ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ปลูกกล้วยไข่ และ กล้วยหอมทอง สร้างรายได้

ปลูกกล้วยไข่ และ กล้วยหอมทอง สร้างรายได้
กล้วย เป็นไม้ผลเขตร้อน ที่มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลสุกนอกจากจะใช้รับประทานเป็นผลไม้แล้ว ยังสามารถนำมาปรุงอาหารคาว-หวาน และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด ได้แก่ กล้วยตาก ท็อฟฟี่ กล้วยทอด กล้วยบวชชี กล้วยในน้ำเชื่อมกระป๋อง เป็นต้น ส่วนใบตองสดนำไปใช้ห่อของ ทำงานประดิษฐ์ศิลปะต่างๆ ได้แก่ กระทง บายศรี ใบตองแห้ง ใช้ทำกระทงใส่อาหาร และใช้ห่อผลไม้ เพื่อให้มีผิวสวยงามและป้องกันการทำลายของแมลง ก้านใบและกาบกล้วยแห้ง ใช้ทำเชือก กาบสดใช้สำหรับการแทงหยวกประกอบเมรุในการฌาปนกิจศพ หัวปลี (ดอกกล้วยน้ำว้า) ยังใช้รับประทานแทนผักได้ดีอีกด้วย

กล้วย เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต แคลเซียม ฟอสฟอรัส และวิตามินเอ เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งปลูกแล้วดูแลรักษาง่าย ให้ผลผลิตเร็ว และเจริญเติบโตได้ดีในทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งตลาดยังมีความคล่องตัวสูงทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออก กล้วยจึงเป็นไม้ผลที่เกษตรกรควรพิจารณาปลูกเป็นการค้าทั้งในลักษณะพืชหลักหรือแซมพืชอื่นๆ เป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อีกทางหนึ่ง

กล้วย เป็นไม้ผลล้มลุกที่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศคงที่ จะทำให้กล้วยเจริญเติบโตและให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง ช่วงอากาศแห้งแล้งที่ยาวนาน หรือช่วงอากาศหนาวเย็น 2-3 เดือน มีผลต่อการชะงักการเจริญเติบโตของกล้วยได้ และทำให้ผลผลิตกล้วยต่ำลง

ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกกล้วย

ควรเป็นดินที่มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 4.5-7 ที่เหมาะสมที่สุดคือ (pH) = 6 เป็นดินร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี ความชื้น พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ควรมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ระหว่าง 50-100 นิ้ว ต่อปี จำนวนวันที่ฝนตกควรยาวนาน หากมีฝนตกในช่วงสั้น การปลูกกล้วยจะต้องให้น้ำชลประทานช่วยเพิ่มรักษาความชุ่มชื้นของดินเพิ่มขึ้น แต่ในพื้นที่มีฝนตกชุก ควรระบายน้ำให้แก่กล้วย

พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วย ไม่ควรเป็นแหล่งที่มีลมแรงตลอดปี นอกจากจะทำให้ใบกล้วยฉีกขาดแล้ว อาจจะมีผลทำให้กล้วยหักกลางต้น (หักคอ) หรือโค่นล้มได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่กล้วยออกเครือแล้ว

พันธุ์กล้วยที่ปลูกเชิงการค้า

กล้วยหอมทอง เป็นกล้วยที่มีลักษณะลำต้นใหญ่ แข็งแรง กาบใบชั้นในมีสีเขียวหรือชมพูอ่อน เครือได้รูปทรงมาตรฐาน มีน้ำหนักมาก ผลยาวเรียว ปลายผลคอดเป็นแบบคอขวด เปลือกหนา ผลสุกผิวมีสีเหลืองทอง เนื้อมีรสชาติหวานหอม โดยเฉลี่ยเครือหนึ่งๆ จะมีประมาณ 6 หวี เป็นพันธุ์ที่ไม่ต้านทานโรคตายพราย และโรคใบจุด

กล้วยไข่ เป็นกล้วยที่มีลำต้นสูงบาง สีใบและก้านใบสีเหลืองอ่อน ไม่มีนวล กาบใบมีสีน้ำตาลหรือสีช็อกโกแลต เครือเล็ก ผลมีขนาดเล็ก เปลือกบาง เมื่อสุกมีสีเหลืองเข้ม เนื้อแน่น สีเหลืองรสหวาน เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม ต้านทานโรคตายพราย แต่อ่อนแอต่อโรคใบจุด

