ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

เกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

เกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
ในกลุ่มอุตสาหกรรมทางการเกษตร เราจำเป็นต้องยอมรับว่าผลจากการแข่งในตลาดขันที่รุนแรงหลายๆ ครั้ง จะทำให้มูลค่าหรือราคาของสินค้าทางการเกษตรมีราคาตกต่ำ หรืออาจมาจากสภาพดินฟ้าอากาศที่เป็นปัจจัยที่ไม่อาจควบคุมได้ ที่จะส่งผลให้ราคาของสินค้ามีการขยับขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นแล้ว ผู้ผลิตสินค้าทางการเกษตร หรือเกษตรกร อาจจำเป็นต้องมีการฝึกฝน เรียนรู้ และพัฒนาเทคนิคในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้างทางการเกษตรของตัวเอง เพื่อให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตกรได้มากขึ้น

การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร เป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะช่วยให้เกษตรกรสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นจากผลผลิตทางการเกษตรของตัวเองได้ โดยความหมายโดยทั่วไปจะหมายถึง การนำผลผลิตทางการเกษตรมาเพิ่มลักษะพิเศษหรือจุดเด่นบางอย่างให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดยจะมีทั้งสินค้าที่เป็นอาหารและไม่ใช่อาหาร

สินค้าทางการเกษตรที่เป็นอาหารนั้นจะมีเทคนิคในการเพิ่มมูลค่าโดยการการแปรรูปหรือการถนอมอาหารเพื่อเพิ่มมูลค่าแก่สินค่าให้มีราคาที่สูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งหากมีการทำอย่างเป็นระบบ จะช่วยส่งผลให้ผลผลิตสินค้าทางการเกษตรมีปริมาณไม่ล้นตลาด ทำให้ไม่เกิดสงครามราคาที่จะทำให้ราคาสินค้าลดลง อีกทั้งยังเสริมสร้างอาชีพใหม่ๆ ในชุมชน และยังสามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้อีกด้วย เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรที่ได้ผ่านกระบวนการแปรรูปมาแล้วนั้นโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดที่เล็กกว่าขนาดปกติ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังแหล่งจัดจำหน่ายลดลง

อีกทั้งผลจากการแปรรูปที่จะทำให้สินค้าสมารถเก็บได้นานขึ้น ยังจะก่อให้เกิดรายได้อย่างต่อเนื่องแก่ธุรกิจ เช่น โรงงานแป้งมันสัมปะหลัง ซึ่งสินค้าหลักของโรงงานคือแป้งมันสัมปะหลัง ส่วนกากที่เหลือจากการทำแป้งสามารถนำไปตากแห้งป่นผสมเป็นอาหารสัตว์และก่อให้เกิดเป็นรายได้ตามมา ถือเป็นการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตรธรรมดาไปสู่การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่ได้

พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบ เช่น หมี่กรอบที่ทำเป็นชิ้นใหญ่ก็ทำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ พอดีคำเพื่อให้ง่ายต่อการรับประทาน หรือกล้วยตากที่ขายทั่ว ๆ ไปก็พัฒนาทำมาเป็นกล้วยตากเคลือบช็อกโกแลตหรือรสสตอเบอร์รี่ แล้วทำบรรจุภัณฑ์ใหม่แบบเพ็คชิ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้า เป็นต้น

การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตรสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่ละวิธีก็มีความเหมาะสมกับชนิดของสินค้าที่แตกต่างกันไป เช่น

1. การอบหรือการตากแห้ง เช่น มะม่วงอบแห้ง ปลาแห้ง

2. การเผา คั่ว หรือการทอดอาหารพร้อมบริโภค เช่น แคปหมู

3. การแช่แข็ง เช่น ข้าวสวยกึ่งสำเร็จรูป เพื่อให้สะดวกต่อการรับประทานและสามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน

4. การทําเค็มโดยหมักเกลืออาจนําไปผึ่งแดดหรือไม่ก็ได้ เช่น ปลาเค็ม

5. การหมัก เช่น ปลาร้า กระบวนการการผลิตอาหารหมักนั้นไม่ต้องอาศัยเครื่องมือ เครื่องใช้พิเศษ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ อีกทั้งยังเสริมคุณค่าทางโภชนาการด้วย เช่น การหมักน้ำผลไม้ให้เป็นไวน์ จะได้ประโยชน์ทางโภชนาการที่สูงกว่าน้ำผลไม้สด

