ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ปลูก มังคุด ให้ได้คุณภาพเกรดเอ ส่งออก ราคาดี

 ปลูก มังคุด ให้ได้คุณภาพเกรดเอ ส่งออก ราคาดี
มังคุด หรือที่ใครๆต่างยกให้เป็น ราชินีผลไม้ และเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศไทย มีปริมาณการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆของโลก แต่การปลูกมังคุดให้ได้คุณภาพมาตรฐานตามที่ตลาดส่งออกต้องการคือ ลูกใหญ่ หูเขียว ผิวมันสวย นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับชาวสวน เพราะมีปัจจัยแวดล้อมต่างๆมากมายที่มีผลต่อการเพาะปลูกมังคุด

ป้าต้อย-เพ็ญศรี พุ่มคำ วัย 62 ปี แห่งสวนป้าต้อยป้าติ่ง อ.ขลุง จ.จันทบุรี ยึดอาชีพชาวสวนมาแต่แรกเริ่ม เดิมทีปลูกทั้งเงาะและทุเรียนเหมือนสวนอื่นๆรอบข้าง แต่ด้วยมีความสนใจในมังคุดและใจรัก จึงเริ่มศึกษาหาความรู้ และทดลองปลูกในขณะที่ยังปลูกทุเรียน จนถึงช่วงที่มังคุดเริ่มเติบโต จึงตัดสินใจเลิกทำสวนทุเรียนแล้วหันมาฟูมฟักมังคุดอย่างเดียวจนถึงปัจจุบันนานกว่า 20 ปี จากประสบการณ์ของป้าต้อย ยึดคติและให้นิยามสั้นๆว่า ทำน้อยได้มาก ทำมากได้น้อย หมายถึงว่ามังคุดที่ผลดก มีปริมาณมาก ไม่ได้แปลว่าจะได้เงินมากตามไปด้วย แต่มังคุดที่ ลูกใหญ่ หูเขียว ผิวสวย แม้จะได้ปริมาณต่อไร่น้อยกว่า แต่ถ้าผลผลิตคุณภาพดีก็จะสร้างรายได้ที่สูงกว่า นี่คือเหตุผลที่ทำให้การควบคุมคุณภาพผลผลิตเป็นสิ่งที่ต้องใส่ใจขั้นสุด

ปัจจัยปลูกมังคุด ให้ผลผลิตมีคุณภาพ

กว่าจะได้มังคุดเกรดเอ ส่งออกได้ราคาดี ป้าต้อยต้องศึกษาและเรียนรู้ ลองผิดลองถูกมาตลอด แม้ในปัจจุบันก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ ป้าต้อยให้ความสำคัญกับ “การเข้าใจและรู้ธรรมชาติของมังคุด” หรืออ่านมังคุดให้ออกว่าต้องการอะไร ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก สำหรับมังคุดจะเริ่มให้ผลผลิตได้ตั้งแต่อายุราว 7 ปีขึ้นไป หากเข้าใจมังคุดและบำรุงดูแลดีๆ ให้ต้นสมบูรณ์แข็งแรง แม้อายุต้น 60 ปี ก็ยังสามารถออกผลผลิต สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ โดยในแต่ละปีมังคุดอาจจะมีความต้องการแตกต่างกัน ทำให้ต้องควบคุมปัจจัยต่างๆให้เหมาะสมตามที่มังคุดต้องการ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านสภาพอากาศ การจัดการแปลงปลูกและระบบน้ำ รวมทั้งการจัดการธาตุอาหารเพื่อบำรุงในทุกระยะของการเติบโตให้สมบูรณ์ ทั้งลำต้น ใบ ดอก และผล ตลอดจนการเก็บเกี่ยวอย่างไรให้ได้คุณภาพเกรดเอ ล้วนเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังและใส่ใจ

เคล็ดลับผลผลิตที่ดี เริ่มตั้งแต่การจัดการแปลง

ด่านแรกของปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของมังคุด คือ สภาพอากาศ ความชื้น และแสงแดด ซึ่งป้าต้อยแนะนำการวางระยะห่างระหว่างต้นให้เหมาะสม ประมาณ 8x8 เมตร เนื่องจากมังคุดเป็นพืชที่มีกิ่งและใบค่อนข้างมาก หากเว้นระยะของต้นถี่เกินไป จะทำให้ได้รับแสงไม่เพียงพอ อากาศทึบ ส่งผลต่อการออกดอกและไม่ได้ผลผลิตที่ดี นอกจากการวางระยะห่างระหว่างต้นแล้ว ยังต้องสังเกตกิ่งใบ ควรตัดแต่งกิ่งและใบต่ำๆออก เพื่อให้แสงส่องผ่านทรงพุ่มไปถึงโคนต้น ช่วยให้มังคุดได้รับแสงในการใช้สังเคราะห์อาหารได้อย่างเพียงพอ

