ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

เลี้ยง จิ้งหรีด มาตรฐาน GAP ส่งออก

หากเอ่ยถึงแหล่งโปรตีนชั้นดี คงปฏิเสธไม่ได้ว่า แมลง กำลังเป็นเทรนด์อาหารทางเลือกมาแรง และเป็นแหล่งโปรตีนแห่งอนาคต เพราะนอกจากแมลงจะมีโปรตีนสูงกว่า เนื้อวัว หมู และ ไก่ แล้ว ยังใช้พื้นที่ไม่มาก ได้ผลตอบแทนเร็วกว่า เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ซึ่งแมลงที่ได้รับความนิยมขณะนี้ คือ จิ้งหรีด (Cricket) หนึ่งในแมลงอุตสาหกรรมของไทย

การเลี้ยงจิ้งหรีด
ทีมงานสัตว์บกได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณไพบูลณ์ คำมูลมาตย์ หรือ ไพบูลณ์ฟาร์ม หนึ่งในเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีด บ้านแสนตอ เป็นหมู่บ้านได้รับรองมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดปลอดภัย GAP จำนวน 43 ครัวเรือน มากที่สุดของประเทศไทย

บ้านแสนตอ ตำบลบัวใหญ่ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นแหล่งผลิตแมลง โดยเฉพาะจิ้งหรีด ที่ใหญ่เป็นอันดับต้นของประเทศ มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีแนวโน้มการผลิตเพิ่มขึ้นอีก โดยตั้งเป้าผลิตส่งออก และทำเป็นฟาร์มจิ้งหรีดมาตรฐาน GAP เพื่อการส่งออก

ปัจจุบันคุณไพบูลณ์ทำฟาร์มจิ้งหรีดมาได้ 12 ปี เดิมทีเคยเลี้ยงจิ้งหรีดเพื่อบริโภคเองในครอบครัว และได้เลิกเลี้ยงไป หลังจากนั้นไม่นานก็มีพ่อค้ามาติดต่อรับซื้อจิ้งหรีด คุณไพบูลณ์จึงเริ่มกลับมาเลี้ยงอีกครั้ง และเห็นว่ามีตลาดรองรับ ก็ได้แนะนำญาติพี่น้องให้หันมาเลี้ยงจิ้งหรีด หลังจากนั้นก็ได้มีการแนะนำกันไปเรื่อยๆ จนก่อตั้งเป็น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ

ทั้งนี้ บ้านแสนตอ เป็นหนึ่งในหมู่บ้านเป้าหมายของโครงการการพัฒนาเกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ระบบการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัย ที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ฝ่ายเกษตร และ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงจิ้งหรีดมีความสามารถในการผลิตจิ้งหรีดให้ได้มาตรฐานความปลอดภัย ตลอดจนการรวมกลุ่มเป็นผู้ประกอบการ และมีรายได้เพิ่มจากการเลี้ยงจิ้งหรีด

ด้านตลาดและช่องทางจำหน่ายจิ้งหรีด ทั้งในและต่างประเทศ
บ้านแสนตอ ปัจจุบันมีเกษตรกรที่เลี้ยงจิ้งหรีดรวมกลุ่มกันได้ถึง 43 ครัวเรือน ในหนึ่งรอบการผลิตทางกลุ่มวิสาหกิจจะผลิตส่งพ่อค้าได้ 30-40 ตัน เมื่อกลุ่มได้มาตรฐาน GAP มีการส่งออกที่กว้างขึ้นไปยังต่างประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น อเมริกา เม็กซิโก และ ออสเตรเลีย ส่งออกทั้งแบบตัวอบแห้ง และแบบผง

จิ้งหรีดถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมด้วย ตัวเลขแนวโน้มทางเศรษฐกิจของตลาดแมลงทั่วโลกโดยอ้างอิงจาก Meticulous Research ว่า ธุรกิจนี้มีแนวโน้มการเติบโตแบบก้าวกระโดดมากกว่าร้อยละ 20 ภายใน 5 ปี (2561 – 2566)

จากอตีดถึงปัจจุบันถือว่ามีคนหันมาสนใจจิ้งหรีดมากขึ้น มีทั้งคนกินมากขึ้น คนเลี้ยงมากขึ้น การแข่งขันค่อนข้างสูง แม้ว่าช่วงนี้จะมีปัญหาเรื่องสถานการณ์โควิด แต่ธุรกิจก็ยังสามารถดำเนินต่อได้เรื่อยๆ อาจมีการชะงักเรื่องการขนส่งบ้าง แต่ไม่ถึงกับต้องหยุดการผลิต เพราะทางกลุ่มมีห้องเย็นสำหรับเก็บผลิตภัณฑ์ ทำให้ยังคงผลิดออกมาได้ตามรอบปกติ คุณไพบูลณ์เผยถึงสถานการณ์จิ้งหรีดในอตีดถึงปัจจุบัน

