ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

มะละกอ ส่งออก กฏเหล็กคุม ต้องตรวจสารตกค้าง-เชื้อฯปนเปื้อน!

มะละกอ ส่งออก กฏเหล็กคุม ต้องตรวจสารตกค้าง-เชื้อฯปนเปื้อน!
คุมเข้มส่งออก มะละกอ ส่งออก ต้องตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง-เชื้อปนเปื้อน ชี้ต้องไม่พบสารตัดแต่งพันธุกรรมและยีนไวรัสใบจุดวงแหวน หวั่นถูกระงับนำเข้า

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มะละกอเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญชนิดหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพการผลิตสูง ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ ขณะเดียวกันยังมีการส่งออกไปต่างประเทศด้วย โดยปี 2558 ที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออกมะละกอและผลิตภัณฑ์รวมกว่า 12,302.72 ตัน คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 912.36 ล้านบาท แยกเป็น มะละกอผลสด 2,053.47 ตัน มูลค่า ประมาณ 71.69 ล้านบาท และผลิตภัณฑ์มะละกอ อาทิ มะละกออบแห้ง มะละกอบรรจุกระป๋อง มะละกอแห้ง มะละกอในน้ำเชื่อม มะละกอแช่อิ่ม มะละกอแช่แข็ง มะละกอผง และเมล็ดพันธุ์มะละกอ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 840.67 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กรมวิชาการเกษตรได้ออกประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขการขอและการออกใบรับรองสุขอนามัยสำหรับการส่งออกมะละกอไปยังสหภาพยุโรป นอร์เวย์ สมาพันธรัฐสวิส สาธารณรัฐไอซ์แลนด์ สาธารณรัฐประชาชนจีน และญี่ปุ่น พ.ศ.2559 เพื่อเพิ่มความเข้มงวดในการควบคุมการส่งออกสินค้ามะละกอ พร้อมสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศคู่ค้า จะทำให้การค้าและการส่งออกเกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น และป้องกันมิให้มีปัญหาการแจ้งเตือนจากประเทศผู้นำเข้าปลายทาง อาทิ ปัญหาสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ รวมถึงการปนเปื้อนจีเอ็มโอ (GMO) ซึ่งอาจกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียงของไทย และอาจระงับการนำเข้าสินค้ามะละกอจากไทยได้ โดยประกาศฯฉบับนี้มีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2559

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่จะขอใบรับรองสุขอนามัยสำหรับการส่งออกมะละกอไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าว ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าหน้าที่กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ก่อนส่งออกอย่างน้อย 7 วัน โดยผู้ขอใบรับรองสุขอนามัยต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกับกรมวิชาการเกษตร ทั้งยังต้องได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) หรือมาตรฐานที่กรมวิชาการเกษตรยอมรับ โดยต้องมีแปลงมะละกอ GAP ของตนเอง หรือมีแปลง GAP ของเกษตรกรเครือข่าย หากไม่มีแปลง GAP เป็นของตนเอง มะละกอที่จะส่งออกต้องมาจากแปลง GAP เท่านั้น ซึ่งขณะนี้มีแปลงปลูกมะละกอที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จากกรมวิชาการเกษตรแล้ว 324 แปลง พื้นที่กว่า 2,525.67 ไร่ เกษตรกร 318 ราย และยังอยู่ระหว่างตรวจรับรองแปลงใหม่ และตรวจติดตาม/ต่ออายุแปลงเดิมด้วย

นอกจากนั้น มะละกอที่จะส่งออกต้องคัดบรรจุในโรงคัดที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจีเอ็มพี (GMP) และมีการประยุกต์ใช้ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม (HACCP) ทั้งยังต้องจัดทำระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) แผนการผลิต แผนการควบคุมระบบความปลอดภัยของพืช และการส่งออกด้วย อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

นายสมชายกล่าวอีกว่า กรมวิชาการเกษตรได้มีมาตรการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ไม่มีแปลง GAP ของตนเองอย่างเข้มงวด โดยจะสุ่มเก็บตัวอย่างมะละกอที่จะส่งออกเพื่อตรวจสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดพืชเป็นพืชควบคุมเฉพาะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2558 ก่อนออกใบรับรองสุขอนามัยให้ ทั้งยังมีมาตรการตรวจติดตามภายหลังโดยจะสุ่มเก็บตัวอย่างที่แปลง โรงคัดบรรจุสินค้า และด่านตรวจพืชที่ส่งออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้าด้วย

ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งหมด อาทิ ค่าตรวจวิเคราะห์สารตัดแต่งพันธุกรรม ตัวอย่างละ 3,000 บาท และค่าตรวจวิเคราะห์ยีนในส่วนของไวรัสใบจุดวงแหวนมะละกอ ตัวอย่างละ 3,000 บาท เป็นต้น หากตรวจพบว่า มีสารตกค้าง เชื้อจุลินทรีย์ หรือสิ่งอื่นใดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ เกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด หรือได้รับการแจ้งเตือนจากประเทศปลายทาง ครั้งแรกกรมวิชาการเกตรจะแจ้งเตือนผู้ส่งออก หากพบครั้งที่ 2 ภายใน 1 เดือนนับจากครั้งแรก กรมจะระงับเวลาที่เหลือของใบรับรองสุขอนามัย และการส่งออกครั้งถัดไปต้องทำการตรวจวิเคราะห์สินค้าก่อนส่งออกทุกครั้ง 3 ครั้งติดต่อกัน ดังนั้น ผู้ส่งออกต้องปฏิบัติและกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหา อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/19 15:12:40
อ่าน: 304, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสินค้าเกษตร , ตรวจวิเคราะห์สารตกค้าง ในมะละกอ , ตรวจมาตรฐาน มะละกอ เพื่อส่งออก




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 644 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 671 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1091 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 891 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 891 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 954 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022