ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

สารอันตรายในสีทาเล็บ สารฟอร์มาลีน

สารอันตรายในสีทาเล็บ สารฟอร์มาลีน
สารเคมีที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน

น้ำยาทาเล็บ
เป็นที่รู้กันดีสำหรับผู้หญิงว่าการทาเล็บ คือกิจกรรมยามอยากสวยที่นอกจากจะช่วยให้รู้สึกสดใส ทันสมัยกว่าเก่าแล้ว สีที่เลือกเติมแต่งให้กับเรียวเล็บนั้นยังช่วยเพิ่มความลงตัวให้กับเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้าได้ราวกับเครื่องประดับเก๋ๆอีกหนึ่งชิ้น แต่สาวๆจะรู้มั้ยว่าเบื้องหลังของสีสันสดใส ติดทนนานนั้นกลับเต็มไปด้วยสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพแถมกลิ่นยังไม่เป็นมิตรกับสิ่งมีชีวิตหน้าไหนทั้งสิ้น ต้นเหตุของกลิ่นเหม็นรุนแรงที่ว่าก็มาจากส่วนผสมที่ประกอบไปด้วยสารเคมีโดยเฉพาะ 3 สารพิษที่ถือว่าแย่ที่สุดในน้ำยาทาเล็บที่เรียกว่า Toxic Trio นั่นคือสารกันเสียฟอมาลีนฉีดศพที่ทำให้ระคายเคืองตา จมูก ทางเดินหายใจและก่อมะเร็ง ต่อจากนั้นอาจมีอาการปวดหัวต่อเลยจากผลกระทบของสาร โทลูอีน ที่เป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์และยังถือเป็นสารเสพติด สุดท้าย DBP ที่ทำหน้าที่ช่วยให้สีทาเล็บติดทนนานไม่หลุดร่อนง่าย

แต่ข่าวร้ายก็คือมันส่งผลเสียต่อระบบสืบพันธ์และเบบี้ในครรถ์ด้วย 3 สารที่ว่ามาสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายและกระแสเลือด ตับไตของคุณต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขับของเสียแย่ๆเหล่านี้ออกไป ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันลดลง การเคลือบเล็บด้วยสารพิษยังทำให้เล็บที่เคยสวยกลับแลดูป่วย แห้งเปราะหักง่าย บ้างก็เหลืองอร่ามซะจนไม่กล้าโชว์ให้ใครเห็นสภาพจริงเลยต้องทาสีกลบอำพรางมันอยู่ร่ำไป นอกจากจะทำร้ายสุขภาพแล้ว น้ำยาทาเล็บยังถูกจัดให้เป็นขยะอันตราย แปลว่าเมื่อไีหร่ก็ตามคุณทิ้งมันลงขยะ สารพิษต่างๆก็จะยังวนเวียนอยู่ในสิ่งแวดล้อม ทำร้ายธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่นด้วย

ฟอร์มาลดีไฮด์ (อังกฤษ: formaldehyde) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ฟอร์มาลีน สูตรทางเคมี คือ CH2O เป็นสารกันเสียที่มีส่วนผสมในเครื่องสำอาง แชมพู น้ำยาเคลือบเล็บ น้ำยาบ้วนปาก ยาระงับกลิ่นผ้า นอกจากนั้นแล้ว สารฟอร์มาลดีไฮด์พบมากในที่อยู่อาศัย เนื่องจากเป็นสารที่อยู่ในกาวและสารเคลือบเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม้อัด และไม้แปรรูปอื่นๆ ซึ่งใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงสีทาบ้านบางชนิด
ความหมายของสารฟอร์มัลดีไฮด์

ฟอร์มาลีน-ฟอร์มัลดีไฮด์ ทั้งสองตัวในทางเคมีคือสารตัวเดียวกันเพียงแต่ว่าเมื่ออยู่ในรูปของสารละลายจะเรียกว่า ฟอร์มาลีน ซึ่งเป็นชื่อที่เราคุ้นเคยกันดีก็คือน้ำยาดองศพนั่นเอง ส่วน ฟอร์มัลดีไฮด์ มีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิปกติ มีกลิ่นฉุนแสบจมูก ส่วนมากที่จำหน่ายทั่วไปจะอยู่ในรูปของสารละลายน้ำ ภายใต้ชื่อ น้ำยาฟอร์มาลีน

