ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

พัฒนาเกษตรไทย กระตุ้นการส่งออกสับปะรด

พัฒนาเกษตรไทย กระตุ้นการส่งออกสับปะรด
ปัจจุบันการเกษตรของไทยได้เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบเกษตรกรอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะสับปะรดเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งที่เหมาะสมกับระบบนี้ การส่งเข้าแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สับปะรดต่างๆ เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการ และการสนับสนุนจากหลายภาคส่วนจึงมีความสำคัญมาก แต่จะทำอย่างไรเพื่อให้สับปะรดของไทยสู่ตลาดโลกได้อย่างยั่งยืนสามารถติดตามได้จากบทความนี้

ทำความรู้จักกับ สับปะรด ผลไม้ในเขตร้อน
สับปะรด เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ถิ่นดั้งเดิมอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทวีปอเมริกา และยุโรป สมัยที่มีการพบสับปะรดใหม่ๆถือว่าเป็นผลไม้ที่สร้างความแปลกใหม่ และตื่นตาตื่นใจแก่ผู้พบเห็น ทั้งนี้เนื่องจากรูปร่าง สี กลิ่น รสชาติที่แตกต่างจากผลไม้ที่คุ้นเคยกันอยู่ก่อน ต่อมาได้แพร่หลายกระจายไปยังเขตร้อนส่วนอื่นของโลก โดยนักเดินเรือชาวสเปนและโปรตุเกส นำไปใช้แลกกับอาหารและน้ำตามเส้นทางที่เดินทางผ่าน บางแห่งปลูกดูแลรักษาอย่างดี และบางท้องที่ที่ถูกทอดทิ้งกลับเจริญเติบโตอยู่รอดได้เอง จนมีผู้เข้าใจผิดว่า เป็นพันธุ์ป่าหรือพันธุ์พื้นเมืองที่มีอยู่ดั้งเดิมของท้องถิ่นนั้นๆ สับปะรดมีข้อได้เปรียบเกี่ยวกับการสังเคราะห์ด้วยแสง อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเจริญเติบโต การออกดอก การให้ผลผลิต และคุณภาพที่ดีกว่าพืชชนิดอื่น

ตลาดสับปะรดในประเทศไทย
แหล่งที่มาของสับปะรดในประเทศไทย สันนิษฐานว่า ชาวโปรตุเกสได้นำผลสับปะรดพันธุ์อินทชิตเข้ามาในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ปีพ.ศ. 2224-43 สำหรับอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องเริ่มต้นเมื่อประมาณปี 2510 ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การดำเนินงานในขั้นแรกประสบปัญหามีวัตถุดิบไม่เพียงพอกับความต้องการ เมื่อสินค้ามีน้อย ราคาย่อมสูงขึ้น ผู้ต้องการวัตถุดิบจึงใช้กลยุทธุ์กระตุ้นให้ราคาสูงขึ้นเป็นพิเศษ เกษตรกรเห็นเช่นนี้ก็นิยมปลูกกันมากขึ้น และหลังจากนั้นอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องก็เจริญรุดหน้าเรื่อยมา มีปริมาณส่งออกสูงขึ้นเป็นลำดับจนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เมื่อปี 2529 โดยมีฟิลิปปินส์เป็นอันดับรองลงมา

สำหรับพันธุ์สับปะรดที่ปลูกกันแพร่หลายมากที่สุด คือ พันธุ์ปัตตาเวีย เชื่อว่าเป็นพันธุ์มาจากลุ่มแม่น้ำอเมซอน เพราะมีคุณสมบัติเหมาะสมทั้งใช้บริโภคผลสดและทำสับปะรดกระป๋อง การปลูกในแต่ละท้องถิ่นอาจมีการคัดเลือกสายพันธุ์ตามลักษณะที่ต้องการ บางชนิดปลูกเป็นการค้า เพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยในใบและเนื่องจากดอกใบ มีสีสันสวยงามแปลกตาจึงใช้เป็นไม้ประดับ ส่วนผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋องสามารถจำแนกออกได้หลายชนิด เช่น สับปะรดแว่น สับปะรดชิ้นยาว สับปะรดชิ้นใหญ่ สับปะรดชิ้นลิ่ม สับปะรดลูกเต๋า น้ำสับปะรด และอื่นๆ