รอบการจับจิ้งหรีดขายอยู่ที่ 45 วัน ต่อรอบ เมื่อถึงเวลาจับขาย จะมี พ่อค้า แม่ค้า มารับถึงฟาร์ม การจับจิ้งหรีดทำโดยการนำแผงไข่ออกจากบ่อเลี้ยง ก่อนนำออกจากบ่อเลี้ยงให้สลัดตัวจิ้งหรีดออกให้หมด จากนั้น พ่อค้า แม่ค้า จะนำตัวจิ้งหรีดใส่ถุง แล้วน็อกด้วยน้ำแข็งส่งไปยังปลายทางเพื่อจำหน่าย

ทางกลุ่มวิสาหกิจกำลังดำเนินการก่อสร้างโรงงานแปรรูปจิ้งหรีด เริ่มดำเนินการไปแล้วเมื่อเดือนกันยายน พร้อมใช้ต้นปีหน้า จุดประสงค์ของการสร้างโรงแปรรูปเพื่อสร้างฐานตลาดที่กว้างขึ้น และสะดวกต่อการขนส่งในอนาคต

การขนส่งที่ใช้ปัจจุบันจะเป็นการน็อคน้ำแข็ง ซึ่งน้ำหนักจะเยอะ จึงมีการสร้างโรงงานแปรรูปเพื่ออบแห้ง แปรรูปเป็นชนิดผง เพื่อเพิ่มมูลค่า และช่วยให้การขนส่งง่ายขึ้น และเราสามารถต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในอนาคต คุณไพบูลณ์เผยถึงจุดประสงค์ของโรงแปรรูป

สภาพพื้นที่เลี้ยงจิ้งหรีด
แม้ว่าจิ้งหรีดจะเป็นแมลงขนาดเล็ก ประหยัดพื้นที่ในการเลี้ยง แต่โรงเรือนสำหรับจิ้งหรีดก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจิ้งหรีดเป็นสัตว์บอบบาง อ่อนไหวง่าย เมื่ออยู่ในที่ที่อุณหภูมิสูงเป็นเวลานานจะตาย หรืออยู่ในที่ที่มีความชื้นสูง โดนฝนก็ตายเหมือนกัน ดังนั้นโรงเรือนที่ทำควรมีความโปร่ง อากาศสามารถถ่ายเท กันแดด กันฝน ได้

อุณหภูมิไม่ควรเกิน 35 องศาเซลเซียส หากร้อนกว่านั้นต้องช่วยระบายความร้อนให้ โดยการเปิดพัดลม เพื่อให้อากาศถ่ายเท และจิ้งหรีดเป็นสัตว์ที่มีความอ่อนไหวต่อสารทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นควันไฟจากการเผา กลิ่นบุหรี่ ควันบุหรี่ กลิ่นน้ำหอม หากอยู่ในระยะที่จิ้งหรีดรับกลิ่นได้ มีโอกาสตายสูง

การเลี้ยงจิ้งหรีดเหมือนจะง่าย แต่เป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก เมื่อถามถึงปัญหาที่เจอของการเลี้ยงจิ้งหรีด คุณไพบูลณ์ได้เผยว่า ก็จะเจอปัญหาช่วงที่เลี้ยงแรกๆ เรื่องสภาพภูมิอากาศ ไม่รู้พฤติกรรมของจิ้งหรีด พอได้ลองเลี้ยงก็ได้ศึกษาและเก็บเกี่ยวประสบการณ์มาเรื่อยๆ และช่วงแรกเจอกับปัญหาเรื่องท้องร่วง เพราะช่วงนั้นมีเซลล์ขายอาหารติดต่อมาเยอะมาก ก็ทดลองใช้ทุกสูตร สรุปจิ้งหรีดเกิดโรคท้องน้ำ

หลังจากนั้นก็มีกรมส่งเสริมฯ และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาให้คำแนะนำและความรู้ในการเลี้ยง ก็ช่วยให้ปัญหาโรคท้องน้ำหมดไป

จากนั้นทางฟาร์มก็เลิกใช้อาหารบริษัท และเลือกใช้เพียงบริษัทเดียว ทางไพบูลณ์ฟาร์มเลือกใช้อาหารสำเร็จรูปของ บริษัท ลีพัฒนาผลิตภัณฑ์ จํากัด (มหาชน) สูตร J80 และมีเสริมอาหารตามธรรมชาติบ้าง เช่น ใบมันสำปะหลัง หัวมัน ฟักทอง ที่ปลูกเอง หรือต้องมาจากแหล่งที่ไว้ใจได้ว่าปลอดสารพิษ เพราะจิ้งหรีดจะไวต่อสารพิษมาก

