ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

หอม หวาน อร่อย ข้าวเม่าอัพเกรด หากินได้ปีละครั้ง

ก่อนที่จะไปเรียนรู้ถึงวิธีการทำข้าวเม่า ขออนุญาตหยิบยกเรื่องราวความเป็นมาของ ข้าวเม่า ให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันสักหน่อย โดยอ้างอิงจากงานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ข้อมูลว่า ข้าวเม่า เป็นขนมที่ทำกินตามช่วงฤดูกาล คำว่า เม่า นี้ พระยาอนุมานราชธน อธิบายว่า น่าจะเป็นคำเดียวกับคำว่า มาง ในภาษาอาหม ที่แปลว่าทุบหรือตำให้เป็นแผ่นบาง ชาวบ้านในภาคอีสานจะนิยมกินแบบธรรมดา คือกินเปล่าๆ ตำเสร็จกินเลย มีบางครั้งอาจนำมาคลุกน้ำตาล มะพร้าวบ้าง

วิธีการทำข้าวเม่าสูตรแม่วิลัย
โดยข้าวระยะที่เหมาะสมที่จะนำมาทำข้าวเม่า จะต้องเป็นข้าววัยแรกรุ่นที่เลยระยะนมข้าวแล้วข้างในเปลือกข้าวเริ่มแข็งตัวเป็นเมล็ดมีสีขาว และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ สีเขียว อันเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด และข้าวเม่าที่ทำมาจากข้าวเหนียวจะมีความหวานมากกว่าข้าวเจ้า

นำข้าวมาปั่นเพื่อแยกเมล็ดกับฟางข้าวออกจากกัน
คุณไพรยพงศ์ มณีรัตน์ หรือ คุณบี้ อาศัยอยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม อดีตมนุษย์เงินเดือน ผันตัวเป็นเกษตรกร ทำเกษตรผสมผสานปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ ข่าวเม่า เป็นผลิตภัณฑ์เด่น ที่ทำขายเพียงปีละครั้ง แต่สามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวปีละ 50,000 บาท ในระยะเวลาเพียง 2 เดือน

นำข้าวที่ได้จากการปั่นมาแช่น้ำเพื่อแยกข้าวที่ยังไม่โตเต็มที่ออก โดยดูจากข้าวที่ลอยน้ำเราจะคัดออก
คุณบี้เล่าถึงจุดเริ่มต้นการแปรรูปสร้างมูลค่าจากข้าวเม่าว่า เดิมทีที่บ้านพ่อกับแม่ประกอบอาชีพทางการเกษตรอยู่แล้ว โดยรูปแบบการทำเกษตรของพ่อกับแม่ค่อนข้างมีความหลากหลาย ทั้งการปลูกข้าวเพื่อไว้สำหรับนำมาแปรรูปทำข้าวเม่าขาย รวมถึงการปลูกยางพารา ปลูกมันสำปะหลัง และการทำปศุสัตว์เลี้ยงวัวแบบซื้อมาขายไปในตลาดซื้อ-ขายวัว นครพนม ซึ่งหลังจากที่ตนเองลาออกจากงานประจำก็ได้เข้ามาสานต่องานทั้งหมดของที่บ้าน รวมถึงการเข้ามาต่อยอดพัฒนาการตลาด และแพ็กเกจจิ้งให้ดูทันสมัยมากยิ่งขึ้น หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการเข้ามาช่วยอัพเกรดข้าวเม่า ที่จากเดิมเป็นขนมกินเล่นพื้นบ้าน ทำกินทำขายกันเฉพาะในท้องถิ่น มาเปลี่ยนรูปแบบให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคมากขึ้นที่ไม่เพียงแค่ซื้อไว้กินเองแต่ยังสามารถซื้อเป็นของฝากได้ไม่อายใคร ด้วยแพ็กเกจจิ้งที่สวยงามและอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์มากมาย