6. การดอง เช่น มะยมดอง มะม่วงดอง ทำให้อาหารมีสี มีกลิ่นและรสต่างออกไป

7. การทําให้แห้งโดยอาศัยธรรมชาติ อาศัยการผึ่งลม ผึ่งแดด เช่น ปลา เนื้อสัตว์ เมล็ดธัญพืช ผลไม้ เช่น

กล้วยตาก ซึ่งวิธีนี้ถือเป็นกรรมวิธีที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำ แต่วิธีเช่นนี้ต้องอาศัยแสงแดดที่เพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจส่งผลให้อาหารเน่าเสียได้

8. การฉายรังสีอาหาร เช่น ผลิตภัณฑ์แหนมที่ฉายรังสี

และนอกจากการปรับปรุงเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์โดยตรงแล้วนั้น ในปัจจุบันนั้นมีหลากหลายวิธีที่ใช้ในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอีกเช่นกัน ซึ่งสามารถสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

1. การสร้างแบรนด์ (Branding) หรือการสร้างภาพลักษณ์ของสินค้า เป็นการทำให้ตลาดรู้จักสินค้าของผู้ผลิต ทำให้เกิดการจดจำว่าสินค้านี้มีคุณภาพอย่างไร มีความโดดเด่นเหนือคู่แข่งอย่างไร และจะช่วยส่งผลให้การขายสินค้ามีความง่ายขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคทราบอยู่แล้วและสามารถคาดหวังได้ว่าถ้าซื้อสินค้าไปแล้วจะมีคุณภาพอย่างไร

2. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นหรือสร้างสรค์ คือการสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้สินค้าด้วยบรรจุภัณฑ์ เพราะเมื่อใดก็ตามที่มีสินค้าเหมือนกันคุณภาพใกล้เคียงกัน สิ่งที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้านั้นคือบรรจุภัณฑ์ที่มีความแปลกใหม่กว่า มีประโยชน์ในการใช้มากกว่า สวยงามกว่า เปิดปิดสะดวกกว่า ทำให้สินค้าดูมีคุณภาพมากกว่าของคู่แข่ง หรืออาจจะใช้บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติแทนการใช้โฟมหรือพลาสติก

การพัฒนาและเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร

1. ผลิตสินค้าเกษตรนอกฤดูกาล การที่สามารถผลิตผลผลิตให้มีต่อเนื่องตลอดทั้งปีได้นั้นเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กลับสินค้ามากยิ่งขึ้นกว่าผลไม้ตามฤดูกาล

2. การผลิตสินค้าเกษตรให้ตรงกับความต้องการเฉพาะตลาดหรือกลุ่มผู้บริโภคจะยิ่งทำให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

3. การให้ผลิตผลทางการเกษตรท่ียั่งยืนที่ให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้อย่างเหมาะสมขณะเดียวกันผู้ผลิตสามารถได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม

4. มีการจัดการในการเพาะปลูกท่ีดีและเหมาะสม กล่าวคือ ให้ลดการใช้สารเคมีต่างๆ และหันมาใช้วิธีทางธรรมชาติแบบเกษตรอินทรีย์ให้มากขึ้น เช่น การใช้น้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยจากพืชหรือมูลสัตว์

แทนปุ๋ยเคมี หรือใช้สมุนไพรในการกำจัดศัตรูพืช ซึงวิธีเหล่านี้ส่งผลให้ ทรัพยากรธรรมช่ติทั้ง ดิน และน้ำ อุดมสมบรูณ์เช่นเติม ไม่เหมือนกับการใช้สารเคมี ที่ส่งผลต่อดินและน้ำ เมื่อดินดี น้ำดี ผลผลิตก็มีคุณภาพ เมื่อลดการใช้สารเคมีจึงทำให้ลดต้นทุนการผลิตลงไปด้วย แต่เหนือสิ่งอื่นใดหากผลผลิตของเราปลอดสารเคมีในทุก ๆ กระบวนการการผลิต จะทำให้ผลผลิตของเราผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต หรือ GAP ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมั่นใจในสินค้าของเรามากยิ่งขึ้น ทำให้เป็นที่ต้องการของตลาด และมูลค่าของสินค้าก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตร

1. การสร้างแบรณด์สินค้า

2. การสร้างผลผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำเกษตรอินทรีย์

3. การพัฒนาผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า

4. การเพิ่มมูลค่าผลผลิต


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/10/25 13:56:19
อ่าน: 306, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสินค้าเกษตร , ตรวจรับรองมาตรฐานการผลิต GAP , ตรวจสารเคมีตกค้างในสินค้า



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 642 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 668 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 904 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 902 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1089 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 888 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 903 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 888 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 948 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 885 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022