ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ปรุงยังไงให้ถูกกฎหมาย...กัญชากับธุรกิจอาหาร!?

ปรุงยังไงให้ถูกกฎหมาย...กัญชากับธุรกิจอาหาร!?
หลังจากกลายมาเป็นพืชถูกกฎหมาย ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่มหลายๆ ร้าน ก็มีการนำร่อง เอา กัญชา ไปเป็นหนึ่งในส่วนผสม รังสรรค์ออกมาเป็นเมนูต่างๆ แล้วถ้าเราอยากลองเอา กัญชามาปรุงอาหารขายบ้าง จะหาซื้อกัญชาได้จากที่ไหน? แล้วต้องทำยังไงให้ถูกกฎหมาย? OfficeMate รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับกัญชามาไว้ให้แล้ว ไปศึกษากันเลยค่ะ

กัญชา คืออะไร?
กัญชา ชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า Marijuana (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cannabis sativa L.) เป็นพืชชนิดหนึ่ง ลำต้นสูงไม่เกิน 2 เมตร มีลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นเป็นปล้อง มีกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก ใบสีเขียว 5-7 แฉก ออกดอกเป็นช่อเล็กๆ ตามกิ่งก้านของลำต้น

สรรพคุณ กัญชา
แม้จะถูกจัดเป็นสารเสพติด แต่กัญชาก็ถือเป็นพืชที่มีประโยชน์ทางการแพทย์ ในอดีตนิยมใช้กัญชาเป็นยารักษาโรค และใช้เพื่อสันทนาการ

กัญชา มีสาร 2 ชนิด คือ THC (Tetrahydroconnabinol) และ CBD (Canabidiol)

สาร THC ในกัญชา มีมากถึงร้อยละ 1-20 เป็นสารที่ทำให้มีอาการเมา เคลิ้ม แต่ในทางการแพทย์ สารนี้สามารถช่วยลดอาการปวด กระตุ้นความอยากอาหาร ช่วยรักษาผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด แต่ผู้ป่วยที่ใช้สารนี้ในการรักษา อาจมีอาการปากแห้ง ตาแห้ง และตอบสนองได้ช้าลง

สาร CBD พบได้น้อยในกัญชา เป็นสารที่ไม่ทำให้เมา หรือเคลิ้ม แต่มีประโยชน์ในทางการแพทย์ คือ เป็นสารช่วยลดอาการปวด บรรเทาอาการนอนไม่หลับ แก้โรคลมชัก นอกกจากนั้น ยังเป็นสารที่นิยมนำมาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางค์ และสกินแคร์

กัญชา ถูกกฎหมายแล้ว!
แม้กัญชาจะมีประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ในอดีตประเทศไทยจัดว่ากัญชาเป็นสารเสพติดและเป็นพืชที่ผิดกฎหมาย แต่เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศ ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ให้บางส่วนของกัญชา ไม่จัดว่าเป็นยาเสพติด

ซึ่งบางส่วนที่ว่านั้น ได้แก่ เปลือกกัญชา ลำต้นกัญชา เส้นใยกัญชา กิ่งและก้านกัญชา รากกัญชา และ ใบกัญชา

นอกจากนั้น ประชาชนยังสามารถปลูก สกัด แปรรูป และผลิตกัญชาได้ แต่ต้องผ่านการขออนุญาตจากองค์กรอาหารและยา (อย.) หากขออนุญาตผ่านแล้ว ก็จะได้รับเลขที่อนุญาต สามารถปลูก สกัด แปรรูป ผลิตกัญชาได้อย่างถูกกฎหมาย และสามารถนำส่วนต่างๆ ของกัญชาที่ถูกกฎหมายแล้ว ไปใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตอีก

ซึ่งตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด ผู้ที่มีคุณสมบัติ สามารถขออนุญาต ปลูก สกัด แปรรูป และผลิตกัญชาได้ ได้แก่ หน่วยงานรัฐ สถาบันอุดมศึกษา เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ แพทย์ เภสัชกร และแพทย์แผนไทย เป็นต้น

กัญชา กับธุรกิจอาหาร
ธุรกิจอาหาร จัดว่าตื่นตัวและคึกคักเมื่อกัญชาถูกกฎหมาย ร้านอาหาร เครื่องดื่มหลายๆ ร้าน เริ่มมีการนำกัญชามาปรุงร่วมกับวัตถุดิบอื่นๆ ทั้งยังมีการรังสรรค์เมนูใหม่ๆ ที่ใช้กัญชาเป็นวัตถุดิบออกมาวางขาย

