ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ความจริงที่โหดร้าย กับ สารกันบูดในอาหาร

ความจริงที่โหดร้าย กับ สารกันบูดในอาหาร
เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่เกิดขึ้นมาแล้วในวงการอาหารบ้านเรา เวลา สสจ. ออกตรวจทีไร ก็จะพบปัญหานี้ตลอด เมื่อเป็นข่าวดัง ก็จะมีกระแสมาสักที แต่พอเรื่องเงียบ มันก็กลับมาอีก

เรื่องนี้เป็นเคสตัวอย่างของ อ.เมย์ ที่เล่าให้ฟังว่า ครั้งนึงเคยมีผู้ประกอบการท่านนึง ทำขนมถ้วยส่งออกต่างประเทศ ทีนี้ถ้าใครเคยทำอาหารส่งออกจะรู้ครับว่าประเทศปลายทางจะมีการสุ่มตรวจเพื่อหาว่ามีสารอันตรายเจือปนไหม ซึ่งผู้ประกอบการรายนั้นก็ระวังตัวอย่างดี ไม่มีการใส่สารกันบูดลงไปเลย (แต่ใช้วิธีอื่นการถนอมอาหารแบบอื่นแทน) แล้วปรากฏว่าผู้ประกอบการรายนั้นโดนสุ่มตรวจ และพบสาร benzoic acid ซึ่งเป็นสารกันบูดชนิดหนึ่งในระดับเกิน 1000 ppm

ผู้ประกอบการท่านนั้นสงสัยว่า benzoic acid มาจากไหน จึงส่งวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ในการผลิตขนมไปตรวจ ปรากฏว่าพบสาร benzoic acid ในพบในเเป้ง น้ำตาลปี๊บ เเละกะทิ จึงต้องไปถามผู้ผลิตวัตถุดิบทั้ง 3 อย่างให้รู้เรื่อง เพราะถ้าผู้ผลิตวัตถุดิบไม่หยุดใส่ benzoic acid แบบนี้ ต่อให้ไม่ใส่สารกันบูดเลย ก็ส่งออกไม่ได้อยู่ดี ซึ่งผลก็คือ

ถามโรงเเป้ง: คุณจะใส่ลงไปในเเป้งทำไม มันกันมอดไม่ได้หรอกนะ
ตอบ: ป๊าววว! ผมใส่เพราะว่าคนทำขนมบ่นกันว่าขนมบูดง่าย อากาศเมืองไทยมันร้อน ถ้าไม่ใส่ให้เค้า ขนมเค้าก็บูดเปรี้ยวหมด

ถามโรงน้ำตาล: คุณใส่สารกันบูดหรือเปล่า
ตอบ: ป๊าววว! ไม่ได้ใส่ คุณไม่รู้อะไร ภูมิปัญญาชาวบ้านเค้าใส่ไม้พยอมกัน อืมๆ มันคงมี phenolic หน้าตาคล้าย benzoic มั้ง เเล้วใส่ยังไงคะ หาไม้พยอมมาจากไหน โอย เดี๋ยวนี้ไม้มันหายากหน่อย ใช้นานๆ มันก็มีจืดบ้าง เออ จืดเเล้วยังใช้ได้ผล? ก็เอาไปคลุกๆ สารกันบูดก่อน เเล้วค่อยไปลอย ใช้ได้ดีเหมือนกัน ??????

ถามโรงกะทิ: คุณใส่ตอนไหน
ตอบ: ก็คั้นเสร็จก็ใส่เลย กะทิมันบูดง่าย ไม่ใส่ไม่ได้หรอก โลนึงก็ใส่ช้อน(กลาง)นึง ถ้าไม่ใส่ก็จะโดนด่าว่าของเน่าของไม่ดี มันจะบูดง่ายอะไรนักหนา คั้นเสร็จมันต้องต้มต้องนึ่งน่าจะฆ่าได้เยอะอยู่นะ เลยส่งตรวจ TPC ครั้งเเรก ได้ 10^6 CFU/g โทรไปด่าเจ้าหน้าที่เลย ปล่อยตัวอย่างไว้นานหรือไง ทำไมมันเยอะเเบบนี้ ส่งใหม่ ย้ำว่าคั้นเสร็จเเช่เย็นส่งตรวจภายใน 1 ชม. ได้ 10^7 CFU/g คือว่า ท่อน้ำทิ้ง รง. ยังสะอาดกว่ากะทิสด

