ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

แตกต่างกันอย่างไร? ข้าวไรซ์เบอร์รี่ & ข้าวกล้อง

 แตกต่างกันอย่างไร? ข้าวไรซ์เบอร์รี่ & ข้าวกล้อง
ข้าวถือเป็นอาหารหลักคู่คนไทยมาช้านาน แต่ถ้าเราทานแต่ข้าวขาวขัดสีบ่อยๆ ก็อาจได้รับสารอาหารได้ไม่เต็มที่ หลายคนอาจจะสงสัยว่า ระหว่างทาน ข้าวไรซ์เบอร์รี่ กับ ข้าวกล้อง ทานข้าวแบบไหนดีกว่ากัน? สารอาหารเหมือนกันหรือแตกต่างกัน? วันนี้เรามาหาคำตอบกันเลยดีกว่า…

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ (Rice Berry)

เป็นข้าวที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล และข้าวขาวดอกมะลิ 105 มีลักษณะเป็นข้าวเจ้าสีม่วงเข้ม มีส่วนประกอบเป็นสารแอนโทไซยานิน ซึ่งก็คือสารสี ที่สามารถละลายน้ำได้ดี และจัดอยู่ในกลุ่มของฟลาโวนอยด์หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพสูง นอกจากนี้ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีเมล็ดเรียวยาว ผิวมันวาว มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ มีรสชาติหวาน กลมกล่อมชวนรับประทาน สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยมีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 130 วัน นอกจากนี้รำข้าวและน้ำมันรำข้าวจากข้าวไรซ์เบอร์รี่ ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดี ซึ่งทางการแพทย์นิยมนำไปใช้ทำผลิตภัณฑ์อาหารโภชนาบำบัดด้วย

สารอาหารในข้าวไรซ์เบอร์รี่ มีอะไรบ้าง?

โอเมก้า 3 สำคัญต่อโครงสร้าง และการทำงานของสมอง ตับและระบบประสาท ทั้งยังลดระดับคอเลสเตอรอล

ธาตุสังกะสี สังเคราะห์โปรตีน สร้างคอลลาเจน รักษาสิว ป้องกันผมร่วง และกระตุ้นรากผม

ธาตุเหล็ก สร้างและจ่ายพลังงานในร่างกาย เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ซึ่งเกี่ยวข้อง กับการใช้ออกซิเจนในร่างกายและสมอง

วิตามินอี ชะลอความแก่ บำรุงผิวพรรณ ลดอัตราเสี่ยงของโรค ที่เกี่ยวกับหลอดเลือดสมองและหัวใจ ทำให้ปอดทำงานดีขึ้น

วิตามินบี จำเป็นต่อการทำงานของสมอง ระบบประสาท ระบบย่อยอาหาร ป้องกันโรคเหน็บชา

เบต้าแคโรทีน ชะลอความแก่ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง บำรุงสายตา

ลูทีน ป้องกันจอประสาทตาเสื่อม บำรุงการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงตา

โพลิฟีนอล ทำลายฤทธิ์ของอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้

แทนนิน แก้ท้องร่วง แก้บิด ช่วยสมานแผล

แกมมาโอไรซานอล ลดระดับคอเรสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือด ทำให้เลือดหมุนเวียนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเป็นปกติ ลดอัตราเสี่ยงของโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง สมองเสื่อม

กากใยอาหาร ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยระบบขับถ่าย

ข้าวกล้อง (Brown Rice)

เป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี จึงยังคงมีสารอาหารต่างๆ มากกว่าข้าวขัดขาว มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ง่าย ลำต้นตั้งตรง ต้นมีสีเขียว ผลเป็นเมล็ด อยู่เป็นช่อ มีลักษณะทรงรี เรียวยาวเล็กๆ เปลือกเมล็ดมีสีเหลืองทอง ข้างในมีเมล็ดแข็ง มีเยื่อหุ้มเมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลเหลือง เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดจะร่วน มีกลิ่นหอม ในประเทศไทยมีปลูกหลายสายพันธุ์ มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง นำมารับประทานและประกอบอาหารต่างๆ หลายเมนู

สารอาหารในข้าวกล้อง มีอะไรบ้าง?

วิตามินบี ป้องกันอาการอ่อนเพลียของกล้ามเนื้อ แขน-ขาไม่มีแรง บำรุงสมอง และช่วยให้เจริญอาหาร

วิตามินบี 1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา

วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก

วิตามินบี 3 หรือไนอะซิน ช่วยป้องกันโรคผิวหนัง และเส้นประสาท

แคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกให้แข็งแรง ทำให้ไม่เป็นตะคริวได้ง่าย

ฟอสฟอรัส ทำให้กระดูกและฟันแข็งแรงเจริญเติบโตได้ดี

ธาตุหล็ก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง

โปรตีน ช่วยเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

ไขมัน ช่วยให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย เพราะเป็นไขมันดีจึงไม่มีคอเลสเตอรอล

คาร์โบไฮเดรต ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย

ธาตุทองแดง ช่วยในการสร้างเฮโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

โพแทสเซียม ช่วยให้หัวใจเต้นเป็นปกติ และควบคุมความสมดุลของน้ำในร่างกาย

ซีลีเนียม มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่

กากใยอาหาร ช่วยให้ท้องไม่ผูก และป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้

จะเห็นได้ว่า ประโยชน์ของข้าวไรซ์เบอร์รี่ & ข้าวกล้อง นั้นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนควบคุมน้ำหนัก เพราะอุดมไปด้วยประโยชน์ แต่สัมผัสในการกิน อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย เพราะข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีความเหนียบหนึบ คล้ายข้าวเหนียว ในขณะที่ข้าวกล้องจะกรุบกรอบ และมีรสไม่หนักมาก แต่สิ่งที่ข้าวไรซ์เบอร์รี่พิเศษกว่าข้าวกล้อง คือ ข้าวไรซ์เบอร์รี่จะมีพฤกษาเคมีสีม่วง (แอนโทไซยานิน) ที่มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงขอฟันธงว่า ข้าวทั้งสองชนิด สามารถควบคุมน้ำหนักได้เหมือนกัน อยู่ที่ความชอบ และประโยชน์ที่มากกว่าของข้าวไรซ์เบอร์รี่


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/26 10:51:09
อ่าน: 331, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน ข้าว , ตรวจข้อมูลโภชนาการข้าว , ตรวจสารเคมีตกค้างในข้าว



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 544 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 563 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 800 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 925 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 784 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 802 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 788 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 792 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 777 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022