ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ก่อนที่เราจะได้ลิ้มรสอันกลมกล่อม ขั้นตอนการผลิตกาแฟ

ก่อนที่เราจะได้ลิ้มรสอันกลมกล่อม ขั้นตอนการผลิตกาแฟ
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบและหลงใหลในรสชาติและความหอมละมุนของกาแฟ การที่ได้ดื่มสักแก้วในแต่ละวัน คงเป็นอารมณ์ที่แบบว่าสุนทรีมากๆ เปรียบเสมือนว่าได้เติมพลังงานชีวิตกันเลยก็ว่าได้ แต่กว่าจะได้ออกมาเป็นกาแฟสักแก้วให้ได้ลิ้มลองรสชาติกัน รู้หรือไม่ว่าต้องผ่านกระบวนการผลิตกาแฟมาในขั้นตอนใดบ้าง?

เพราะกาแฟ คืออีกหนึ่งความมหัศจรรย์ของรสชาติ และกลิ่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ จนกลายเป็นเสน่ห์ที่ทำเอาใครได้ชิมก็มักจะติดใจกันแทบทุกคน ดังนั้น ของที่มีคุณภาพเช่นนี้จึงจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนที่ใส่ใจอยู่หลายขั้นตอน ทั้งการเตรียมเมล็ด การคั่ว การบด และการชง ขั้นตอนเหล่านี้คือสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง การผลิตกาแฟในแต่ละขั้นตอนนั้นมีรายละเอียดและวิธีการ ดังต่อไปนี้

1. การเตรียมเมล็ด
coffee beans
เป็นขั้นตอนก่อนจะทำการนำเมล็ดกาแฟออกจากผลหรือเปลือกของมัน ที่มีลักษณะสีแดงกลมคล้ายกับผลของเชอรี่ เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟดิบ หรือที่เรียกกันว่า กาแฟสาร ซึ่งในขั้นตอนนี้จะทำหลังจากที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลมาแล้ว โดยหลักๆ จะสามารถทำได้อยู่ 2 วิธี คือ

วิธีแห้ง เป็นวิธีสำหรับพันธุ์โรบัสต้า โดยการนำเอาผลของกาแฟสดๆ ไปตาก หรือผึ่งแดด เพื่อให้ความชื้นนั้นออกไป ป้องกันไม่ให้เกิดเชื้อรากับเมล็ดกาแฟจนอาจส่งผลเสียไปถึงกลิ่น รสชาติ และที่สำคัญสำคัญคือสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งพื้นที่ตากนั้นต้องพื้นเรียบ และแห้ง เช่น คอนกรีต เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 2–3 สัปดาห์
การผลิตกาแฟ แบบแห้ง

วิธีเปียก เป็นวิธีสำหรับพันธุ์อราบิก้า โดยนำเอาผลสดที่เก็บเกี่ยวแล้วมาแยกผลสุกพร้อมล้างทำความสะอาดผ่านเครื่องเฉพาะ เมื่อเสร็จแล้วก็จะนำเข้าเครื่องสำหรับปอกเปลือก แล้วนำมาล้างเพื่อเอาเมือกออกอีกครั้ง และนำไปสู่ถังหมักทิ้งไว้ประมาณ 12–36 ชม. และท้ายที่สุดก็ต้องนำไปตากหรือผึ่งแดดเพื่อไล่ความชื้นออกเช่นกัน ที่ต้องทำละเอียดเช่นนี้เพราะจะเป็นการรักษารสชาติของกาแฟไว้ให้คงที่ที่สุด

การผลิตกาแฟ แบบเปียก

การผลิตกาแฟ

2. การคั่ว
เป็นการนำ กาแฟสาร เข้าสู่กระบวนการคั่ว ขั้นตอนกระบวนการนี้ต้องอาศัยความชำนาญการและมีประสบการณ์อย่างมาก เพราะขั้นตอนนี้เองที่จะเปลี่ยนให้เมล็ดกาแฟจากเขียวเป็นสีอื่น และมีส่วนทำให้เกิดกลิ่นที่หอม และส่งผลต่อรสชาติที่ดี โดยการคั่วแบ่งตามระดับกาแฟที่ต้องการ ดังนี้

คั่วอ่อน (Light Roast) จะทำให้รสชาติของกาแฟนั้นออกรสเปรี้ยวเหมือนการหมักของไวน์ สีที่ได้คือน้ำตาลทองอ่อน นิยมชงดื่มแบบสบายๆ คล้ายดื่มชา
คั่วปานกลาง (Medium Roast) จะได้สีน้ำตาลทองอ่อนเช่นกัน แต่รสชาตินั้นจะมีความเปรี้ยวลดลง เหมาะกับการชงกาแฟดำ หรืออเมริกาโน่

คั่วเข้ม (Medium Dark Roast) สีที่ได้จะเป็นน้ำตาลเข้ม รสชาติจะขมและมีความอมเปรี้ยวนิดหน่อย เนื่องจากมีความมันจากสารคาเฟออยล์ที่แตกออกมา ชงได้ทั้งกาแฟดำและกาแฟเย็นที่ผสมกับนมและอื่นๆ ตามแต่ละเมนู
คั่วเข้มมาก (Dark Roast) สีจะเข้มมากจนถึงดำ และรสชาติจะมีความขมเข้ม แทบไม่เหลือความเปรี้ยว นิยมใช้ชงกาแฟเย็นที่ผสมกับนมและอื่นๆ ตามแต่ละเมนู

3. การบด
เป็นขั้นตอนการผลิตกาแฟให้ละเอียด โดยแบ่งประเภทการบดตามความเหมาะสม ดังนี้

บดหยาบ เหมาะกับเมล็ดที่คั่วอ่อนและปานกลาง เพราะจะทำให้ได้รสชาติที่อ่อนไม่หนักไป
บดปานกลาง ระดับนี้จำเป็นต้องใช้กรวยกรองเป็นตัวช่วย เหมาะกับคั่วแบบอ่อนไปถึงกลาง ระยะเวลาผ่านน้ำจะนานไปด้วย
บดละเอียด เหมาะกับการคั่วแบบเข้ม ซึ่งจะทำให้รสชาติออกมาเข้มข้น

4. การชง
ในขั้นตอนนี้ไม่มีตายตัว เนื่องจากอยู่ที่ความชอบและเทคนิคของแต่ละคน ไม่ว่าจะ Drip Coffee, Cold Brew, Espresso Machine รวมไปถึงการนั่งดื่มในร้านแบบชิวๆ

อย่างไรก็ตาม กระบวนการผลิตกาแฟทั้งหมดก่อนจะได้กาแฟสักแก้วนั้น ดูเหมือนว่าจะขาดการเอาใจใส่ไม่ได้เลย ทั้งนี้ก็เพื่อให้กาแฟ เมล็ดแห่งรสชาติมหัศจรรย์ ยังคงความมีเสน่ห์และน่าลิ้มลองตลอดไป


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/22 11:21:38
อ่าน: 342, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสินค้าเกษตร , ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน เมล็ดกาแฟ , ตรวจสินค้าแปรรูปจากกาแฟ




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 649 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 677 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 950 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1096 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 898 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 911 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 957 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022