ฤดูกาลปลูกกล้วย

การปลูกกล้วยให้ได้ผลดี ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ซึ่งดินมีความชุ่มชื้นในช่วงฤดูฝนเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตทางลำต้นและออกปลี จนสามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงปลายฤดูฝนพอดี แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับการปลูกกล้วยในเขตชลประทานที่มีน้ำเพียงพอ สามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา

ทั้งนี้ ควรกำหนดเวลาการปลูกกล้วยให้เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของตลาด เช่น กล้วยไข่ ควรปลูกให้ได้ผลผลิต ในช่วงสารทไทย เทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวสวนส่วนใหญ่จะเริ่มปลูกกล้วยไข่ในราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บเกี่ยวกล้วยได้ในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

ส่วนการปลูก กล้วยหอมเชิงการค้า เกษตรกรคาดหวังว่าจะเก็บเกี่ยวกล้วยขายในช่วงสารทไทย ไหว้พระจันทร์ และกินเจ ซึ่งจะทำให้ราคากล้วยสูงกว่าช่วงปกติ ส่วนการผลิตกล้วยหอมเพื่อการส่งออกนั้น ส่วนใหญ่จะผลิตในลักษณะรวมกลุ่มใหญ่ เพื่อผลิตกล้วยส่งให้ตลาดผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เช่น การผลิตกล้วยหอมทอง ของสหกรณ์การเกษตรท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น ซึ่งการผลิตจะต้องมีการวางแผนการผลิตให้สามารถเก็บเกี่ยวตามที่ตลาดส่งออกต้องการ

ปลูกกล้วยหอม กล้วยไข่ ทำได้ไม่ยาก

เกษตรกรในพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เล็งเห็นโอกาสเติบโตของตลาดกล้วยหอมทองและกล้วยไข่ จึงซื้อหน่อกล้วยมาปลูกเพื่อขายเอง ใช้เวลาปลูกกล้วยหอม กล้วยไข่ 6-8 เดือน กล้วยหอมทองจะตกเครือใช้เวลาอีก 2 เดือน สามารถตัดขายได้ ส่วนกล้วยไข่ ใช้เวลาเดือนครึ่งสามารถตัดขายได้ การดูแลรักษา เกษตรกรจะใส่ขี้วัว 5 กิโลกรัม ต่อหลุม ปุ๋ยเคมีใช้น้อยมาก ในพื้นที่ 15 ไร่ ใช้ปุ๋ย สูตร 15-15-15 จำนวน 4 กระสอบ ใช้น้ำหมักหอยเชอรี่และน้ำหมักหน่อกล้วยร่วมด้วย โดยใช้ก่อนตกเครือ

ผลผลิตหลังเก็บเกี่ยวจะทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หรือ 1 วัน จากนั้นนำไปบ่ม หากเป็นฤดูร้อน ใช้เวลา 2 วัน หน้าหนาว ใช้เวลา 4 วัน จะหอมหวาน สำหรับคนที่ไม่ชอบหวานมาก จะรับประทานเมื่อบ่มได้ 1 วัน ในหน้าร้อน และ 3 วัน ในหน้าหนาว

การบ่ม จะไม่ใช้แก๊ส ตลาดจะขายส่งในจังหวัดพะเยา ซึ่งจะไม่นิยมหวีใหญ่ อาจเป็นเพราะราคาจะสูง ขายส่งที่ราคา หวีละ 12-30 บาท กล้วยที่ปลูก ปีแรกหวีจะมีขนาดใหญ่สวย เกษตรกร จะตัดกล้วย วันละ 70-80 เครือ เครือละ 4 หวี ขายได้ 80-90 บาท ต่อเครือ กล้วยไข่ กล้วยหอม เป็นผลไม้ที่ดีต่อสุขภาพ จึงเป็นที่ต้องการของกลุ่มคนรักสุขภาพ ดังนั้น หากใครยังมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ก็แนะนำให้ปลูกไม้ผลทั้งสองชนิดไว้ติดบ้าน เพราะปลูกง่าย ขายดีทั้งปี


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/21 15:40:04
อ่าน: 273, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน กล้วยหอม กล้วยไข่ , ตรวจดินที่ใช้ปลูกล้วยไข่ กล้วยหอม , ตรวจสารเคมีตกค้างในกล่อยไข่ กล้วยหอม



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022