ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

อุปสรรคในการส่งออกไก่ของไทย

ไก่เป็นสินค้าปศุสัตว์ส่งออกสำคัญที่สุดของไทยมีมูลค่าส่งออกสูงถึงปีละ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 60 เป็นการส่งออกไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง นอกนั้นเป็นการส่งออกไก่แปรรูปประเภทไก่ทอด ไก่นึ่ง ไก่ย่าง ไก่ต้มสุก เป็นต้น ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ไก่ส่งออกของไทยมีคุณภาพสูงและมีความหลากหลายเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศ แต่ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากคู่แข่งในตลาดส่งออกสำคัญ เช่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป (European Union: EU) ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่เป็น

อุปสรรคทำให้การส่งออกไก่ของไทยขยายตัวได้ไม่ดี เท่าที่ควร ได้แก่

1. ปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ต้นทุนการเลี้ยงไก่ของไทยสูงกว่าคู่แข่ง เช่น สหรัฐอเมริกา บราซิล และจีน เนื่องจากต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี ขณะที่อัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์อยู่ในระดับสูง แม้ว่ารัฐบาลได้ดำเนินการปรับเพิ่มโควตานำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์และปรับลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการไทย แต่อัตราภาษีนำเข้าและค่าธรรมเนียมพิเศษสำหรับวัตถุดิบอาหารสัตว์นำเข้าที่เกินโควตายังคงอยู่ในระดับสูง เช่น ข้าวโพด อัตราภาษีในโควตา (ปริมาณโควตานำเข้าในปี 2544 เท่ากับ 53,832 ตัน) อยู่ในระดับร้อยละ 20 ของราคานำเข้า ขณะที่อัตราภาษีนอกโควตาสูงถึงร้อยละ 75.4 ของราคานำเข้า และมีค่าธรรมเนียมพิเศษอีก 180 บาทต่อตัน ส่วนกากถั่วเหลือง แม้ว่าอัตราภาษีในโควตาจะอยู่ในระดับเพียงร้อยละ 5 ของราคานำเข้า แต่อัตราภาษีนอกโควตาสูงถึงร้อยละ 119

2. การกีดกันการนำเข้าโดยใช้มาตรฐานด้านสุขอนามัย ภายใต้ข้อผูกพันของ WTO ที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องทยอยปรับลดภาษีนำเข้าระหว่างกันลงและห้ามนำมาตรการด้านภาษีมาเป็นข้อจำกัดทางการค้า ทำให้ประเทศผู้นำเข้าหันมาใช้มาตรฐานด้านสุขอนามัยเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้ามากขึ้น การส่งออกไก่ของไทยจึงต้องเผชิญกับมาตรฐานด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดจากประเทศผู้นำเข้าต่างๆ ได้แก่

-EU ออกระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นในการกำหนดปริมาณสูงสุดของสารตกค้างประเภทโลหะหนักในไก่ เช่น ตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2545 และจะมีการทบทวนปริมาณสูงสุดของสารตกค้างในทุก 5 ปี นอกจากนี้ สมุดปกขาวของ EU ว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหาร (White Paper on Food Safety) ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนตุลาคม 2545 มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการค้าไก่ในด้านมาตรฐานสินค้า และการควบคุมการผลิต โดยคำนึงถึงมาตรฐานด้านสวัสดิภาพสัตว์เป็นสำคัญ ทำให้การส่งออกไก่ของไทยไป EU ต้องเผชิญกับการกีดกันที่รุนแรงมากขึ้นเป็นลำดับ

-ออสเตรเลีย กำหนดให้ไก่ต้มสุกที่ส่งเข้าไปจำหน่ายในออสเตรเลียต้องใช้เวลาในการต้มเพื่อฆ่าเชื้อนานกว่าปกติถึงเกือบ 5 เท่าเพื่อให้แน่ใจว่าปราศจากเชื้อไวรัสชนิด IBVD ซึ่งมักพบในไก่

-เกาหลีใต้ เข้มงวดในการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ไก่และเป็ดแช่แข็ง โดยเฉพาะเชื้อ Listeria Monocytogenes ซึ่งเคยตรวจพบในไก่แช่แข็งของไทยในช่วงปี 2540-2542 แม้ว่าโครงการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex) มิได้ระบุให้มีการตรวจสอบเชื้อดังกล่าวก่อนออกจากประเทศผู้ส่งออกก็ตาม

-สิงคโปร์ เข้มงวดในการตรวจสอบสุขอนามัยสินค้าไก่แช่แข็งที่นำเข้าไปจำหน่ายในสิงคโปร์ โดยเฉพาะหากตรวจพบเชื้อ Salmonella จะห้ามนำเข้าทันที

-ไต้หวัน ปัจจุบันไทยไม่สามารถส่งไก่ไปจำหน่ายในไต้หวัน เนื่องจากไต้หวันยังไม่รับรองว่าไทยเป็นแหล่งผลิตไก่ที่ปลอดจากโรคนิวคาสเซิล ไทยจึงจำเป็นต้องเร่งพัฒนาสุขอนามัยการเลี้ยงไก่ เพื่อให้ได้ไก่คุณภาพดีและ เป็นที่ยอมรับของไต้หวัน จึงจะสามารถส่งออกไปจำหน่ายในไต้หวันได้
นอกจากอุปสรรคดังกล่าวข้างต้นแล้ว การส่งออกไก่ของไทยอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคอื่นๆ อีก ได้แก่ การชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักโดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดส่งออกไก่สำคัญที่สุดของไทย นอกจากนี้ การที่จีนซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยสามารถส่งไก่เข้าไปจำหน่ายใน EU

ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2544 ทำให้การแข่งขันในตลาด EU มีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ส่งออกไก่ของไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องเร่งลดการพึ่งพาตลาดส่งออกหลักเพียงไม่กี่แห่งด้วยการขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่อย่างจริงจัง โดยเฉพาะตลาดใหม่ในกลุ่มประเทศมุสลิมซึ่งมีกำลังซื้อสูงและยังต้องการสินค้าคุณภาพดีอีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ไก่ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับสินค้าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับไก่ที่ส่งออก ตลอดจนผลิตสินค้าโดยคำนึงถึงมาตรฐานด้านสุขอนามัยในแต่ละตลาดส่งออก เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในแต่ละตลาด เหล่านี้นับเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยให้การส่งออกไก่ของไทยสามารถเติบโตได้ต่อไปในตลาดโลก


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/26 12:03:00
อ่าน: 241, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน เนื้อไก่ , ตรวจเนื้อไก่เพื่อส่งออก , ตรวจสารตกค้างในเนื้อไก่




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 643 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 670 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 905 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 904 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1090 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 904 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 889 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 949 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 886 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022