มาตรฐานและการตรวจสอบสับปะรดกระป๋อง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดมาตรฐานสับปะรด เพื่อใช้แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋องไว้ดังนี้ เป็นสับปะรดสดทั้งผลไม่มีจุกและก้านสุกได้ที่ โดยกำหนดให้มีปริมาณเนื้อสับปะรดไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 มิลลิกรัม ต่อ 1 กก.ของน้ำหนักรวม โดยปราศจากผลแกน ไม่ช้ำ ไม่มีตำหนิที่เห็นเด่นชัดและไม่เน่าเสีย สะอาด ปราศจากสิ่งแปลกปลอมและปนเปื้อน โดยห้ามใช้สารเคมีและสารเร่งให้สับปะรดสุกที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไม่อนุญาตเป็นอันขาด ไม่มีกลิ่นและรสผิดปกติ ไม่มีการแคะจุกหรือเคาะจุก ไม่มีเชื้อราที่ขั้วตลอดจนปลอดจากศัตรูพืช รวมทั้งลาดแผลที่เกิดจากรอบมีดหรือของมีคม โดยการตรวจสอบด้วยสายตา ทั้งนี้เพื่อผ่านการเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องตามกระบวนการเก็บเกี่ยว และการดูแลหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อให้ได้คุณภาพเป็นที่ยอมรับเมื่อถึงปลายทาง ผลสับปะรดดังกล่าว แบ่งเป็น 2 ชั้นคุณภาพ คือ ชั้นหนึ่ง(Class I) เส้นผ่าศูนย์กลางผล 10.5-15.5 ซม. ชั้นสอง(Class II) เส้นผ่าศูนย์กลางผล 9.0-10.4 ซม. สับปะรดทั้งสองชั้นมีความยาวผลไม่น้อยกว่า เส้นผ่าศูนย์กลางผล โดย สับปะรดกระป๋อง แบ่งตามลักษณะของชิ้นสับปะรดออกเป็น 12 ชนิด ตามรายละเอียดรูปล่างนี้

การบรรจุและขนส่ง ต้องจัดเรียงสับปะรดในพาหนะขนส่งให้เป็นระเบียบและแน่น เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดจากการกระแทกอันจะมีผลต่อคุณภาพสับปะรด พาหนะขนส่งต้องสะอาด ปราศจากกลิ่นแปลกปลอม และต้องควบคุมไม่ให้เกิดการปนเปื้อนที่มีผลต่อคุณภาพสับปะรดระหว่างการขนส่ง ข้อมูลแหล่งผลิตต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ของผู้ขาย และชื่อจังหวัดที่ผลิตในเอกสารประกอบการขาย

ส่วนสินค้าที่ทางราชการไทยไม่ได้กำหนดมาตรฐานไว้ คือ สับปะรดผลสด สับปะรดแช่แข็ง แยมสับปะรด แล้วแต่ผู้ส่งออก และผู้ซื้อต่างประเทศตกลงกันเอง ที่สำคัญ ผู่ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามกฏหมายระเบียบข้อบังคับของประเทศผู้นำเข้านั้นๆ

การส่งออก-นำเข้า ผลิตภัณฑ์สับปะรดของไทย
– การส่งออกผลิตภัณฑ์สับปะรด
ประเทศคู่แข่งขันสินค้าผลิตภัณฑ์สับปะรดที่ส่งออกของไทย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เคนยา จีน มาเลเซีย อัฟริกาใต้ ไอวอรี่โคสต์ เวียดนาม โดยมีลูกค้ารายใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ซึ่งเก็บภาษีขาเข้าแตกต่างกัน มีดังนี้
สหรัฐอเมริกาเก็บภาษีขาเข้าสับปะรดแช่แข็ง 0.25 เซนต์ต่อกก., สับปะรดกระป๋อง0.35 เซนต์ต่อกก., น้ำสับปะรดกระป๋อง 4.2 เซนต์ต่อลิตร, สับปะรดแห้ง 0.44 เซนต์ต่อกก., แยมสับปะรดร้อยละ 2.1 และสับปะรดสอดไส้เงาะร้อยละ 5.6
สหภาพยุโรป ประกอบด้วย 15 ประเทศ คือ ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ค อังกฤษ ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี เนเธอแลนด์ ลักเซมเบิร์ก โปรตุเกส สเปน สวีเดน เก็บภาษีขาเข้า สับปะรดกระป๋องที่มีน้ำตาลมากกว่าร้อยละ 17-19 ในอัตราร้อยละ 25.6+25 เหรียญยูโรต่อ 1 ตันและ อื่นๆร้อยละ 25.6 ส่วนน้ำสบปะรด ถ้ามูลค่าไม่เกิน 30 เหรียญยูโรต่อน้ำหนักสุทธิ 100 กก. เก็บภาษีร้อยละ 33.6+206 เหรียญยูโรต่อ 1 ตัน และอื่นๆร้อยละ 33.6
ญี่ปุ่นเก็บภาษีนำเข้าผลสับปะรดสด สับปะรดกระป๋อง แยมสับปะรด สับปะรดแห้ง ร้อยละ 17 สับปะรดแช่แข็งร้อยละ 72 น้ำสับปะรด สับปะรดสอดไส้เงาะร้อยละ 54

