ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ!! สารกันรา...

ภัยร้ายใกล้ตัวคุณ!! สารกันรา...
การถนอมอาหาร ถือเป็นนวัตกรรมที่มีมาแต่ช้านาน ไม่ว่าจะเป็นการตากแห้ง อบ หรือดอง แม้วิธีการดังกล่าวจะสามารถยืดอายุอาหารได้ แต่ก็พบว่าเมื่อทิ้งไว้นานๆ อาหารจะมีการเน่าเสียหรือ ขึ้นรา ผู้ประกอบการหลายๆ เจ้าจึงพยายามหาวิธียืดอายุอาหารให้นานขึ้นไปอีก และอีกหนึ่งวิธีที่ใช้กันมากคือการใส่ สารซาลิซิลิค (salicylic acid) หรือ สารกันรา ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

สารกันรา คือ?

สารกันรา เป็นกรดอินทรีย์มีลักษณะเป็นผลึกสีขาวที่มีคุณสมบัติยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ดี ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวสารกันราจึงถูกนำมาดัดแปลงและผสมลงในเครื่องสำอางเพื่อยืดอายุการใช้งาน อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศสั่งห้ามไม่ให้ผสมสารกันราลงในอาหารโดยเด็ดขาด เพราะสารกันราเป็นสารที่เป็นอันตรายต่อระบบย่อยอาหารของมนุษย์ โดยเมื่อรับประทานเข้าไปมากๆ จนมีความเข้มข้นในเลือดสูงประมาณ 25-35 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร จะทำให้มีอาการหูอื้อ เวียนศีรษะ ความดันลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนอาจเกิดอาการช็อกและเสียชีวิตได้

อาหารประเภทใดที่มีการปนเปื้อนสารกันรา?
โดยปกติผลิตภัณฑ์ที่ปนเปื้อนสารกันราคืออาหารจำพวกขนมปัง ที่มีอายุอยู่ได้ประมาณไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ ดังนั้นผู้ประกอบการบางรายจึงเติมสารกันราลงไปเพื่อยืดอายุของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังพบว่าอาหารหมักดอง เป็นอาหารอีกประเภทที่นิยมผสมสารกันรา เนื่องจากอาหารหมักดองเมื่อทิ้งไว้นานจะมีราขึ้นบริเวณผิวน้ำและเกาะตามขอบของภาชนะที่บรรจุ ทำให้อาหารเสียและมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว

ถึงแม้ว่า สารกันรา จะเป็นสารต้องห้ามตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข แต่จากการสุ่มตรวจกลับพบว่ามีอาหารหลายชนิดที่ปนเปื้อนสารกันรา ทั้ง แหนม หมูยอ ผักและผลไม้ดอง จำพวกมะดัน มะกอก หน่อไม้ปี๊บ และไชโป้ เป็นต้น

ห่างไกล สารกันรา ด้วยตาเปล่ากับการสังเกตุ
อีกวิธีคือใช้การสังเกต เพราะโดยปกติอาหารที่ไม่ได้ผ่านการบรรจุระบบสุญญากาศหรืออยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งหรือสองสัปดาห์อาหารจะเริ่มขึ้นรา ยกตัวอย่างเช่นขนมปัง หากนำมาวางทิ้งไว้ (หรือแม้แต่อยู่ในถุง) เมื่อเวลาผ่านไปเกือบหนึ่งสัปดาห์จะเริ่มมีราสีขาวเกาะตามขอบ เมื่อทิ้งไว้นานกว่านั้นจะเป็นราจะมีสีเหลืองขุ่นไปจนถึงดำ แต่หากขนมปังไม่มีความเปลี่ยนแปลงให้สงสัยว่าใส่สารกันรา เช่นเดียวกับอาหารหมักดอง หากมีอายุเกินสามสัปดาห์ โดยไม่มีฟองอากาศหรือราขึ้นตามขอบภาชนะให้เลี่ยงการรับประทานผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

จะเห็นได้ว่าแม้ สารกันรา จะเป็นสารต้องห้าม แต่ก็ยังมีการลักลอบผสมลงไปในผลิตภัณฑ์อาหารหลายชนิด ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีความจำเป็นต้องระมัดระวังในการบริโภคให้มากขึ้น โดยหันมารับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ งดเว้นการรับประทานอาหารหมักดอง หรือหากมีเวลาอาจจะใช้วิธีหมักรับประทานเองเพื่อให้ได้อาหารที่สะอาดและปลอดภัย

นอกจากนั้นควรเลือกซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ โดยอาจสังเกตป้ายหรือสัญลักษณ์ของกระทรวงสาธารณสุข และควรอ่านฉลากให้ละเอียดทุกครั้งก่อนเลือกซื้อ โดยเฉพาะอาหารสำเร็จรูป พยายามเลือกสินค้าที่ระบุอย่างชัดเจนว่า ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ไม่เจือสีสังเคราะห์หรือ สารกันรา และควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ให้ข้อมูลการผลิตไม่ครบถ้วน เช่นส่วนผสม วันผลิตและวันหมดอายุ เพราะเราจะไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าของที่เราซื้อถูกสุขลักษณะ ปลอดภัยและได้มาตรฐานหรือไม่

ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีในทุกๆ วัน อย่าลืมเลือกรับประทานอาหารที่สด สะอาด ปลอดภัยและปราศจาก สารกันรา กันด้วยนะคะ


ข้อมุลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/21 14:46:28
อ่าน: 298, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสารกันรา , ตรวจฉลากโภชนาการอาหาร , ตรวจสารต้องห้ามในอาหาร




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 646 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 674 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 908 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 947 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1093 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 895 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 908 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 956 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 892 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022