การเว้นระยะการปลูกระหว่างต้นที่เหมาะสม

มังคุด ลูกใหญ่ คุณภาพดี ต้องบำรุงดูแลในทุกระยะการเจริญเติบโต

ป้าต้อยให้ความสำคัญกับการดูแลในทุกช่วงของมังคุดและจะต้องสังเกตมังคุดทุกวันแม้ในช่วงยังไม่ออกดอกออกผล เพราะทุกระยะการเติบโตของมังคุดล้วนมีผลต่อผลผลิตทั้งสิ้น โดยเทคนิคของป้าต้อย เริ่มตั้งแต่

1. ระยะฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อให้ต้นสมบูรณ์ไม่โทรม พร้อมการออกผลผลิตครั้งต่อไป หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู ครั้งแรก อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น และเว้นช่วง 10 วัน จากนั้นใส่ปุ๋ยตรากระต่ายครั้งที่สอง สูตร 16-16-16 บลู ผสมกับยูเรีย 46-0-0 สัดส่วน 1:1 และใส่ในอัตรา 2 กิโลกรัมต่อต้น หลังจากนั้นให้ทิ้งช่วงประมาณ 20 วัน เพื่อให้สะสมอาหาร และเกิดการแตกใบอ่อน จนใบแก่สมบูรณ์ ก็จะพร้อมออกดอก

2. ระยะก่อนการออกดอก ถึง ดอกสมบูรณ์ ในระยะนี้จะต้องสังเกตหากใบไม่พร้อม(ใบไม่แก่) ไม่ออกดอกจะใส่ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 9-25-25 อัตรา 1 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้ธาตุอาหารเพียงพอต่อการออกดอก และบำรุงด้วยอโทนิค ช่วยให้พืชดูดกินธาตุอาหารอย่างเหมาะสม ส่งเสริมให้ดอกสมบูรณ์ ซึ่งถ้าหากดอกสมบูรณ์ดอกใหญ่ ก็จะมีผลช่วยให้ผลผลิตใหญ่ด้วยเช่นกัน ในบางปีหากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนดีเพียงพอ ใบก็จะสะสมอาหารและพร้อมออกดอกได้เร็ว ทำให้สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วเช่นกัน

ปัญหาที่ชาวสวนมังคุดเจอส่วนใหญ่คือ มังคุดไม่ออกดอก, ไม่มีหลักควบคุมปริมาณดอกมังคุดที่พอดี รวมไปถึงปริมาณน้ำที่ต้องให้อย่างเหมาะสมในช่วงออกดอกจนถึงดอกบาน

ทำไมมังคุดไม่ออกดอก

อุปสรรคข้อสำคัญของชาวสวนมังคุดข้อหนึ่ง คือ มังคุดไม่ออกดอก ซึ่งหากมังคุดไม่ออกดอกก็จะไม่ออกผล จากประสบการณ์ของป้าต้อย สิ่งสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังด่านแรกคือ สภาพอากาศ เพราะมังคุดจะชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิประมาณ 25-35 องศาเซลเซียส ฝนตกน้อยหรือทิ้งช่วงกว่า 20 วัน มีความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70% ป้าต้อยจะต้องหมั่นตรวจเช็กจากเครื่องวัดสภาพอากาศ ซึ่งหากมีปีไหนไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศได้ เทคนิคของป้าต้อยจะสังเกตจากลักษณะของใบ ว่าต้องทำอย่างไรให้ออกดอก หากใบไม่พร้อม ถึงจะต้องเพิ่มธาตุอาหารด้วยปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 9-25-25 นอกจากนี้อีกปัจจัยที่ทำให้มังคุดไม่ออกดอก คือ การให้น้ำในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

ใบมังคุดช่วงหลังฟื้นต้น และแตกใบอ่อน

ปริมาณน้ำในช่วงสำคัญของชีวิตมังคุด ในระยะออกดอก จนถึงดอกบาน

ป้าต้อยกล่าวว่า ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอช่วงการเจริญเติบโตทางใบ และควรบำรุงใบให้ทันช่วงปลายฝน (หรือชาวสวนมักเรียกว่าช่วงแล้ง) จากนั้นต้องงดให้น้ำต่อเนื่องกันนาน 20 วัน เทคนิคนี้เรียกว่าการแกล้งมังคุดให้เครียด หลังจากจากนั้นค่อยให้น้ำมังคุด วิธีนี้จะทำให้มังคุดติดดอกทันที การให้น้ำหลังจากหยุดไป จะต้องให้มากจากเดิมเป็นเท่าตัว โดยปกติให้ครั้งละ 1 ชั่วโมง ช่วงนี้จะต้องให้น้ำเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง เพื่อเป็นกระตุ้นการออกดอก และค่อย ๆ ลดปริมาณน้ำลงจนเมื่อดอกบานจนเหมาะสม จะเพิ่มปริมาณการให้น้ำอีกครั้ง แล้วค่อยลดปริมาณน้ำลงให้เป็นปกติ ป้าต้อยแนะนำเพิ่มเติมว่าหากในช่วงกำลังหยุดให้น้ำแล้วมีฝนตกลงมา จะต้องเริ่มหยุดให้น้ำใหม่ต่อเนื่องนาน 20 วัน อีกครั้ง

