให้สวนผักออร์แกนิคและสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นที่รู้จัก จากนั้นทำการขายและออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และอื่นๆ โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากกรณีศึกษาอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ต


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/06 15:18:59
อ่าน: 272, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจมาตรฐานระบบเกษตรอินทรีย์ , ตรวจเพื่อ ขึ้นทะเบียนรับรองสวนผักออร์แกนิค , ตรวจ สารเคมีตกค้าง ผักออแกนิค



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 621 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 646 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 883 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 883 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1013 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 866 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 883 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 868 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 927 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 865 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022