– การนำเข้าผลิตภัณฑ์สับปะรด
การนำเข้าผลิตภัณฑ์สับปะรดของไทยมีปริมาณไม่มากนัก กล่าวคือ ปี 2542 มีน้ำสับปะรดเข้มข้นราว 169 ตัน 4.6ล้านบาท เก็บภาษีนำเข้าร้อยละ 30 หรือ 25 บาทต่อกก.

แนวทางการพัฒนาสับปะรดไทย

1. ปัญหาที่พบคือ การตกค้างสารไนเตรทในผลสับปะรด อันเกิดจากการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป
หรือเร่งใส่หลังจากบังคับออกดอกแล้ว ซึ่งทำให้เกิดปัญหาคุณภาพของผลิตภัณฑ์สับปะรดกระป๋อง คือ เมื่อมีปริมาณสารนี้ตกค้างสูงจะไปทำปฏิกิริยากัดกร่อนดีบุก ทำให้ผิวด้านในกระป๋องเปลี่ยนเป็นสีดำหลุดร่วงลงในน้ำเชื่อม สาธารณสุขจึงได้กำหนดมาตรฐานและอนุญาตให้มีไนเตรทในพืชผักและอาหารไม่เกิน 500 ส่วนในล้านส่วน ด้วยเหตุนี้ แนวทางการแก้ไข คือ ทางโรงงานแปรรูปจำเป็นต้องสุ่มตัวอย่างตรวจหาปริมาณสารนี้ก่อนรับซื้อผลสับปะรดสดที่ใช้เป็นวัตถุดิบ
2. ตลาดสับปะรด มักมีปัญหาเป็นประจำในเรื่องโควต้าสับปะรดส่งโรงงาน โดยโรงงานจะนำระบบ
โควต้ามาใช้เมื่อเกิดภาวะสับปะรดล้นตลาด เกษตรกรไม่สามารถขายสับปะรดให้โรงงานโดยตรง ต้องผ่านพ่อค้ารวบรวม ซึ่งมักจะรับโควต้ามาจากโรงงานแล้วขายโควต้าให้เกษตรกรอีกต่อหนึ่ง ทำให้เกษตรกรขายสับปะรดได้ในราคาที่ต่ำกว่าโรงงานรับซื้อมาก หรือบางครั้งเกษตรกรขายให้โรงงานไม่ได้ ก็ต้องปล่อยทิ้งเสียหายในไร่ แนวทางการพัฒนา คือ รัฐบาลน่าจะผลักดัน พ.ร.บ. สภาเกษตรขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้ให้หมดไป
3. ปัญหาการแข่งขันสับปะรดกระป๋องในการส่งออกสู่ตลาดโลก เช่น อเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น
ต้องเผชิญปัญหานานับประการกับประเทศคู่แข่ง เช่น ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก เคนยา ไอวอรี่โคสต์ จีน มาเลเซีย ทำให้สูญเสียปริมาณส่งออกไปบ้าง แนวทางการพัฒนา คือ รัฐบาลน่าจะให้การสนับสนุนช่วยแสวงหาตลาดใหม่ ตลอดจนช่วยแก้ไขสภาพคล่องการเงินแก่โรงงานแปรรูป

หากปัญหาเหล่านี้ได้รับการแก้ไขและพัฒนาสินค้าแปรรูปจากสับปะรด จะช่วยให้ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันด้านการส่งออกสับปะรดที่สูงขึ้น สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง และรักษามาตรฐานการส่งออกผลิตภัณฑ์จากสับปะรดให้เป็นอันดับหนึ่งของโลกได้อย่างมีคุณภาพ นำไปสู่การเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการส่งออกผลไม้ไทยและได้รับการยอมรับจากนานาชาติต่อไปในภายภาคหน้า


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/13 14:59:11
อ่าน: 250, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพมาตรฐาน สับประรด , ตรวจฉลาก บรรจุภัณฑ์ ข้อมูลโภชนาการสับประรด , สารไนเตรทในผลสับปะรด



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022