การควบคุมปริมาณดอก เพื่อให้ได้มังคุดลูกใหญ่

การออกผลของมังคุด สามารถสังเกตได้จากการออกดอก หากปริมาณดอกมากเกินไป ก็ส่งผลให้ปริมาณมังคุดดกเกินไป ซึ่งคติของป้าต้อย จะเน้นปริมาณน้อยแต่คุณภาพดี เพราะหากลูกดก จะทำให้ขนาดลูกเล็กไม่ผ่านเกณฑ์ส่งออก ขายได้ราคาต่อกิโลกรัมก็จะน้อยลง เทคนิคของป้าต้อยเมื่อมังคุดออกดอกเต็มที่ จะปล่อยให้ดอกร่วงจนเหลือ ประมาณ 30-50% จึงเริ่มใส่ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 16-16-16 บลู เพื่อให้หยุดการออกดอก ทำเช่นนี้เพื่อให้ได้ปริมาณมังคุดที่เหมาะสม ได้มังคุดลูกใหญ่มีคุณภาพตามต้องการได้

3. ระยะบำรุงผลผลิต

หลังจากติดผลเล็กแล้ว บำรุงด้วยปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 13-13-24 สองรอบ รอบแรก อัตราครึ่งกิโลกรัมต่อต้น เพื่อหยุดการหลุดร่วงของผล (นอกจากในช่วงออกดอกจะเกิดการสลัดร่วงแล้ว ช่วงการติดผลก็เกิดการหลุดร่วงด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องควบคุม) และหลังจากรอบแรก 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยตรากระต่ายสูตร 13-13-24 รอบที่สอง ในอัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อให้มังคุดลูกใหญ่ เปลืองบาง รสชาติดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างถูกวิธี

วิธีการเก็บผลผลิตของป้าต้อย จะต้องเก็บในช่วงที่ผลมังคุดยังเป็นสีเขียวอ่อน มีหูเขียวสมบูรณ์ ผิวเริ่มมีจุดประสีม่วงแดง หรือที่เรียกว่า ระยะสายเลือด ซึ่งถ้าหากไม่เก็บเกี่ยวให้ทันในช่วงนี้และปล่อยให้ผลเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวอ่อนเป็นสีม่วงแดงแล้ว จะทำให้ราคาตกเกรดส่งออกได้ทันที เพราะผิวมังคุดเมื่อถึงผู้บริโภคจะเข้มดำจนเกินไม่ จากราคาหลักร้อย จะเหลือหลักสิบก็เป็นได้ นอกจากนี้ในขั้นตอนการเก็บเกี่ยวจะต้องระวังความเสียหายของกิ่งมังคุด หากไม่เชี่ยวชาญพอจะทำให้กิ่งหักหลุดร่วง ส่งผลต่อความสมบูรณ์ของต้นมังคุด และผลผลิตในรอบปีถัดไปอีกด้วย

ระยะสายเลือดมังคุด

การปลูกมังคุดแม้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หาก เข้าใจธรรมชาติของมังคุด และอ่านความต้องการของมังคุดให้ได้ อย่างที่ป้าต้อยกล่าวไว้ หมั่นดูแลและสังเกตุในทุกๆช่วง รวมถึงการจัดการแปลง การตัดแต่งกิ่งทรงพุ่งเพื่อให้มังคุดได้รับแสงและอากาศอย่างเพียงพอ รวมทั้งการบำรุงในทุกระยะการเจริญเติบโตด้วยปุ๋ยตรากระต่ายที่ป้าต้อยเลือกใช้และให้ความไว้วางใจ จนกระทั่งเก็บเกี่ยวอย่างถูกช่วงถูกวิธี รับรองว่าจะได้ผลผลิตมังคุดเกรดเอ ลูกใหญ่ หูเขียว ผัวมันสวย คุณภาพส่งออก ราคาดี ล้งจองข้ามปี และไม่เคยขาดทุนอย่างป้าต้อยได้อย่างแน่นอน


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/14 11:18:32
อ่าน: 314, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพผลผลิต มังคุด , ตรวจสินค้าเกษตร , ตรวจสารเคมีตกค้าง ในมังคุด




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 649 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 677 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 950 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1096 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 898 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 911 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 958 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022