ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

รู้ลึกเรื่องปลาหมึกแห้ง กินหมึกต้องรู้!

รู้ลึกเรื่องปลาหมึกแห้ง กินหมึกต้องรู้!
เชื่อว่าเพื่อน ๆ หลายคนคงอยากรู้ว่าเจ้าปลาหมึกแห้งที่เราเห็นกันตามรถเข็น นี่มันดีกว่าปลาหมึกสดยังไง? วันนี้ Wongnai เลยพามาหาคำตอบที่หลายคนกำลังสงสัยกันอยู่! ให้ทุกคนได้เข้าใจกันง่าย ๆ แบบม้วนเดียวจบ ที่อ่านแล้วต้องร้องอ๋อเลย! เริ่มอยากรู้แล้วล่ะสิตามมาดูกันเลย!

รู้จักกับปลาหมึกแห้งกันก่อน! (ปลาหมึกแห้ง = ปลาหมึกกล้วย)
ปลาหมึกที่เราเห็นนำมาทำเป็นปลาหมึกแห้ง ส่วนใหญ่จะนิยมใช้เป็นปลาหมึกกล้วย เพราะเป็นปลาหมึกที่หาได้ง่ายในทะเล และชาวประมงสามารถจับได้เยอะ ซึ่งในบางครั้งปลาหมึกสดที่จับมาได้มีปริมาณมาก และไม่สามารถขายได้ทัน ชาวบ้านจึงนำมาแปรรูปทำเป็นปลาหมึกแห้ง เพื่อเป็นการถนอมอาหาร และสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับปลาหมึกได้

ส่วนต่าง ๆ ของปลาหมึกกล้วย
หลายคนอาจจะสงสัยว่าส่วนต่าง ๆ ของปลาหมึกกล้วยนั้นมีชื่อเรียกและมีหน้าที่แตกต่างกันยังไง เรามาดูกันทีละส่วนเลยค่ะ

ส่วนต่าง ๆ ของปลาหมึกกล้วย

1. หนวดจับ : เป็นหนวดคู่ที่ยาวกว่าหนวดอื่น ๆ ใช้สำหรับจับอาหาร เรียกว่าเป็นหนวดล่าเหยื่อหรือหนวดจับ

2. ตา : มีตา 1 คู่ ขนาดใหญ่ที่อยู่ติดกับส่วนหัว

3. รยางค์ครีบรูปสามเหลี่ยม : เป็นเหมือนครีบของปลาหมึกที่ใช้ในการว่ายน้ำ

4. หนวด : ใช้สำหรับช่วยจับอาหารเพื่อไม่ให้อาหารหลุด และในตัวผู้จะใช้หนวดช่วยในการสืบพันธุ์ สำหรับส่งสเปิร์มไปยังตัวเมีย

5. ปาก : เป็นอวัยวะที่อยู่ใต้หนวดของปลาหมึก ซึ่งถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็นปากของปลาหมึกเพราะถูกปกคลุมด้วยหนวด ภายในปากมีเขี้ยวสองอันคือ เขี้ยวบนกับเขี้ยวล่าง มีลักษณะคล้ายปากนกแก้ว นอกจากนี้มีฟันบด เป็นฟันเล็ก ๆ อยู่ติดกันเป็นแผง

6. ท่อน้ำออก : ทำหน้าที่ขับน้ำออกจากลำตัวระหว่างการหายใจ ปล่อยน้ำหมึก ปล่อยไข่ ขับของเสีย และขับน้ำเวลาพุ่งตัวหรือเคลื่อนไหว

7. ลำตัว : มีรูปร่างกลมยาวหรือเป็นถุง ไม่มีเปลือกหุ้มภายนอก


วิธีทำปลาหมึกแห้ง!
เมื่อรู้จักกับปลาหมึกกล้วยกันแล้ว ต่อไปเรามาดูกันสิว่าการทำปลาหมึกแห้งนั้นทำอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วเรามาดูกันทีละขั้นตอนกันเลย!

