ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

พบสารกันบูดใน เฉาก๊วย ทั้งที่ฉลากบอกไม่มี

พบสารกันบูดใน เฉาก๊วย ทั้งที่ฉลากบอกไม่มี
ฉลาดซื้อ ตรวจหาวัตถุกันเสียในเฉาก๊วย 30 ยี่ห้อในท้องตลาดกรุงเทพมหานคร พบว่า 50% ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจทั้งหมด ไม่พบสารกันบูด (เบนโซอิก และซอร์บิก) และมีเพียงยี่ห้อเดียวที่พบสารกันบูดเกินมาตรฐาน แต่พบสารกันบูดในบางยี่ห้อที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ว่า ไม่มีสารกันบูด

เฉาก๊วยที่พบสารกันบูดเบนโซอิก 1,387.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม คือ เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางประกอก ที่พบปริมาณเบนโซอิกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม

เฉาก๊วย 6 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเบนโซอิก น้อยกว่า 1.5 - 1.75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.ตลาดอมรพันธ์ ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน
2.เฉาก๊วยตราจริงใจ แบบก้อนใหญ่
3.ตลาดบางกะปิ ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน
4.เฉาก๊วยเกาลูน บางกอกเกาลูน (แบบถุง)
5.นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ
6.ตลาดบางกะปิ ไม่มียี่ห้อ ร้านข้าวเหนียวมูลแม่สุวิมล

เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ถั่วแดงฯ
2.เฉาก๊วย นายอ๋อง


เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) (68.85 มิลลิกรัม)

2.เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) (79.41 มิลลิกรัม)

เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.เฉาก๊วยตลาดบางแค ไม่มียี่ห้อ (124 มิลลิกรัม)
2.เฉาก๊วยปุ้น & เปา (399.73 มิลลิกรัม)

เฉาก๊วย 3 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.เฉาก๊วย (jelly glass) (523.08 มิลลิกรัม)
2.แม่ปิงเฉาก๊วย (581.34 มิลลิกรัม)
3.คิด+ เฉาก๊วยธัญพืช (627.91 มิลลิกรัม)

เฉาก๊วย 14 ยี่ห้อ ไม่พบสารกันบูด(เบนโซอิก และซอร์บิก)ในการทดสอบ

1.เฉาก๊วย อาม่า
2.ละออ
3.เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ
4.แฮปปี้เฉาก๊วย (สั่งซื้อออนไลน์)
5.หวานเย็น
6.ตลาดคลองเตย ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน
7.เฉาก๊วยเกาลูน
8.เฉาก๊วยยูเทิร์น (สั่งซื้อออนไลน์)
9.ตราศรีลำทับ (SRI-LAM-THAP)
10.เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม
11.น้ำเฉาก๊วย ตรากรีนเมท
12.เฉาก๊วยชากังราว
13.เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม
14.เฉาก๊วยเต็งหนึ่ง

นอกจากนี้ยังพบว่าการแสดงฉลาก มีข้อสังเกตดังนี้

- ตัวอย่างที่พบสารกันบูดเบนโซอิกและหรือซอร์บิก จำนวน 16 จาก 30 ตัวอย่าง มีเพียง 4 ตัวอย่างที่แจ้งข้อมูลบนฉลาก ว่า มีการใช้สารกันบูด ประกอบด้วย

ยี่ห้อ ปุ้น & เปา แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย INS202, 211 หรือ โปแตสเซียม ซอร์เบต และ โซเดียม เบนโซเบต ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารกันเสีย เบนโซเอต ทั้ง 2 ชนิด โดยผลทดสอบพบ เบนโซอิก 219.56 มก./กก. และพบซอร์บิก 180.17 มก./กก.

เฉาก๊วย (jelly glass) ของ นิตยาวุ้นมะพร้าว แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 292.03 มก./กก. และพบซอร์บิก 231.05 มก./กก.
ยี่ห้อ แม่ปิงเฉาก๊วย แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสียโซเดียมเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 321.05มก./กก. และพบซอร์บิก 260.19 มก./กก.

เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางปะกอก แจ้งว่า มีโซเดียมเบนโซเอท 0.02% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก
1,387.37 มก./กก.

ฉลากสินค้าที่แจ้งว่าไม่มีวัตถุกันเสีย แต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน

ยี่ห้อ นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ ผลทดสอบพบ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.
ยี่ห้อ เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ขนมเยลลี่คาราจีแนน ผสมบุกผง ถั่วแดงและน้ำเฉาก๊วย 15% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 6.53 มก./กก. และพบซอร์บิก 3.74 มก./กก.
ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 68.85 มก./กก.
ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 79.41 มก./กก.

มาตรฐานการใช้สารกันบูดใน เฉาก๊วย

เฉาก๊วย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ เพราะมีกรรมวิธีในการผลิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นิยามความหมายของ เยลลี่ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ได้จากการคั้นสดหรือสกัดจากผลไม้ หรือทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ซึ่งผ่านการกรองและผสมกับ น้ำตาลทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ (ส่วนเฉาก๊วยทำจากพืชที่เรียกว่า หญ้าเฉาก๊วยหรือ Grass Jelly )

สำหรับข้อกำหนดเรื่องการใช้สารกันบูด กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) กำหนดไว้ อาหารกลุ่ม แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด สามารถใช้ กรดเบนโซอิก ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นกัน

ทั้งนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ปริมาณรวมที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตของสารตัวใดตัวหนึ่ง (อิงตัวที่ปริมาณน้อยที่สุด) ซึ่งในกรณีของ เฉาก๊วย อนุญาตให้ใช้สารกันเสีย กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อันตรายของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก

เป็นกลุ่มสารกันเสียที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ซึ่งนิยมใช้ใน แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่หากได้รับสารทั้ง 2 ชนิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณสูง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะ


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/22 12:33:06
อ่าน: 352, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน เฉาก๋วย , ตรวจฉลากโภชนาการเฉาก๋วย , ตรวจสารกันบูดเฉาก๋วย




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 644 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 671 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1091 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 890 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 890 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 952 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 888 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022