ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

ทำความรู้จักกับ สเตียรอยด์

ทำความรู้จักกับ สเตียรอยด์
มาทำความข้าใจกันก่อนว่าสเตียรอยด์ (Steroid) เป็นฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างมาจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (Adrenal cortex steroids) สำหรับใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นสารที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค โดยกฎหมายกำหนดให้เป็นยาควบคุมพิเศษ เนื่องจากมีความเป็นพิษสูง และต้องให้แพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายเท่านั้น ซึ่งยา กลุ่มสเตียรอยด์สามารถแบ่งตามรูปแบบของการใช้ยาได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. สเตียรอยด์ประเภทใช้ภายนอก

ยาทา (ทั้งในรูปครีม โลชั่น ขึ้ผึ้ง) สำหรับรักษาผื่นแพ้ ลมพิษ ผิวหนังอักเสบ สะเก็ดเงิน
ยาหยอดตา ยาป้ายตา ยาหยอดหู สำหรับรักษาภูมิแพ้หรืออักเสบที่ตาและหู
ยาพ่นจมูก สำหรับรักษาโรคภูมิแพ้ที่มีอาการทางจมูก ริดสีดวงจมูก
ยาพ่นคอ สำหรับรักษาโรคหืด ภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการหอบ

2. สเตียรอยด์ประเภทกินและฉีด

การรักษาโรคหรือภาวะบางอย่าง จำเป็นต้องใช้ยากินหรือยาฉีดเท่านั้น เช่น อาการแพ้บางชนิด โรคหืดชนิดรุนแรง โรคภูมิคุ้มกันไวเกิน ผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ เป็นต้น

ประโยชน์ของสเตียรอยด์
โดยปกติแล้วในทางการแพทย์จะใช้สเตียรอยด์เพื่อทดแทนการขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต และจากความบกพร่องของต่อมใต้สมองส่วนหน้า นอกจากนี้ยังมีการใช้สเตียรอยด์เพื่อรักษาโรคอีกด้วย กล่าวคือ สเตียรอยด์จะถูกใช้เมื่อใช้ยาอื่นไม่ได้ผล หรือโรคนั้นไม่อาจควบคุมได้ด้วยยาอื่น เนื่องจากมีอาการข้างเคียงสูง ซึ่งการนำสเตียรอยด์ไปใช้ก็เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ และกดภูมิคุ้มกันในโรคต่างๆ นั้น เช่น โรคภูมิแพ้ โรคผิวหนัง โรคตา และโรคข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ เป็นต้น

ผลข้างเคียงของการใช้สเตียรอยด์
ทั้งนี้ หากใช้สเตียรอยด์ในขนาดน้อยๆ เพียงแค่ช่วงระยะเวลาสั้นๆ อาจไม่ส่งผลกระทบอะไรรุนแรงมากนัก แต่ถ้ามีการใช้ยาดังกล่าวต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดผลร้ายรุนแรงหลายอย่างตามมา เช่น

1.ติดเชื้อโรค เพราะยากดการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย
2.เป็นเบาหวาน เพราะยาทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
3.มีอาการบวมและความดันโลหิตสูง เพราะยาทำให้ขับน้ำลดลง แต่เพิ่มการสะสมไขมันที่หน้า หลังและท้อง
4.กระดูกพรุน เพราะยารบกวนสมดุลการสร้างกระดูก
5.ผิวหนังบางลง เพราะยาทาเสตียรอยด์ ส่งผลให้การสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังลดลง

นอกจากนี้ในบางรายยังมีอาการเป็นผื่นอักเสบรอบปาก ขนขึ้นดกบริเวณที่ใช้สเตียรอยด์ เป็นสิว เห็นเป็นรอยช้ำจ้ำเลือดใต้ผิวหนัง เป็นแผลในทางเดินอาหาร ตาเป็นต้อ การทำงานของต่อมหมวกไตผิดปกติ รบกวนการเจริญเติบโตในเด็ก ฯลฯ ด้วยเหตุนี้เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาทาสเตียรอยด์ เพื่อป้องกันผลข้างเคียงเหล่านี้ค่ะ


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/23 15:11:21
อ่าน: 270, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสารสเตียร์รอย , ตรวจเครื่องสำอาง , ตรวจเครื่องสำอางเพื่อ ขอ อย.




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 644 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 671 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 906 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1091 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 890 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 890 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 952 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 888 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022