หมายเหตุ: CFU คือ colony forming unit เพราะฉะนั้น 10^7 CFU/g หมายถึงในกระทิ 1 กรัม เจอเชื้อ 10^7 ตัว หรือ 10,000,000 ตัวนั่นเอง ถามว่าเยอะไหม เยอะครับ เยอะมากด้วย แต่ถามว่ากินแล้วเป็นอะไรไหม ตอบยาก เพราะคนไทยส่วนใหญ่ เจอแบบนี้จนชิน เรียกได้ว่าทนจนดื้อด้านกับเชื้อไปแล้ว หากเชื้อไม่รุนแรงจริงๆคงทำอะไรคนไทยไม่ได้ ถ้ายังจำกันได้ เมื่อ 5 ปีที่แล้วมีเชื้อ E.Coli สายพันธุ์ใหม่ที่ทำให้เม็ดเลือดแดงตายแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อนไตวายจนเสียชีวิตได้ มีคนตายในยุโรปเยอะแยะมากมาย เราก็เฝ้าระวังกันเต็มที่ครับ แล้วเชื้อตัวนี้มันก็เข้ามาไทยแล้วจริงๆ เข้ามานานแล้วด้วย แต่ไม่มีคนไทยเป็นอะไรเลย เพราะคนไทยดื้อต่อเชื้อหมดแล้ว อารมณ์ประมาณว่าเชื้อแค่นี้ชิวๆ หนักกว่านี้คนไทยก็เจอมาหมดแล้ว (ฮา)

อันตรายมากไหม ?
ถามว่า benzoic acid มันอันตรายไหม มันก็ไม่ค่อยอันตรายหรอกครับ เป็นสารที่ปลอดภัยใช้ได้ในระดับนึง ไม่อย่างนั้นเค้าคงไม่อนุญาตให้ใส่ในอาหารได้ แต่คำว่าปลอดภัยนั่นหมายถึงคุณสามารถใส่ได้ในปริมาณที่ไม่เกินกำหนด ถามว่าใส่เกินแล้วตายไหม มันก็ไม่ตายหรอกครับ อย่างที่เรากินอยู่ทุกวันนี้ก็เกินกันทั้งนั้น ปริมาณที่ทำให้ตายเลย คือ 500 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 kg อย่างหนัก 50 kg ก็ต้องกินถึง 25000 mg หรือ 25 กรัมถึงจะตายทันที ซึ่งในความเป็นจริงคงไม่มีบ้าใส่ขนาดนั้น แต่ระดับที่ใช้ได้ปลอดภัยมันก็ต่ำคือไม่เกิน 5 mg/kg ต่อวัน หมายความว่าถ้าหนัก 50 kg วันนึงกิน benzoic acid ได้ไม่เกิน 250 mg เท่านั้น หากมากกว่านี้ แม้ว่าไม่ตายทันทีก็จริง แต่เราก็จะค่อยๆตายผ่อนส่งไปเรื่อยๆ และอาจเกิดโรคเรื้อรังในอนาคตได้

เอาจริงๆ 250 mg ต่อวัน มันก็ไม่ได้น้อยมากนะครับ แต่ลองคิดดูว่าถ้าผู้ผลิตวัตถุดิบแต่ละอย่างพร้อมใจกันใส่แบบนี้ พอทำเป็นอาหารจริงๆก็มาใส่อีกรอบ แล้ววันนึงเรากินอาหาร 3 มื้อ แถมขนมอีก แบบนี้ เรียกได้ว่ากินกันทะลุ 250 mg ไปไกลได้ง่ายๆเลย


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/19 13:39:47
อ่าน: 254, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจอาหาร , ตรวจสารกันบูด , ตรวจสารอันตรายในอาหาร




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 649 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 677 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 950 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1096 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 898 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 911 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 958 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022