ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

รู้ทัน อันตรายจาก ..สารเคมีในแชมพู !!

รู้ทัน อันตรายจาก ..สารเคมีในแชมพู !!
แชมพู เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อชำระล้างน้ำมันและสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ แชมพูมีหลายชนิด หลายประเภท สามารถเลือกใช้ได้ตามสภาพผมของแต่ละคน แต่คุณทราบมั้ยว่าส่วนผสมในแชมพูมีทั้งสารสกัดจากธรรมชาติ100%และมีทั้งชนิดที่เป็นส่วนผสมของสารเคมี โดยสารที่พบส่วนใหญ่คือสารกันเสียที่เป็นสาเหตุของการระคายเคืองผิวได้

สารกันเสียที่อยู่ในแชมพู

สารกันเสีย (Preservative) ที่เป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในแชมพู มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์คงสภาพ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นนั้น มีผลทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่ผิวหนังบริเวณที่ใช้ หากเกิดอาการแพ้ อาจลุกลามจนเป็น การอักเสบบริเวณผิวหนังได้ ประเภทของสารกันเสียที่ผู้บริโภคควรระวังมีดังต่อไปนี้นี้

1.พาราเบน (Parabens) เป็นสารกันเสียที่นิยมใส่ไว้เป็นส่วนผสมในแชมพูสระผม โดยกระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้พาราเบนได้ในปริมาณที่กำหนด สารกลุ่มพาราเบนที่พบในแชมพู ได้แก่ เมทิล พาราเบน (Methyl paraben), โพรพิลพาราเบน (Propyl paraben), เอทิลพาราเบน (Ethylparaben), บิวทิลพาราเบน (Butylparaben) และไอโซบิวทิลพาราเบน (Isobutylparaben) ซึ่งเมื่อผิวหนังดูดซึมสารพาราเบน อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการภูมิแพ้สัมผัส และด้วยคุณสมบัติของสาร พาราเบนที่ออกฤทธิ์เลียนแบบฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) อาจส่งผลกระทบกับระบบสืบพันธุ์และฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน(Testosterone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนหลักที่ช่วยกระตุ้นให้แสดงลักษณะความเป็นชาย ทั้งนี้ยังมีงานวิจัยที่ยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดถึงสารพาราเบนว่าเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมในเพศหญิงอีกด้วย

2.ฟอร์มาดีไฮด์ (Formaldehyde) เป็นสารกันเสียที่อยู่ในรูปแบบก๊าซ มีชื่อพ้องว่าฟอร์มาลีน (Formalin) พบได้จากธรรมชาติโดยการเผาไหม้ ซึ่งเป็นสารเคมีที่ระเหยง่าย เมื่อผิวหนังสัมผัสกับฟอร์มาลีนอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว แต่หากสัมผัสสารในปริมาณมากอาจทำให้เกิดผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน จนถึงผิวหนังไหม้เป็นผื่นอักเสบและติดเชื้อได้

3.อิมิดาโซลิตินิล ยูเรีย (Imidazolidinyl urea) เป็นสารกันเสียที่สามารถปล่อยก๊าซฟอร์มาดีไฮด์ได้ เป็นสาเหตุให้เกิดโรค Dermatitis หรือโรคผิวหนังอักเสบ รวมถึงมีอันตรายจนสามารถทำลายเซลล์ผิวได้

4.พีน็อกซี่เอทานอล (Phenoxyethanol) พบได้ในแชมพูที่มีส่วนผสมของน้ำหอม มีคุณสมบัติทำให้กลิ่นหอมคงตัว ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย โดยประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ใช้สาร Phenoxyethanol ในผลิตภัณฑ์ได้ไม่เกิน 1.0 % หากสัมผัสกับผิวในปริมาณที่มากอาจทำให้ผิวแพ้ ระคายเคือง และเกิดผดผื่นได้

5.เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylchloroisothiazolinone) เป็นสารกันเสียที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ เป็นส่วนที่ผสมที่อยู่ในแชมพูที่อาจทำให้ระคายเคืองผิว หากเกิดอาการแพ้จะทำให้เกิดอาการบวมแดงและคัน กระทรวงสาธารณสุขจึงควบคุมให้ใช้ใความเข้มข้นตามที่กำหนดเท่านั้น และอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วล้างออกเท่านั้นด้วย

การหลีกเลี่ยงสารกันเสียที่อยู่ในแชมพู

ก่อนอื่นผู้บริโภคใช้ควรสังเกตฉลากบนผลิตภัณฑ์เพื่อดูส่วนผสมของสารกันเสียต่างๆที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว หรือหาข้อมูลเบื้องต้นก่อนการตัดสินใจซื้อ การเลือกใช้แชมพูออแกนิก หรือผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็น hypoallergenic สำหรับผิวบอบบางเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแพ้ หากพบว่าเป็นภูมิแพ้สัมผัสจากการใช้แชมพูแนะนำให้หยุดใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแล้วไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยอาการแพ้จากสารกันเสียในแชมพู โดยแพทย์จะทำการปิดแผ่นทดสอบภูมิแพ้ผิวหนังชนิดผื่นแพ้สัมผัส (Patch Test) เพื่อหาข้อสรุปว่าผู้ป่วยแพ้สารเคมีชนิดใดในแชมพู แล้วหลีกเลี่ยงไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมีชนิดนั้น ก็จะเป็นการช่วยให้ผิวปลอดภัย ห่างไกลจากภูมิแพ้สัมผัส


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/25 11:32:11
อ่าน: 286, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน แชมพู , ตรวจสารกันเสียในแชมพู , ตรวจฉลากแชมพู




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 644 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 671 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1091 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 891 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 891 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 954 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022