ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

เคล็ดลับปลูก “ส้มโอ” เกรดส่งออกได้มาตรฐาน GAP

สำหรับพืชตระกูลส้มที่เกษตรกรนิยมปลูกกันมานาน แน่นอนว่าต้องมีชื่อของ ส้มโอ รวมอยู่ด้วย โดยส้มโอที่ปลูกในประเทศไทยนั้นมีหลายสายพันธุ์ เช่น ขาวน้ำผึ้ง ขาวใหญ่ ขาวแตงกวา ทองดี และท่าข่อย ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นจะมีรูปทรงและรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกัน มีตลาดรองรับหลากหลาย และมีศักยภาพส่งออกสูง เนื่องจากคุณสมบัติทางกายภาพที่โดดเด่น คือ มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานโดยที่คุณภาพยังคงเดิม อีกทั้งยังมีรสชาติดีขึ้นด้วย

จังหวัดพิจิตร เป็นอีกแหล่งปลูกส้มโออันดับต้นๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่ อ.โพธิ์ประทับช้าง แห่งเดียวนั้นมีการปลูกส้มโอมากกว่า 10,000 ไร่ และครั้งนี้พาไปพูดคุยกับ คุณวิฑูรย์ ภู่บุตร เกษตรกรสวนส้มโอผู้มีประสบการณ์ในการปลูกส้มโอมากกว่า 20 ปี เขาใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี สามารถขยายพื้นที่ปลูกจาก 10 ไร่ เป็น 100 ไร่ และปัจจุบันปลูกส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาเกรดส่งออก สร้างรายได้ทะลุหลักล้านต่อปีเลยทีเดียว

คุณวิฑูรย์ เล่าว่า ช่วงเริ่มต้น 7 - 8 ปีแรก ตนปลูกส้มโอพันธุ์พื้นเมือง ท่าข่อย บนพื้นที่ 15 ไร่ ก่อนจะหันไปปลูกพันธุ์ ขาวแตงกวา ซึ่งมีจุดเด่นที่รสชาติอร่อย หวานนำ เนื้อขาวอมเหลือง กุ้งและกลีบใหญ่ ที่สำคัญเป็นสายพันธุ์ได้รับความนิยมและมีตลาดส่งออกรองรับ โดยมีตลาดหลักอยู่ที่ประเทศจีนและฮ่องกง

แม้ว่าความต้องการส้มโอในตลาดต่างประเทศนั้นมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่การผลิตส้มโอให้ได้มาตรฐานเพียงพอสำหรับการส่งออกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย...ทั้งหมดนั้นมีแนวทางอย่างไร?

หาคำตอบได้จากคุณวิฑูรย์ จะมาเผยเคล็ดลับการบำรุงกันแบบทุกขั้นตอน

เคล็ดลับส้มโอต้นงาม โตไว

การปลูกส้มโอให้มีต้นสมบูรณ์ ในแบบฉบับของคุณวิฑูรย์ เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกพื้นที่ปลูกอย่างเหมาะสม คือต้องเป็นพื้นที่เนิน ไม่เคยถูกน้ำท่วมมาก่อน และใช้วิธีการปลูกแบบยกร่อง เพื่อช่วยระบายไม่ให้น้ำขังและน้ำท่วมในฤดูฝน ป้องกันการเกิดโรครากเน่าหรือโคนเน่า

นอกจากนี้ คุณวิฑูรย์ให้ความสำคัญกับการจัดการแปลงปลูก โดยแนะนำให้เว้นระยะห่างระหว่างแถว 8 เมตร และระหว่างต้น 7 เมตร (8X7 เมตร) ข้อดีคือสามารถแต่งพุ่มใหญ่ได้ง่าย ทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศได้ดี ส่งผลให้ต้นส้มโอโตเร็วและให้ผลผลิตต่อต้นสูง และยังสะดวกต่อการนำเครื่องจักรทางการเกษตรเข้าไปเพื่อทำการไถยกร่อง หรือปรับปรุงพื้นที่ได้ง่ายขึ้น

สำหรับเทคนิคการปลูกส้มโอให้โตเร็ว คุณวิฑูรย์แนะนำวิธี การยกโขด คือการพูนดินขึ้นให้สูงกว่าระนาบ ก่อนจะขุดดินบนโขดลงมาเล็กน้อยเพื่อลงต้นส้มโอ วิธีนี้จะทำให้รากต้นส้มโออยู่ไม่ลึกเกินไป เมื่อทำการบำรุงธาตุอาหาร จะช่วยให้ต้นส้มโอได้รับธาตุอาหารได้รวดเร็ว และบำรุงต้นส้มโอให้โตเร็วในระยะต้น