การบริหารจัดการโรงเรือนจิ้งหรีด
ส่วนปัญหาเรื่องสภาพอากาศเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ แต่ผลผลิตจะออกมาดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการ และประสบการณ์ ในช่วงที่อากาศหนาวจัดจะเกิดปัญหาจิ้งหรีดโตช้า จะได้ผลผลิตช้าและน้อย ส่วนหน้าร้อนจะดีขึ้น แต่ต้องคำนวณการลงจิ้งหรีดต่อขันให้ดี เพื่อลดความแออัดในช่วงอากาศร้อน

ในหน้าหนาวผมก็จะลง 20ขัน/บ่อ พอหน้าร้อนช่วงมีนาคม เมษายน ที่อากาศร้อนจัดๆ ก็จะลง 10 ขัน/บ่อ เพื่อให้ไข่แตกตัวได้ดี หากใส่เยอะเท่าช่วงหน้าหนาว จะทำให้แมลงเครียด คุณไพบูลณ์กล่าวเพิ่มเติมถึงเทคนิคการลงแมลงในแต่ละช่วง

สำหรับปัญหาเรื่องโรคก็ขึ้นอยู่กับการจัดการของฟาร์ม ความสะอาด สภาพแวดล้อมรอบโรงเรือน ส่วนแผงไข่ ที่ใช้สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของจิ้งหรีด ควรปราศจากความชื้น หากชื้นหรือผุพัง ก็ต้องเปลี่ยนแผงไข่ใหม่

การให้อาหารทางฟาร์มจะให้วันละ 2 มื้อ เช้า เย็น ต้องมีถาดให้อาหาร ซึ่งจิ้งหรีดกินอาหารเยอะมาก แต่ถ้าอาหารที่ให้ไว้ในตอนเช้ายังไม่หมด ก็ไม่จำเป็นต้องเติมให้อีก เพราะจิ้งหรีดจะถ่ายมูลออกมาปนกับอาหาร ทำให้อาหารชื้นและเสียได้

ในช่วง 0-2 อาทิตย์ ทางฟาร์มจะให้อาหารสำเร็จรูป หลังจาก 2 อาทิตย์ หากมีอาหารธรรมชาติก็จะให้อาหารธรรมชาติ จนถึงจับ แต่หากฟาร์มไหนไม่มีอาหารธรรมชาติปลูกเอง หรือไม่มั่นใจเรื่องสารพิษ ก็ให้อาหารสำเร็จรูปจนถึงวันจับได้

ส่วนการให้น้ำทางฟาร์มจะให้ทางถาด เพราะง่ายต่อการทำความสะอาด การให้ทางท่อ ถ้าหากทำความสะอาดไม่ดีจะก่อให้เกิดเชื้อโรคได้ แต่การให้ทางถาดต้องมีการนำกากมะพร้าวมาวางเพื่อป้องกันจิ้งหรีดตกน้ำตาย และควรทำความสะอาด ถาดน้ำ ถาดอาหาร ทุกวัน

การดูแลจัดการฟาร์มมีหลายรูปแบบ แล้วแต่ว่าแต่ละฟาร์มจะประยุกต์ใช้วิธีไหน ใครถนัดแบบไหนก็ทำแบบนั้น เพื่อความสะดวกในการดูแลจัดการ คุณไพบูลณ์กล่าวเพิ่มเติม

จิ้งหรีดทองดำ
สายพันธุ์จิ้งหรีด
ปัจจุบันทางฟาร์มเลี้ยงอยู่ 2 สายพันธุ์ พันธุ์ที่นิยมเลี้ยงเพื่อการบริโภค คือ พันธุ์ทองแดงลาย (สะดิ้ง) และ พันธุ์ทองดำ อัตราส่วนการเลี้ยงสายพันธุ์ทองแดงลายจะเยอะกว่า เป็นที่นิยมมากกว่า เป็นแมลงเศรษฐกิจ ใช้พื้นที่น้อย น้ำน้อย ส่งออกขายไปต่างประเทศได้ แต่พันธุ์ทองดำนิยมเลี้ยงขายพ่อค้าตามหมู่บ้าน ตามตลาดนัด

จิ้งหรีด แหล่งโปรตีนชั้นดี ทั้งในอาหารคน และ อาหารสัตว์ ที่ในอนาคตจะสามารถเติบโตต่อไปได้ เป็นโปรตีนทางเลือกที่สามารถทดแทนเนื้อสัตว์ได้ นอกจากนี้มูลจิ้งหรีดยังมีธาตุไนโตรเจนมากกว่ามูลไก่ สามารถนำไปใส่ในต้นไม้ได้ทุกชนิด

สรุปได้ว่าจิ้งหรีดเป็นสัตว์ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ไม่ต่างจากการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจตัวอื่นๆ เลย


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/08 15:22:18
อ่าน: 295, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจโภนาการจิ้งหรีด , ตรวจมาตรฐานการส่งออกจิ้งหรีด , ตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์มจิ้งหรีดปลอดภัย GAP




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 649 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 677 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 950 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1096 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 898 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 911 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 958 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022