โดยปกติสารละลายนี้จะไม่เสถียรเมื่อเก็บไว้นานโดยเฉพาะที่อุณหภูมิสูงจะกลายเป็นกรดฟอร์มิกจึงมีการเติมสารยับยั้งหรือที่เรียกว่าสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวสเตบิไลเซอร์เช่น เมทานอล 5-15 เปอร์เซ็นต์ หรือมีขายยในรูปของพาราฟอร์มัลดีไฮด์ มีประโยชน์ในฐานะที่เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมายที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ หรือ ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น
ฟอร์มาล​​ดีไฮด์เป็นส่วนประกอบในยูเรียฟอร์มาล​​ดีไฮด์ฉนวนโฟม (UFFI) ประเภทของฉนวนกันความร้อนนี้ถูกติดตั้งในบ้านจำนวนมากในช่วงปี 1970 และต้นทศวรรษ 1980 เนื่องจากความกังวลเรื่องสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับ UFFI ความต้องการสำหรับสินค้านี้กลายเป็นที่ที่ไม่มีอยู่จริงและได้รับการไม่ค่อยใช้มาตั้งแต่ 1983 แม้ว่าบ้านเก่าอาจยังคงมี UFFI ใด ๆ ที่เผยแพร่ฟอร์มาล​​ดีไฮด์จะเกิดขึ้นในห้าปีแรกหลังจากการติดตั้งและจะไม่เป็นสาเหตุสำหรับกังวล

ลักษณะทั่วไปของฟอร์มัลดีไฮด์

ลักษณะทั่วไปของฟอร์มาลีนเป็นสารละลายใส ไม่มีสีกลิ่นฉุนเฉพาะตัว เป็นสารรีดิวซ์รุนแรง เมื่อสัมผัสกับอากาศจะถูกออกิไดส์ช้าๆ ไปเป็นกรดฟอร์มิกซึ่งมีฤทธิ์กัดกร่อน มีค่า pH ประมาณ 2.8-4.0 สามารถรวมตัวได้กันน้ำ แอลกอฮอล์แต่ฟอร์มาลีนไม่สามารถใช้รวมกับสารดังต่อไปนี้ คือ ด่างทับทิม ไอโอดีน และไฮโดรเจนเปร์ออกไซด์ ถ้าเป็นฟอร์มาลีนที่เก็บไว้นานหรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาฟาเรนไฮต์ (4.4 องศาเซลเซียส) ฟอร์มาลีนจะเปลี่ยนรูปไปเป็นพาราฟอร์มัลดีไฮด์ ซึ่งมีลักษณะเป็นตะกอนสีขาวไม่ควรนำไปใช้เพราะจะเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ

แหล่งที่มาของสารฟอร์มัลดีไฮด์

ฟอร์มาลินเป็นสารที่นิยมใช้ในวงการอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ พลาสติก และสิ่งทอ ดังนั้นจึงสามารถพบฟอร์มาดีไฮด์ซึ่งเป็นไอระเหยที่เป็นพิษได้จากวัสดุ สังเคราะห์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น กาว (วิทยาศาสตร์) ฝ้าเพดานสำเร็จรูป ผ้าใยสังเคราะห์ เตาแก๊สหุงต้ม สีทาบ้าน น้ำยาเคลือบเงาไม้ วัสดุบุผิว เฟอร์นิเจอร์ พาร์ติเคิลบอร์ด พรมสังเคราะห์ กระดาษทิชชู น้ำยาทำความสะอาด เป็นต้น ซึ่งไอระเหยฟอร์มาดีไฮด์นั้นจัดเป็นสารพิษในอากาศ ทำให้เกิดมลพิษในอากาศและถ้าพบฟอร์มาดีไฮด์ในปริมาณมากก็อาจเป็นอันตรายกับ ผู้ที่ได้รับได้ แหล่งใหญ่อีกแหล่งที่มีการปลดปล่อยไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์ คือผ้าม่นและเสื้อประเภทรีดง่ายแต่ยับยาก

ไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์มีอยู่ใกล้ตัวภายในบ้านของเรา ในบ้านที่ทาแลคเกอร์เคลือบพื้นไม้ ปูพรมที่พื้น ผนังมีวอลล์เปเปอร์ อยู่ในเครื่องเรือนที่ใช้ไม้อัดและวัสดุที่เรียกว่า พาร์ทิเคิล บอร์ด (particle board) ที่ใช้ทำตู้ โต๊ะ และเครื่องเรือนต่างๆ สำหรับคนรักสวยรักงามที่ชอบเคลือบเล็บด้วยสารพันสีสัน ก็ต้องพบกับไประเหยของฟอร์มัลดีไฮด์เช่นกัน และเมื่อเทียบกันแล้ว ปริมาณไอระเหยที่ปลดปล่อยออกมาจากยาทาเล็บนั้นสูงกว่าปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ที่ปลดปล่อยออกมาจากไม้อัดที่มีพื้นที่เท่ากันเสียอีก แต่คนที่หลงใหลสีสันบนเล็บมือเล็บเท้า ก็อย่าเพิ่งตกใจเพราะถึงแม้ยาทาเล็บจะปลดปล่อยไอระเหยออกมามากกว่าแต่ในชีวิตจริงแล้ว พื้นที่ทั้งหมดของเล็บมือรวมกันทั้งเล็บเท้า ก็ยังจัดว่าน้อยนิด เมื่อเทียบกับพื้นกระดานที่เคลือบแลคเกอร์ทั้งฟลอร์ วอลล์เปเปอร์ติดผนัง 4 ด้าน หรือ จะเปรียบเทียบกับตู้หลังใหญ่ที่ประกอบจากไม้อัด ก็ยังเทียบกันไม่ได้อยู่ดี