วางระบบให้น้ำรักษาความชื้น
หมดปัญหาส้มโอขาดน้ำ

คุณวิฑูรย์ อธิบายว่า ธรรมชาติของส้มโอจะเป็นพืชที่ชอบความชื้น แต่ไม่ชอบน้ำขังหรือแฉะ นอกจากการเตรียมแปลงปลูกแบบยกร่องช่วยเรื่องการระบายน้ำภายในแปลงแล้ว การให้น้ำจึงเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสำคัญ เพื่อช่วยให้ต้นส้มโอไม่ขาดน้ำในช่วงฤดูแล้ง

การวางระบบน้ำของผม จะใช้สปริงเกอร์ วางหัวจ่ายน้ำแบบมินิสปริงเกอร์ห่างจากโคนต้นประมาณ 1.5 เมตร ทำให้รัศมีการกระจายน้ำตามแนวรากของต้นได้พอดี แค่นี้ก็หมดกังวลเรื่องส้มโอจะขาดน้ำแล้ว ส่วนความถี่ของการให้น้ำก็สำคัญ ในช่วงที่ส้มโอโตระยะต้นอายุประมาณ 1-3 ปี เป็นช่วงที่ต้องการน้ำในปริมาณมากและสม่ำเสมอ หลังจากต้นส้มโออายุ 3 ปีขึ้นไป จึงเริ่มให้น้ำประมาณ 3 วันต่อหนึ่งครั้ง นานครั้งละครึ่งชั่วโมง

ระบบน้ำ ปลูกส้มโอ
ใช้หัวจ่ายน้ำแบบ มินิสปริงเกอร์ ห่างจากโคนต้นประมาณ 1.5 เมตร เพื่อให้ต้นส้มโอได้รับน้ำปริมาณสม่ำเสมอ ไม่มากในคราวเดียว

บำรุงธาตุอาหารดี-ถูกจังหวะ

เคล็ดลับได้ผลผลิตติดเต็มต้น
ส้มโอนั้นจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปี หลังปลูก และจะให้ผลผลิตต่อเนื่องนานถึง 20-30 ปี แต่หัวใจสำคัญของการได้ผลผลิตที่สมบูรณ์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราจะดูแลต้นส้มโอให้มีความพร้อมมากน้อยเพียงใด

คุณวิฑูรย์ แบ่งปันประสบการณ์ให้ฟังว่า ตนเองนั้นมีเทคนิคการดูแลส้มโอแบ่งเป็นช่วงเวลา แบ่งการบำรุงธาตุอาหารเป็นระยะ โดยให้ความสำคัญกับการให้ปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีในช่วงที่แตกต่างกัน

ในช่วง 1-3 ปีแรกที่ต้นส้มโอยังไม่ให้ผล จะบำรุงต้นส้มโอด้วยปุ๋ยคอกปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้ดินร่วนซุย และใช้ฟางคลุมดินหลังจากฤดูฝน เพื่อให้เกิดจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน โดยจะทำเช่นนี้จนกว่าต้นส้มโอจะเริ่มติดดอก จึงจะขยับไปบำรุงธาตุอาหารที่เหมาะสมกับความต้องการของต้นส้มโอ ด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-15-15 หรือ ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ความถี่ประมาณ 3-4 ครั้ง/ปี ดังนี้

การบำรุงส้มโอช่วงก่อนติดดอก

ก่อนที่ส้มโอจะให้ผลผลิตรุ่นแรกของปี ต้องทำการบำรุงธาตุอาหาร โดยใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ปริมาณ 3 กิโลกรัม/ต้น บำรุงให้ต้นส้มโอแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ครั้ง เพื่อให้มีปริมาณใบสำหรับสะสมอาหารได้เพียงพอต่อการออกดอก (ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ตั้งแต่ระยะใบอ่อนจนถึงระยะใบแก่)

เมื่อต้นส้มโอมีใบแก่จัดพร้อมแล้ว เตรียมกระตุ้น ตาดอก โดยจะเริ่มงดน้ำประมาณ 20-30 วัน ให้ดินแห้งจนกระทั่งใบเริ่มเหี่ยวเล็กน้อย ขอบใบห่อเข้าใน แสดงว่าการงดน้ำเพียงพอ จากนั้นจะให้น้ำอย่างเต็มที่ติดต่อกันประมาณ 4-5 วัน ต้นส้มโอจะเริ่มแตกยอดอ่อนพร้อมมีดอกออกมา