นำข้าวที่จมอยู่ใต้น้ำมาคั่วให้สุก
ปัจจุบันที่บ้านมีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดจำนวน 15 ไร่ เลือกปลูกเป็นข้าวเหนียวสายพันธุ์พื้นเมืองเพื่อไว้สำหรับการนำมาทำข้าวเม่าโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ชาวบ้านแถวนี้รู้จักกันดีและมีชื่อเรียกสายพันธุ์ตามพื้นถิ่น ได้แก่ ร้อยวัน สาม​เดือน น้ำมันงัว สำปาตอง ดาวยวน พัน อินตก เก็ตเต่า เล้าแตก พม่า อิเขียว กข กล่ำ

นำข้าวที่คั่วเสร็จมาตากทิ้งไว้ให้ข้าวเย็นประมาณหนึ่งก่อนค่อยนำไปตำ

นำข้าวที่ตากไว้มาใส่ครกแล้วก็เริ่มตำ
โดยจุดเด่นข้าวเม่าแม่วิลัยอยู่ที่ความหอม หวาน อร่อย ทำสดใหม่ทุกวัน ด้วยขั้นตอนกระบวนการแปรรูปที่พิถีพิถันใส่ใจทุกรายละเอียด เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวสำหรับการนำมาทำข้าวเม่า ที่ต้องเป็นข้าวเหนียวเท่านั้น รวมถึงเทคนิคพิเศษในการทำแต่ละขั้นตอนที่ไม่ง่ายกว่าจะสำเร็จออกมาเป็นข้าวเม่าแม่วิลัย

นำข้าวที่ตำแล้วมาเข้าเครื่องสีเพื่อแยกเปลือกกับเมล็ด

นำกลับมาตำใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนกว่าเปลือกจะหมด
วิธีการทำข้าวเม่าสูตรแม่วิลัย

1. คัดเลือกข้าวที่เหมาะสมกับการทำข้าวเม่า คือต้องไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป จะทำให้ข้าวมีความเหนียว

2. จากนั้นนำข้าวมาปั่นเพื่อแยกเมล็ดกับฟางข้าวออกจากกัน (ปั่นด้วยเครื่องที่ประดิษฐ์ขึ้นมาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน)

3. นำข้าวที่ได้จากการปั่นแยกเมล็ดมาแช่น้ำ เพื่อแยกข้าวที่ยังไม่โตเต็มที่ออกโดยสังเกตจากข้าวที่ลอยน้ำให้ทำการคัดออก

4. นำข้าวที่จมอยู่ใต้น้ำมาคั่ว จนเมล็ดข้าวสุกมีสีเหลืองทอง โดยขั้นตอนการคั่วถือเป็นอีกขั้นตอนสำคัญ เทคนิคคือการตักน้ำใส่เพิ่มเข้าไปตอนคั่ว จะทำให้ข้าวสุก ไม่แข็งตัว

5. นำข้าวที่คั่วเสร็จ​มาตากทิ้งไว้ให้ข้าวเย็น​ประมาณห​นึ่งก่อนจึงค่อยนำไปตำ

6. นำข้าวที่ตากไว้มาใส่ครกแล้วเริ่มตำ โดยเป็นครกที่ใช้มอเตอร์ควบคุมการตำอัตโนมัติ

7. ตำจนเริ่มมีเปลือกของเมล็ดหลุดออกมา จากนั้นนำมาเข้าเครื่องสีเพื่อแยกเปลือกกับเมล็ด แล้วนำกลับมาตำใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำๆ จนกว่าเปลือก​จะหลุดหมด จนได้ออกมาเป็นข้าวเม่าสีเขียวสวย น่ากิน

8. เข้าสู่ขั้นตอนบรรจุแพ็กสุญญากาศ พร้อมติดสติ๊กเกอร์แบรนด์ ข้าวเม่าแม่วิลัย พร้อมสโลแกน ข้าวเม่าอัพเกรด หอม หวาน อร่อย สดใหม่ทุกวัน

สำเร็จออกมาเป็น ข้าวเม่าแม่วิลัย สีเขียวสวย
โดยการผลิตข้าวเม่าเป็นการผลิตในรูปแบบของการรวมกลุ่มที่มีคนในหมู่บ้านมาช่วยกันทำประมาณ 5-6 คน ในแต่ละวันจะมีออร์เดอร์สั่งเข้ามาเฉลี่ยประมาณ 40-50 กิโลกรัม ใน 1 ปี จะมีฤดูกาลผลิต และการขายเพียง 2 เดือน คือจะเริ่มขายตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน-ตุลาคม เท่านั้น หลังจากนี้ก็จะใช้เวลาในการทำงานในส่วนอื่นๆ คือการกรีดยาง เลี้ยงวัว และปลูกมันสำปะหลัง การทำข้าวเม่าถือเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เป็นอย่างดี และมีการจัดสรรรายได้เฉลี่ยต่อคนจะมีรายได้ประมาณ 1,500-2,000 บาทต่อวัน หรือคิดเป็นรายได้รวมก็ได้ถึงหลักหมื่นต่อวัน