ลักษณะอาการ

การสัมผัสสารฟอร์มัลดีไฮด์ทำให้เกิดอาการดังนี้
1. หากสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์ ถ้าเกิน 0.1 ppm จะทำให้เกิดอาการเฉียบพลัน คือ แสบตาและระคายเคืองในทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการอักเสบ มีอาการไอ แน่นหน้าอกหอบคล้ายเป็นหืด อาจถึงขั้นเป็นปอดอักเสบ หรือปอดบวมน้ำเฉียบพลัน
2. ถ้ามีการสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์ ที่มีความเข้มข้นสูงมากๆ ตั้งแต่ 100 ppm ขึ้นไป อาจทำให้ตายได้
3. หากมีการสัมผัสถูกสารละลายโดยตรงทางผิวหนัง จะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบ เกิดอาการคันทันที
4.เมื่อมีการสูดดมไอระเหยของสารฟอร์มัลดีไฮด์เป็นเวลานานๆจะทำให้เกิดการสะสมในร่างกายก่อให้เกิดโรคมะเร็งต่างๆได้ เช่น โรคมะเร็งโพรงจมูก มะเร็งคอหอยส่วนจมูก

การใช้ประโยชน์

ฟอร์มาลินเป็นสารที่นิยมใช้กันในหลายด้าน ดังนี้

1. ด้านการแพทย์
- ใช้ในการเก็บรักษา anatomical specimens เพื่อคงสภาพของเนื้อเยื่อไม่ให้เน่าเสีย
- ใช้สารละลายฟอร์มาลินสำหรับฆ่าเชื้อโรคในเครื่องมือต่าง ๆ เช่น เครื่องฟอกเลือด (เครื่องล้างไต) เครื่องมือเครื่องใช้ในการเตรียมและสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ยา วัคซีน
- นอกจากนี้ ไอระเหยของฟอร์มาดีไฮด์สามารถนำมาอบห้องฆ่าเชื้อโรคตามโรงพยาบาลได้ด้วย
- สารละลายฟอร์มาลินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา

2. เครื่องสำอาง
- ใช้ในยาสีฟัน น้ำยาทาเล็บ ยาบ้วนปาก สบู่ ครีมโกนหนวด เพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยใช้เป็นส่วนประกอบในความเข้มข้นที่ต่ำมาก
- ใช้ในเครื่องสำอางเพื่อไม่ให้เหงื่อออกมาก
- ใช้ในน้ำยาดับกลิ่นตัว และอื่นๆ
- ใช้เป็นส่วนประกอบของแชมพูที่ใช้สำหรับสัตว์เลี้ยง

3. ด้านอุตสาหกรรม
- สารประกอบเชิงซ้อนของฟอร์มาลินมีคุณสมบัติทำให้ผ้า และกระดาษแข็งเกาะกัน จึงนำมาใช้ในการทำบอร์ด หรือไม้อัด ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อผลิตผงที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงลักษณะน้ำหนักและความแข็งแรงของไหม สังเคราะห์ ใช้ในการรักษาผ้า ไม่ให้ยับ หรือย่น ในอุตสาหกรรมกระดาษ เพื่อให้กระดาษลื่นและกันน้ำได้
- ฟอร์มาลินมีประโยชน์ใช้เป็นสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์อื่นอีกมากมาย ที่ใช้มากคือนำไปทำเม็ดพลาสติกชนิดต่าง ๆ ที่มีชื่อเรียกกันว่า ยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ (urea – formaldehyde) หรือ ฟีนอล-ฟอร์มัลดีไฮด์ (phenol – formaldehyde) ที่ใช้เป็นกาวสำหรับเฟอร์นิเจอร์ไม้ ใช้ทำโฟมเพื่อเป็นฉนวน เป็นต้น และใช้ในการผลิตเรซิน (melamine – formaldehyde)
- ใช้ในการสังเคราะห์สีต่างๆ เช่น สีคราม สีแดง สีอะครีลิก
- ใช้ในการย้อมเพื่อปรับปรุงให้สีและสีย้อมติดแน่นขึ้น
- ใช้ในการฟอกสีและการพิมพ์ และฟอกหนัง เป็นต้น
- ใช้ในการผสมโลหะ เพื่อระงับการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน
- ใช้สำหรับถ่ายภาพ ทำให้เก็บรักษาได้นาน