ส้มโอแตกใบอ่อนเตรียมพร้อมสำหรับการออกดอก

การบำรุงส้มโอช่วงติดดอก-ติดผลอ่อน

ดอกส้มโอจะบานและเริ่มติดผลอ่อนภายในประมาณ 7 วัน (หลังจากที่เห็นดอกปรากฎ) เมื่อเข้าระยะกลีบดอกโรย เริ่มเห็นผลขนาดเท่าหัวไม้ขีด จะใส่ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู ปริมาณ 5 กิโลกรัม/ต้น เพื่อบำรุงผลอ่อนให้สมบูรณ์ ขั้วเหนียวไม่หลุดร่วงง่าย
หลังจากกลีบดอกโรยจนหมด จะใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 15-9-20 ปริมาณ 5 กิโลกรัม/ต้น เพื่อเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ ช่วยให้ส้มโอสามารถขยายผลได้อย่างต่อเนื่อง

การบำรุงส้มโอช่วงติดผล-ก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิต

ระยะส้มโอติดผล จะบำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม/ต้น เพื่อช่วยให้ผลเจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น
ส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลังติดดอกประมาณ 6-7 เดือน ระยะก่อนเก็บเกี่ยว 1 เดือน บำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 13-13-24 ปริมาณ 1.5 กิโลกรัม/ต้น เพื่อเพิ่มความหวานให้กับเนื้อส้มโอ

หลังจากเก็บผลผลิตรุ่นแรกของแต่ละปีแล้ว คุณวิฑูรย์จะตัดแต่งกิ่ง ฟื้นฟูต้นด้วยการใส่ปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู เพื่อเตรียมพร้อมให้กับส้มโอในรุ่นถัดไป

ข้อดีของปุ๋ยตรากระต่าย สูตร 16-16-16 บลู คือละลายน้ำได้ดี ทำให้พืชดูดซึมธาตุอาหารได้เร็ว และจากที่สังเกตด้วยตัวเอง การบำรุงธาตุอาหารในทุกระยะพบว่าปุ๋ยตรากระต่ายทำให้ใบของต้นส้มโอเขียวนาน ช่วยให้ต้นไม่โทรม เพราะยิ่งใบเขียวมัน เงา มากเท่าไหร่ นั่นหมายความว่า ต้นส้มโอมีความสมบูรณ์ และมีอายุการให้ผลผลิตกับเราไปอีกนาน เกษตรกรผู้ใช้จริงยืนยัน

ปลูกแซมต้นใหม่ ทดแทนส้มโอแก่

ได้ผลผลิตคงที่ทันใช้

ส้มโอ เป็นไม้ผลที่มีอายุการเก็บเกี่ยวนานประมาณ 20-30 ปี โดยจะให้ผลผลิตสูงสุดเมื่อต้นมีอายุ 10 ปีขึ้นไป โดยปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ส้มโอสามารถให้ผลผลิตได้ยาวนานนั้นขึ้นอยู่กับการบำรุงต้นให้สมบูรณ์ การดูแลรักษาต้นให้แข็งแรงไม่เป็นโรค และที่สำคัญต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสม หากปล่อยให้มีการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ จะทำให้ทรงพุ่มของต้นส้มแน่นทึบ ต้นสูง ออกดอกติดผลน้อย หรือหากติดผลก็ไม่สมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม หากมีการตัดแต่งกิ่งมากจนเกินไป ก็จะทำให้ผลผลิตรุ่นถัดไปน้อยเช่นกัน ดังนั้น เกษตรบางส่วนจึงเลือกที่จะโค่นต้นส้มโอที่อายุมากและอ่อนแอทิ้ง เพื่อเพิ่มพื้นที่การหมุนเวียนอากาศภายในแปลงและการรับแสงให้ส้มโอต้นที่เหลือ โดยหลังจากโค่นต้นส้มโอไปบางส่วนแล้ว จะทำการปลูกต้นใหม่แซม เพื่อให้ต้นส้มโอรุ่นใหม่สามารถเติบโตให้ผลผลิตได้ทันกับที่ส้มโอรุ่นเดิมเริ่มอายุมากขึ้นจนให้ผลผลิตลดลง

คุณวิฑูรย์ เล่าว่า ต้นส้มโอที่เริ่มอายุมาก ส่วนใหญ่จะโค่นแล้วปลูกใหม่ ต้นที่ปลูก 10 กว่าปีขึ้นไปเริ่มติดลูกยาก พออายุเยอะผลผลิตที่ได้ก็จะลูกเล็กลง บางครั้งก็จะไม่ได้มาตรฐานไซส์ส่งออกต่างประเทศ ถ้าหลังจาก 10 ปีขึ้นไป ผลผลิตออกน้อยก็จะใช้วิธีการปลูกแซม และตัดต้นที่อายุเยอะทิ้ง โดยเฉลี่ย 15 ปีขึ้นไป ก็จะเริ่มปลูกแซมเพราะต้นแก่ และไม่คุ้มกับการลงทุน