แต่การปรุงเมนูกัญชา ถือว่ายังต้องระมัดระวังอยู่

สิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างแรก คือ กฎหมายอนุญาตให้นำ ‘ใบกัญชา’ มาปรุงอาหารได้เท่านั้น เพราะเป็นส่วนที่มีสาร THC ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับส่วนอื่นๆ

สิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างที่ 2 คือ ความเข้มข้น หากกัญชามีความเข้มข้นมากเกินไป อาจทำให้มึนเมาได้

เมนูอาหารจากกัญชา
ความเข้มข้นของกัญชา วัดได้จากไหน?

ความเข้มข้นของกัญชาขึ้นอยู่กับปริมาณสาร THC ในใบกัญชา โดยปกติแล้วใบกัญชาสดที่เพิ่งเก็บจากต้น จะไม่มีสาร THC แต่จะมีสารที่เรียกว่า THCA (Tetrahydrocannabinolic acid) ซึ่งไม่ทำให้เมา แต่ THCA สามารถเปลี่ยนเป็นสารเมา หรือ THC ได้ เมื่อผ่านการแปรรูป ในที่นี้ก็คือ การปรุงใบกัญชา นั่นเอง

หากปรุงใบกัญชาด้วยความร้อนสูง รวมถึงใช้เวลาในการปรุงนาน สาร THCA ก็จะเปลี่ยนเป็นสาร THC เรียกว่ายิ่งร้อน และยิ่งนาน บวกกับปรุงในน้ำมัน ก็จะยิ่งสกัดสาร THC จากใบกัญชาได้มากขึ้น นอกจากนั้น การปรุงใบกัญชาแก่ จะได้ปริมาณสาร THC มากกว่าการปรุงใบกัญชาอ่อน

นอกจากนั้น ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม กัญชาควรบริโภคไม่เกิน 5-8 ใบต่อวัน ดังนั้นแล้ว ก่อนนำกัญชามาปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่ม ควรกะปริมาณใบกัญชาต่อจานให้ดี หากเข้มข้นมากเกินไป อาจทำให้ผู้บริโภคมีอาการมึนเมาได้นะคะ

กัญชา ซื้อได้ที่ไหน?
แล้วถ้าอยากซื้อใบกัญชามารังสรรค์เมนูอาหาร จะซื้อได้ที่ไหน?

ตามกฎหมาย ระบุเอาไว้ว่า ร้านค้า ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ที่ต้องการนำกัญชาไปประกอบอาหาร หรือเครื่องดื่มเพื่อจำหน่าย ต้องซื้อมาจากแหล่งเพาะปลูกที่ได้รับอนุญาตจากองค์กรอาหารและยา (อย.) เท่านั้น และการขายต้องขายผ่านหน้าร้าน ไม่สามารถบรรจุในภาชนะ หรือหีบห่อแล้วกระจายสินค้าไปขายตามสถานที่อื่นๆ ได้ หากจะขายแบบใส่บรรจุภัณฑ์ติดฉลาก ต้องขออนุญาตจากองค์กรอาหารและยา (อย.) อีกหนึ่งครั้ง

กัญชา
เช็กข้อมูลหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตปลูกกัญชาถูกกฎหมาย ได้ที่ เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข หรือ คลิก http://link..
ได้รู้ข้อมูลเชิงลึก พร้อมกฎหมายและข้อบังคับการใช้กัญชากันไปแล้ว สุดท้ายนี้ ถ้าถามว่าการใส่ใบกัญชาจะช่วยให้อาหารหรือเครื่องดื่มอร่อยขึ้นหรือไม่ อาจไม่มีใครตอบได้แน่ชัด แต่สิ่งที่บอกได้ คือ การนำใบกัญชามารังสรรค์เมนูอาหาร และเครื่องดื่ม จะสามารถเพิ่มมูลค่าให้เมนูนั้นๆ ได้ ทั้งยังเป็นจุดขายใหม่ที่ช่วยดึงความสนใจจากลูกค้าได้ ใครอยากลองนำกัญชามาเป็นจุดขาย กระตุ้นยอดเข้าร้าน ก็อย่าลืมปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลังนะคะ


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/18 13:53:42
อ่าน: 234, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจ กัญชง กัญชา , ตรวจสาร CBD , ตรวจสาร THC




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 649 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 677 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 950 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1096 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 898 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 911 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 958 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022