ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

สุดยอดสมุนไพร ว่านหางจระเข้ สารพัดประโยชน์

สุดยอดสมุนไพร ว่านหางจระเข้ สารพัดประโยชน์
ว่านหางจระเข้พืชสมุนไพรที่เรารู้จักกันมานาน เป็นอีกหนึ่งพรรณไม้ไทยที่นิยมปลูกไว้ติดบ้าน นอกจากจะใช้ประดับตกแต่งเพื่อความสวยงาม แล้วว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณในการรักษาที่ท่านทั้งหลายอาจจะคุ้นๆกันอยู่ เช่น ช่วยรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลที่โดนท่อไอเสียรถยนต์ แต่นอกจากสรรพคุณที่กล่าวมาแล้ว ว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเรามีมาสรุปสรรพคุณของว่านหางจระเข้ให้ทราบกันในบทความนี้

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) คือ พืชชนิดหนึ่งที่ถูกจัดอยู่ในประเภทพืชล้มลุก สีเขียว มีลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ใบเดี่ยว ใบหนายาวและโคนใบใหญ่ ปลายแหลม ขอบใบมีหนามห่างกันเป็นระยะ เรียงเป็นชั้น ข้างในใบเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน มีเมือกเหนียว มีถิ่นกำเนิดมาจากแถบชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและตอนใต้ของทวีปแอฟริกา ว่านหางจระเข้สามารถปลูกได้ง่ายในดินทราย หรือในกระถางก็ได้ เป็นพืชชอบน้ำ

ถ้าแบ่งส่วนของว่านหางจระเข้ที่ใช้เป็นยาและสรรพคุณได้ดังนี้
- วุ้นจากใบว่านหางจระเข้ ใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก ผิวหนังอักเสบ บวม แมลงกัดต่อย เริม และฝี
- ยางจากใบและต้นว่านหางจระเข้ ใช้รักษาอาการท้องผูก

สรรพคุณทางยาของว่านหางจระเข้
- ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร
โดยที่สารออกฤทธิ์คือ traumatic acid ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในพืช ปะปนอยู่กับวุ้นว่านหางจระเข้ในส่วนใบ (มิวซิเลจ) ต่างๆ ออกฤทธิ์โดยลดการหลั่งกรดและน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และสารประกอบในวุ้นว่านหางจระเข้ในส่วนใบได้แก่ manuronic และ glucuronic acid ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร (2)

- ช่วยในการสมานแผล
พบว่าส่วนวุ้นของว่านหางจระเข้ ช่วยให้แผลถลอก แผลที่ไม่ติดเชื้อ และแผลที่เกิดจากสิว แผลเกิดการสมานกันได้เร็วขึ้น โดยสันนิษฐานว่าการที่แผลหายเร็วขึ้นเนื่องจากว่านหางจระเข้ช่วยเร่งให้เซลล์ผิวหนังแบ่งตัวเพื่อซ่อมแซมผิว(3-4)

- ช่วยรักษาแผลไหม้จากการฉายรังสี
ว่านหางจระเข้ส่วนของวุ้นบริเวณใบสามารถใช้รักษาอาการผิวหนังอักเสบจากการได้รับการฉายรังสี โดยพบว่าช่วยให้อาการดีขึ้น ซึ่งกระบวนการออกฤทธิ์ของว่านหางจระเข้พบว่าเกี่ยวข้องกับการจับอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นหลังฉายแสง แล้วมีผลทำให้เกิดการทำลายเนื้อเยื่อลดลง (5,6)

นอกจากผลในการรักษาแผลอักเสบที่เกิดจากรังสีแล้ว ได้มีผู้สนใจศึกษาผลในการป้องกันการทำลายผิวหนังจากแสง UV พบว่าช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น (7) จึงทำให้มีการพัฒนาวุ้นว่านหางจระเข้ให้อยู่ในรูปแบบตำรับที่ใช้งานได้ง่ายขึ้น ซึ่งใช้ป้องกันผิวหนังถูกแผดเผาจากแสงแดด พบว่าได้ผลดี และทำให้ผิวมีความชุ่มชื้น (8)

- ช่วยรักษาแผลไหม้จากความร้อน
ส่วนหลักของว่านหางจระเข้ที่ใช้ในการรักษาคือวุ้นส่วนใบ โดยนำใบสดมาปอกเอาแต่วุ้นถูและปิดที่แผลเนื่องจากโดนความร้อน การรีบรักษาใน 24 ชั่วโมง จะทำให้การรักษาได้ผลดี แต่มีข้อควรระวังคือ
1. ระวังเรื่องการติดเชื้อ เพราะวุ้นว่านหางจระเข้ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ ควรปลอกเปลือกแล้วล้างให้สะอาด
2. วุ้นว่านหางจระเข้มีความไม่คงตัว ถ้าปอกแล้วจะเก็บไว้ได้เพียง 6 ชั่วโมง
3. ระวังการปนเปื้อนของสาร anthraquinone จากยาง ซึ่งอาจทำให้แพ้ได้ จึงต้องล้างวุ้นว่านหางจระเข้ให้สะอาด

โดยบาดแผลที่เกิดจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ว่านหางจระเข้จะใช้รักษาบาดแผลไหม้ไม่เกินระดับที่ 2 (โดยเน้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวุ้นว่านหางจระเข้ มีความเข้มข้นถึง 87.40%)(9)
ระดับที่ 1 ผิวหนังไม่แตก
ระดับที่ 2 มีตุ่มพองและหนังแตก
ระดับที่ 3 ผิวหนังทุกชั้นถูกทำลายและเป็นแผลเปิด
ระดับที่ 4 ผิวหนังมีรอยไหม้ดำ

- ช่วยลดการอักเสบ
มีการนำว่านหางจระเข้ไปใช้ประโยชน์เพื่อลดการอักเสบในรูปแบบต่างๆ เช่น พัฒนาเป็นรูปแบบโลชั่นที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ใช้ทาผิวหนังหลังโกนขนหรือผม พบว่าสามารถลดการอักเสบและการระคายเคืองต่อผิวหนังได้(10-11) และมีการนำว่านหางจระเข้มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์รักษาสิวเพื่อลดการอักเสบ (12)

- ช่วยเป็นยาระบาย
โดยส่วนของว่านหางจระเข้ทีใช้ในการทำตำรับยาคือส่วนยางของว่านหางจระเข้ สารสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็นยาระบาย คือ สาร sennosides A และ B โดยเลือกว่านหางจระเข้พันธุ์เฉพาะที่ใบใหญ่และมีน้ำยางสีเหลืองในปริมาณมาก อายุประมาณ 9 เดือนขึ้นไป รองน้ำยางที่ไหลออกมาจากใบ แล้วนำไปเคี่ยวให้ข้น เทลงในพิมพ์ขนาดเล็กให้แข็งเป็นก้อนรับประทานเป็นยาได้ ซึ่งเม็ดยาจะมีสีแดงอมน้ำตาลไปจนถึงดำ เรียกว่า ยาดำ แบ่งรับประทานครั้งละประมาณ 0.25 กรัม (250 มิลลิกรัม) จะเป็นขนาดที่เหมาะสมในการใช้เป็นยาถ่าย


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/21 11:44:46
อ่าน: 261, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสมุนไพร , ตรวจสาร traumatic acid , ตรวจสารเคมี ตกค้างในว่ารหางจระเข้



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022