บรรจุใส่ในแพ็กเกจจิ้งสวยงาม ทันสมัย ถูกใจลูกค้า
มีการจำหน่ายอยู่ 2 ขนาดด้วยกันคือ 1. บรรจุใส่ถุงละ 1 กิโลกรัม จำหน่ายในราคา 200 บาท 2. บรรจุใส่ถุงละครึ่งกิโลกรัม จำหน่ายในราคา 100 บาท ถือเป็นราคาที่ไม่แพงจนเกินไปเมื่อเทียบกับคุณภาพที่ผู้บริโภคจะได้รับ ซึ่งก่อนที่จะมีการพัฒนาแพ็กเกจจิ้ง พ่อกับแม่ขายได้ในราคากิโลกรัมละ 150 บาท แต่พอมีการพัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายก็สามารถเพิ่มมูลค่า และรายได้เพิ่มขึ้นมาจากเมื่อก่อนไม่น้อย โดยมีฐานลูกค้าเดิมในหมู่บ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงที่ซื้อไปกินเองและซื้อไปเป็นของฝาก รวมถึงการขยายทำตลาดออนไลน์ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้คนภายนอกได้รู้จักข้าวเม่าแบรนด์แม่วิลัยเป็นวงกว้างมากขึ้น

ปริมาณ 1 กิโลกรัม ราคา 200 บาท

ในมุมมองของผมอาชีพเกษตรยังถือเป็นอาชีพที่มั่นคงอยู่ เพียงแต่ว่าต้องมีการวางแผนก่อนลงมือทำสักหน่อย เพราะอย่างการทำเกษตรของผม ผมเลือกที่จะทำเกษตรผสมผสาน ทำหลายๆ อย่างรวมถึงการรู้จักแปรรูปผลผลิตที่ตนเองมีอยู่ เพื่อเป็นทางรอดในยามที่สินค้าล้นตลาดหรือราคาตกต่ำ ประกอบกับมีแนวคิดที่อยากเป็นผู้ที่กำหนดราคาสินค้าเองได้ ไม่ต้องรอให้ใครมากดราคา หรือกำหนดราคาให้เรา เพราะของเราเราปลูกเองทำเอง เราย่อมรู้ถึงกระบวนการผลิต และจุดเด่นของสินค้าเราดีที่สุด ไม่เพียงเฉพาะต้องเป็นข้าวเม่า แต่รวมไปถึงพืชผลทางการเกษตรชนิดอื่นๆ การแปรรูปข้าวเม่าถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางเสริมรายได้ ซึ่งหลังจากหมดฤดูกาลของการทำข้าวเม่า ผมก็มีหน้าที่กรีดยางที่ปลูกไว้อยู่ประมาณ 400-500 ต้น ก็มีรายได้จากการกรีดยางตรงนี้ประมาณเดือนละ 6,000-7,000 บาท และการปลูกมันสำปะหลังที่มีรายได้เป็นเงินเก็บรายปี รวมถึงการซื้อ-ขายวัว ซึ่งที่ผมพูดมาทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่ทำการเกษตรที่มากมาย แต่ขอแค่เพียงรู้จักวางแผนการปลูกพืช หรือหาวิธีการสร้างรายได้ อาชีพเกษตรที่ไม่เพียงแต่จะให้ความมั่นคงกับเรา แต่จะให้ความสุขและให้อิสระกับเราด้วย คุณบี้ กล่าวทิ้งท้าย


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/12 14:07:27
อ่าน: 259, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสินค้าเกษตร , ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน ข้าวเม่า , ตรวจข้าวเม่า เพื่อ ขอ อย.




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 643 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 670 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1090 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 904 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 949 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 887 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022