ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

หนึ่งช่องทางธุรกิจสำหรับ SMEs ไทย คือการส่งอาหารแห้ง อาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกา

หนึ่งช่องทางธุรกิจสำหรับ SMEs ไทย คือการส่งอาหารแห้ง อาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกา
สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่คนไทยไปอาศัย ทำงานหรือศึกษาต่อมากที่สุด ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกาจำนวนมาก ยิ่งในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดทำให้การซื้อของที่ห้างฯ หรือซุเปอร์มาร์เก็ตไม่สะดวกอีกต่อไป ประกอบกับคนอเมริกันนิยมช้อปปิ้งทางออนไลน์เป็นปกติอยู่แล้ว ทำให้มีมูลค่าการซื้อขายออนไลน์กว่า 709.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดิม 18% การซื้อขายสินค้าจำพวกอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มที่เติบโตเร็ว และมียอดซื้อพุ่งก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิดด้วย ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาพรวมการส่งของไปอเมริกาโดยเฉพาะอาหารแห้งและอาหารแปรรูปนั้นคึกคักมาก

DHL Express จึงทำการรวบรวม Check List การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา มองหาช่องทางสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม หรือจะส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปให้เพื่อนๆ ครอบครัวในอเมริกาได้เหมือนกัน

เคล็ดลับการส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกาให้ราบรื่น
ข้อแรกที่ต้องรู้คือ อาหารสด ไม่สามารถนำส่งไปต่างประเทศผ่านเครือข่ายการขนส่งด่วนทางอากาศของ DHL Express ได้ เพราะถือเป็น Perishable goods ซึ่งอาจเน่าเสียในระหว่างขนส่ง ส่วนอาหารแห้งและอาหารแปรรูปสามารถส่งไปอเมริกาได้ และต้องไม่ใช่อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก แฮม หรือ หมูแผ่น เป็นต้น ยกเว้น ปลาและสัตว์ทะเล

การนำเข้าอาหารประเภทปลาหรือผลิตภัณฑ์ปลาของสหรัฐอเมริกา
อาหารประเภทปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเนื้อปลา สามารถส่งไปยังอเมริกาได้ ยกเว้น ปลา Siluriformes คือ อันดับปลาหนัง หรือตระกูลปลาหนัง เป็นปลากระดูกแข็ง ปลาประเภทนี้มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ตัวอย่างวงศ์ที่สำคัญและพบในประเทศไทยและไม่สามารถส่งไปอเมริกาได้ ได้แก่

• วงศ์ปลาขยุย (Akysidae) เช่น ปลาขยุย
• วงศ์ปลาดัก (Amblycipitidae) เช่น ปลาดัก
• วงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) เช่น ปลาริวกิว, ปลาอุก
• วงศ์ปลากด (Bagridae) เช่น ปลาแขยง ปลากด ปลามังกง
• วงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) เช่น ปลากะแมะ
• วงศ์ปลาดุก (Clariidae) เช่น ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย
• วงศ์ปลาแค้ขี้หมู (Erethistidae) เช่น ปลาแค้ขี้หมู
• วงศ์ปลาจืด (Heteropneustidae) เช่น ปลาจืด
• วงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) เช่น ปลาค้างคาว, ปลายะคุย
• วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) เช่น ปลาดุกทะเล ปลาปิ่นแก้ว
• วงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) เช่น ปลาสังกะวาด ปลาเผาะ ปลาโมง ปลาบึก ปลาเทโพ ปลาเทพา
• วงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เช่น ปลาสังกะวาด ปลายอนทอง ปลายอนโล่
• วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เช่น ปลาก้างพระร่วง ปลาเบี้ยว ปลาสายยู ปลาปีกไก่ ปลาชะโอน ปลาค้าว

การส่งอาหารแห้ง หรืออาหารแปรรูป ไปอเมริกา แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Non-Homemade Product และ 2. Homemade Product

1. การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade Product ไปอเมริกา
สำหรับ "Non-Homemade Product" หมายถึง อาหารแปรรูป หรืออาหารแห้ง ที่ผลิตจากโรงงาน และจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอด ฯลฯ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการบริโภคและเหมาะกับการส่งออกเพราะ โดยทั่วไปจะมีบรรจุภัณฑ์มิดชิด ผ่านการรับรองด้านอาหารจากหน่วยงานในท้องถิ่น เก็บได้นาน ข้อควรรู้ในการการขนส่งอาหารประเภท Non-Homemade มีดังนี้

1.1 ประเภทของอาหาร และจุดประสงค์ในการส่ง
ห้ามส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก แฮม หรือ หมูแผ่น เป็นต้น

ห้ามส่งอาหารสด ผักผลไม้ที่ยังไม่ได้ถูกแปรรูปให้เป็นอาหารแห้งหรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ
ห้ามส่งอาหารหรือสินค้าที่จำเป็นต้องคงสภาพอุณหภูมิหรือเก็บความเย็นเพราะการขนส่งจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของสินค้าได้

ถ้าจะส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทนมวัวหรือนมแพะที่เป็นนมผงหรือนมสดไปอเมริกา จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า สหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า USDA Import Veterinary Permit
ปลา อาหารทะเลแปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามที่แปรรูปมาจากสัตว์น้ำ เช่น ปลากระป๋อง ปลาตากแห้ง กุ้งแห้ง ขนมปลาเส้น สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ แต่ต้องผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปที่ถูกต้อง โดยจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นไปได้ต่อการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสามารถขนส่งออกจากไทยได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้*

- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ ไม่เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) สามารถส่งออกได้ปกติ

- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำ มีใบอนุญาตส่งออกจากกรมประมง และเดินพิธีการส่งออกเต็มรูปแบบ

1.2. ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การส่งอาหารไปยังต่างประเทศนั้น แม้จะเป็นอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปก็ต้องได้รับการบรรจุหีบห่อที่แน่นหนาโดยการซีลหรือปิดสุญญากาศ (Vacuum Packaging) เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือซึมเลอะของอาหารในระหว่างการขนส่ง

1.3. ฉลากอาหาร (Label): ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
• ชื่อสินค้า (Product name)
• ชื่อ และ ที่อยู่ผู้ผลิต (Manufacturer name & address)
• ส่วนผสม (Ingredients)
• น้ำหนัก (Net Weight)
• วันหมดอายุ (Expiry Date)
• ประเทศที่ผลิต (Country of Origin)

Tips: เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา แนะนำให้สแกนฉลากอาหาร และปรินท์แนบไปกับ invoice เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบของศุลกากรขาเข้าของฝั่งอเมริกา

1.4. รายละเอียดและข้อจำกัดในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade
• ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตส่งออก
• ไม่ต้องดำเนินพิธีการขาออก
• ปริมาณในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade

o การส่งไปให้บุคคล (ไม่ใช่เพื่อขายให้กับบริษัท) ให้จัดส่งใน "ปริมาณที่เหมาะสม" หรือปริมาณเหมาะสำหรับการบริโภคต่อคน (ตามดุลพินิจของศุลกากร)
o การส่งออกโดยระบุว่าส่งไปเพื่อการค้าขาย สามารถส่งได้ไม่จำกัดจำนวน

• การระบุมูลค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องระบุมูลค่าตามจริง โดยหากมีมูลค่าเกิน $800 จะต้องทำ Prior Notice ก่อนส่งสินค้า

2. การขนส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูป แบบ Homemade product ไปสหรัฐอเมริกา
Homemade product คืออาหารที่ผลิตหรือทำเองจากที่บ้าน หรือในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ OTOP หรือขนมที่ทำเองจากที่บ้าน เช่น คุกกี้ ขนมปังกรอบ เป็นต้น

2.1. ประเภทของอาหารและจุดประสงค์ในการส่งอาหาร
• การส่งออกอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปไปอเมริกา จะต้องเป็นการส่งออกเพื่อบุคคลถึงบุคคลเท่านั้น ห้ามเป็นการส่งออกเพื่อนำไปทำการค้าโดยเด็ดขาด
• ปริมาณที่ส่งออกต้องถูกจำกัดปริมาณ เพื่อความเป็นไปได้และเหมาะสมในการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น
• ปลา อาหารทะเลแปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามที่แปรรูปมาจากสัตว์น้ำ เช่น ปลากระป๋อง ปลาตากแห้ง กุ้งแห้ง ขนมปลาเส้น สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ แต่ต้องผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปที่ถูกต้อง โดยจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นไปได้ต่อการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสามารถขนส่งออกจากไทยได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้*

- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ ไม่เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) สามารถส่งออกได้ปกติ

- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำ มีใบอนุญาตส่งออกจากกรมประมง และเดินพิธีการส่งออกเต็มรูปแบบ

• การส่งนมวัวหรือนมแพะที่เป็นนมผงต้องมีใบอนุญาตเหมือน Non-Homemade เช่นกัน

2.2 ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
การห่อหรือบรรจุภัณฑ์ จะต้องได้รับการหีบห่อที่แน่นหนา โดยการซีล หรือปิดสุญญากาศ (Vacuum Packaging) เสมือนกับการส่งผลิตภัณฑ์ Non-Homemade

2.3. ฉลากอาหาร (Label): ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้
• ป้ายชื่อสินค้า (Product name)
• ระบุว่าเป็น Homemade บน Invoice

2.4. รายละเอียดและข้อจำกัดในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Homemade
• ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตส่งออก
• ไม่ต้องเดินพิธีการขาออก
• ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศุลกากร
• ไม่จำกัดมูลค่าในการส่ง แต่หากเกิน $800 ต้องทำ Prior Notice ก่อนการส่งสินค้า

เพื่อป้องกันความล่าช้าในการส่งอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปไปอเมริกา ผู้ส่งต้องเตรียมเอกสารหรือข้อมูลในการจัดส่งที่ต้องใช้ เพราะอเมริกามีการควบคุมการนำเข้าพัสดุประเภทอาหารอย่างเข้มงวด อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์อย่าง DHL Express ที่ให้บริการส่งของไปต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลก ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลท่านหรือสอบถาม รับคำแนะนำในการจัดส่งเอกสารและพัสดุไปทั่วโลกผ่าน Live Chat หรือโทร 02-345-5000


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/22 13:43:50
อ่าน: 232, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสินค้าอาหารแห้ง , ตรวจสินค้าเพื่อส่งออก , ตรวจมาตรฐานต่างๆเพื่อส่งออก



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 543 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 801 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022