ผลผลิตมาตรฐาน GAP

เพิ่มโอกาสส่งออก-สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค

ส้มโอเกรดส่งออก นั้นต้องได้มาตรฐานทั้งในเรื่องของสายพันธุ์ รูปทรง ขนาด น้ำหนัก และรสชาติ โดย ผล จะมีน้ำหนักอยู่ในช่วง 0.8 - 1.8 กิโลกรัม หากมีขนาดใหญ่เกินไปก็อาจจะตกเกรดเอได้ รูปทรง จะต้องกลมแป้น บริเวณขั้วไม่เป็นทรงโดม เนื่องจากจะสูงเกินขนาดกล่อง ด้าน รสชาติ ต้องหวาน เนื้อขาวอมเหลือง กลีบโต กุ้งใหญ่ ตรงตามเอกลักษณ์ของพันธุ์ขาวแตงกวา

โดยปัจจัยสำคัญที่จะชี้วัดว่าส้มโอนั้นจะได้คุณภาพส่งออกหรือไม่ คือ ผิว ภายนอกของส้มโอต้องสวย เรียบเนียน ไม่ถูกทำลายโดยเพลี้ยไฟ ไรแดง และหนอนแปะใบ ซึ่งมักจะเข้าทำลายยอดอ่อน ดอก และผลอ่อน ส่งผลให้ใบหงิกงอ ดอกแห้งไม่ติดผล ส่วนผลที่ถูกเพลี้ยไฟโจมตีจะเกิดรอยแผลสีเทา ทำให้ส้มโอเสียราคา โดยช่วงระยะทำดอก หรือประมาณเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เกษตรกรต้องเฝ้าระวังเพลี้ยไฟเป็นพิเศษ

ทั้งนี้ นอกเหนือจาก คุณภาพ แล้ว ความปลอดภัย ถือเป็นอีกคุณสมบัติที่ขาดไม่ได้ของการผลิตส้มโอเพื่อการส่งออก โดยคุณวิฑูรย์จะต้องมีการจัดการภายในแปลงให้ถูกต้องตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP ที่กำหนดโดยกรมวิชาการเกษตร โดยมีหลักการสำคัญคือ พื้นที่ปลูก-แหล่งน้ำต้องไม่มีสารปนเปื้อน ไม่มีการใช้สารต้องห้ามในพื้นที่ปลูก และต้องมีการจดบันทึกเกี่ยวกับกระบวนการผลิตอย่างละเอียดต่อเนื่อง สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน

การทำเกษตรของเราต้องซื่อสัตย์ผู้บริโภคด้วย เราต้องดูแลส้มโอของเราให้ดี นอกจากผิวสวย น้ำหนักตามเกณฑ์แล้ว แปลงปลูกของเราต้องปลอดสารตกค้างตามมาตรฐาน GAP ด้วย โดยเฉพาะระยะที่ส้มโอเริ่มแก่ เจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร จะเข้ามาตรวจสอบเพื่อดูว่าผลผลิตของเราปลอดภัย ไร้สารตกค้าง ก่อนจะถึงมือผู้บริโภคหรือไม่ ดังนั้นในระหว่างการเพาะปลูกจะต้องระมัดระวังเรื่องการใช้สารเคมีอย่างมาก โดยผมจะหยุดพ่นสารเคมีประมาณ 1 เดือนก่อนเก็บผลผลิต เพื่อให้ผลผลิตไร้สารตกค้าง และมั่นใจได้ว่าผู้บริโภคปลายทางได้รับผลผลิตที่มีคุณภาพ คุณวิฑูรย์กล่าว

การปลูกส้มโอให้ได้มาตรฐานส่งออก ต้องเริ่มตั้งแต่การจัดการแปลงปลูก การให้น้ำอย่างเหมาะสม การป้องกันโรคพืช-แมลงอย่างถูกหลักและปลอดภัย เพื่อให้ผลผลิตได้มาตรฐานตามระบบ GAP นอกจากนี้การดูแลใส่ใจบำรุงธาตุอาหารอย่างเหมาะสม เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้ได้ผลผลิตดี มีคุณภาพ ตรงความต้องการของตลาด


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/11 15:00:16
อ่าน: 252, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจมาตรฐานส้มโอ , ตรวจมาตรฐาน GAP , ตรวจน้ำที่ใช้ปลูกส้มโอ




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 648 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 676 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 909 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 949 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1095 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 896 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 957 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 893 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022