1. นำปลาหมึกที่ได้มาผ่าบริเวณลำตัวและส่วนหัว เพื่อเอาไส้และถุงน้ำหมึกออก ขณะผ่าต้องระวังอย่าให้ถุงน้ำหมึกของปลาหมึกแตก เพราะจะทำให้ปลาหมึกสีไม่สวย และปลาหมึกที่เราใช้ควรเลือกเป็นปลาหมึกสดเท่านั้น

2. นำปลาหมึกที่ผ่าแล้วมาล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด หรือถ้าใช้น้ำทะเลในการล้าง นอกจากจะช่วยให้ปลาหมึกของเรามีสีสวยและมีรสชาติที่เค็มพอดีแล้ว ยังทำให้ปลาหมึกมีกลิ่นหอมอีกด้วย ข้อควรระวังคือการล้างปลาหมึกด้วยน้ำเปล่าที่ไม่ได้ผสมเกลือ เพราะจะทำให้ปลาหมึกมีกลิ่นเหม็นคาว

3. นำปลาหมึกที่ล้างสะอาดแล้วมาตากบนตะแกรงสำหรับตากปลาหมึก เป็นเวลา 2 - 3 วัน โดยใช้แดดจัด ๆ 

4. ผ่านไป 2 - 3 วัน เราก็สามารถเก็บปลาหมึกแห้งได้แล้ว!

รูปแบบต่าง ๆ ของการทำปลาหมึกแห้ง

1. ปลาหมึกกลมเนื้อแห้ง ทำจากปลาหมึกกล้วย นำมาล้างและตากทั้งตัว

2. ปลาหมึกแกะตาแห้ง ทำจากปลาหมึกกล้วย ทำการแกะตา และถุงน้ำหมึกออกก่อนตากทั้งตัว

3. ปลาหมึกหนังหน้ากว้างแห้ง ทำจากปลาหมึกกล้วย นำมาผ่าตลอดลำตัว เอาไส้และถุงน้ำหมึกออก ก่อนนำไปตาก

ประโยชน์ของปลาหมึกแห้ง

หลายคนที่ชอบปลาหมึกสดแต่ต้องมากังวลเรื่องการควบคุมแคลอรี ก็อาจจะทำให้ขาดอรรถรสในการทานเสียหมด เราเลยอยากจะแนะนำทางเลือกที่ดีกว่าให้กับคนที่ชอบทานปลาหมึก นั้นก็คือการทานปลาหมึกแห้งนั่นเอง เพราะว่าปลาหมึกแห้งมีโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุสูง และที่สำคัญ ปลาหมึกแห้งยังมีแคลอรีน้อยกว่าปลาหมึกสด (10 Kcal) อีกด้วย

ประโยชน์ของปลาหมึกแห้ง

วิธีการเลือกปลาหมึกแห้งและการเก็บรักษา
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อปลาหมึกแห้งและการเก็บรักษาปลาหมึก เพื่อให้ได้ปลาหมึกแห้งที่ยังใหม่และมีคุณภาพ มีดังนี้

- เนื้อปลาหมึกต้องไม่แห้งและบางจนเกินไป ถ้าเป็นปลาหมึกเก่าเนื้อจะแห้งและบางมาก

- ดมดูกลิ่นต้องไม่ฉุนหรือมีกลิ่นเหม็นสาบ ถ้ามีกลิ่นฉุนมากแสดงว่าปลาหมึกเค็ม

- เช็คดูให้ละเอียดว่าปลาหมึกแห้งนั้นไม่มีราเกาะอยู่ เพราะรานั้นไม่สามารถทำลายได้ด้วยความร้อน แต่โดยทั่วไปแล้วปลาหมึกจะมีคราบสีขาวบนปลาหมึกแห้ง คือคราบแสดงความเค็ม ที่เกิดจากความเค็มของน้ำที่ใช้ล้างปลาหมึก เป็นคราบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติไม่ใช่รา

- ควรทำการเก็บรักษาโดยการแช่ตู้เย็นในช่องแช่แข็ง จะเป็นวิธีที่สามารถเก็บปลาหมึกแห้งไว้ได้นาน ไม่ทำให้ปลาหมึกแห้งเสียและไม่เหม็นหืน ที่สำคัญยังช่วยคงคุณค่าทางอาหารไว้ได้อีกด้วย

วิธีการเลือกปลาหมึกแห้งและการเก็บรักษา

วิธีการเลือกปลาหมึกแห้งและการเก็บรักษา
ปลาหมึกแห้งกินกับอะไรได้บ้าง?
นอกจากการทอดปลาหมึกให้กรอบแล้วนำมาทานคู่กับข้าวสวยร้อน ๆ หรือข้าวต้มร้อน ๆ แล้ว ปลาหมึกแห้งยังสามารถทำได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะเป็น ต้ม ผัด แกง หรือแม้แต่ใช้ในการต้มน้ำซุป ปลาหมึกแห้งก็ทำได้ทั้งนั้น


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/03 13:46:46
อ่าน: 279, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน อาหารทะเล , ตรวจสารกันเชื้อราในปลาหมึกแห้ง , ตรวจปลาหมึกแห้งเพื่อขอ อย.



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 641 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 667 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 903 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 901 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1088 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 887 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 902 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 887 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 947 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 884 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022