4. ด้านการเกษตร
- ใช้สำหรับการทำลายและป้องกันจุลินทรีย์และต้นไม้ที่เป็นโรค
- ใช้ป้องกันผลิตผลเกษตรจากการเสียหายระหว่างการขนส่ง และการเก็บรักษา
- ใช้ฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อราในดิน
- ใช้ทำความสะอาดสถานที่เก็บอุปกรณ์ เช่น ลังไม้
- ใช้เป็นส่วนผสมของสารละลายที่ใช้เคลือบผัก ผลไม้จำพวกส้มระหว่างการเก็บเกี่ยวเพื่อชะลอการเน่าเสีย
- ใช้เป็นปุ๋ย
- ใช้ในบ่อเลี้ยงปลาเพื่อป้องกันการเกิดโรคในปลา

ขั้นตอนเพื่อลดความเสี่ยง
ใช้ผลิตภัณฑ์ไม้อัด มาตรฐานใช้ภายนอก (ลดการปล่อยสาร เพราะมีส่วนผสมของฟีนอลฟอร์มาลดีไฮด์เรซิน-(PF), ไม่ใช่ยูเรียฟอร์มาล​​ดีไฮด์เรซิน - (UF))
ใช้เครื่องปรับอากาศ และ dehumidifiers เพื่อรักษาอุณหภูมิในระดับปานกลาง และลดระดับความชื้น
เพิ่มการระบายอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นำแหล่งที่มาใหม่ของฟอร์มาล​​ดีไฮด์เข้าในบ้าน

อันตรายจากฟอร์มัลดีไฮด์

ในกรณีที่เราได้รับในปริมาณต่ำร่างกายสามารถกำจัดได้ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงขึ้นหรือมีความเข้มข้นมากขึ้น ฟอร์มัลดีไฮด์จะเปลี่ยนเป็นกรดฟอร์มิก (Formic acid) ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ทำให้เซลล์ตายได้ ฟอร์มัลดีไฮด์นั้นมีพิษต่อระบบต่างๆเกือบทั่วทั้งร่างกาย ดังนี้
ฟอร์มัลดีไฮด์จะมีพิษต่อระบบทางเดินหายใจ หากได้รับรูปของไอระเหยของฟอร์มัลดีไฮด์ แม้จะปริมาณต่ำๆ ถ้าถูกตาจะระคายเคืองตามาก ถ้าสูดดมเข้าไปจะทำให้หลอดลมบวม ทำให้แสบจมูก เจ็บคอ ไอ หายใจไม่ออก ปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด ทำให้เป็นแผลหรือถึงขั้นตาบอด ถ้าสูดดมเขาไปมากๆจะทำให้น้ำท่วมปอดจนหายใจไม่ออก แน่นหน้าอก และตายในที่สุด อาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหลายชั่วโมงหลังจากได้รับสารโดยไม่มีอาการเจ็บปวด เลยก็ได้ หากได้รับปริมาณน้อยเป็นเวลานาน จะมีอาการไอและหายใจติดขัดเพราะหลอดลมอักเสบ เป็นต้น

ฟอร์มัลดีไฮด์จะมีพิษร้ายแรงต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนฟอร์มัลดีไฮด์ในปริมาณมาก จะทำให้ปวดศีรษะอย่างรุนแรง หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก ปากและคอแห้ง คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องอย่างรุนแรง กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากได้รับสารนี้โดยการบริโภค จะเกิดอาการพิษโดยเฉียบพลัน ซึ่งอาการมีตั้งแต่ปวดท้องอย่างรุนแรง อาเจียน อุจจาระร่วง ปัสสาวะไม่ออก หมดสติ ถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจเสียชีวิตเพราะระบบหมุนเวียนเลือดล้มเหลว ถ้าหากได้รับในปริมาณ 60-90 ซีซี จะทำให้การทำงานของตับ ไต หัวใจ และสมองเสื่อมลง และก่อให้เกิดการปวดแสบปวดร้อนที่คอและปาก เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุทางเดินหายใจ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หมดสติ นอกจากนี้ยังพบว่าฟอร์มัลดีไฮด์เป็นสารก่อมะเร็งด้วย
ฟอร์มัลดีไฮด์มีผลต่อผิวหนัง เมื่อสัมผัสจะเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นคัน เป็นผื่นแดงเหมือนลมพิษ จนถึงผิวหนังไหม้เป็นสีขาวได้หากสัมผัสโดยตรง



ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/12 11:58:06
อ่าน: 289, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐานสีทาเล็บ , ตรวจสารเคมีในสีทาเล็บ , ตรวจสารฟอร์มาลีนในสีทาเล็บ



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 543 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 799 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022