ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

วิธีเลือกและใช้ให้ดีต่อผิว ครีมกันแดด

วิธีเลือกและใช้ให้ดีต่อผิว ครีมกันแดด
แสงแดดแรงๆ อย่างช่วงนี้ นอกจากจะทำร้ายผิวบางๆ ให้หมองคล้ำแล้ว ยังทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังอีกด้วย ที่สำคัญ ถึงแม้ว่าเวลาส่วนใหญ่เราจะอยู่ในอาคาร หรือที่ร่ม แต่บ่อยครั้งแสงแดดก็ยังจะเล็ดลอดเข้ามาได้โดยไม่รู้ตัวเลย ครีมกันแดดกลายเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้

ครีมกันแดด มีกี่แบบ แล้วทำงานอย่างไรกันบ้าง หลายๆ คนอาจเคยนึกสงสัย วันนี้ มาทำความเข้าใจกับเรื่องของครีมกันแดดกันสักหน่อย

ครีมกันแดดแบ่งออกเป็นสองประเภทหลักๆ คือ Chemical Sunscreen และ Physical Sunscreen

ครีมกันแดดประเภท Chemical Sunscreen ใช้คุณสมบัติในการดูดกลืนรังสี UV เพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด ก่อนที่สารเคมีสะสลายตัวไปเอง Chemical Sunscreen มีทั้งแบบที่ละลายในน้ำมันและละลายในน้ำ ทำหน้าที่ช่วยให้สามารถซึมซาบเข้าสู่ผิวได้ทั้งในชั้นหนังกำพร้า และในชั้นหนังแท้

ครีมกันแดดชนิด Chemical Sunscreen ที่มีค่า SPF สูงๆ จะมีสารกันแดดรวมกันหลายๆ ชนิด เพื่อให้การดูดกลืนรังสี UV ที่มีช่วงความถี่ของคลื่นต่างๆ กัน ครอบคลุมได้มากขึ้น และช่วยให้สามารถดูดกลืนรังสี UV ไว้ได้มากขึ้น กระนั้น การใช้ครีมกันแดดชนิดเคมีที่มีค่า SPF สูง เกินความจำเป็นอาจทำให้มีการสะสมสารกันแดดไว้ในผิวมาก ทำให้ผิวเกิดอนุมูลอิสระ และเกิดความร้อนภายในผิวชั้นใน อาจทำให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วโดยไม่จำเป็นได้

การเลือกใช้ครีมกันแดดที่มีสารกันแดดชนิด Chemical Sunscreen ควรปฎิบัติดังนี้
1.ทาครีมกันแดดก่อนออกแดดอย่างน้อย 30 นาที
2.ควรทาครีมกันแดดซ้ำ ทุก 2 ชั่วโมง
3.ควรระมัดระวังในการใช้ครีมกันแดดชนิดนี้ เนื่องจากอาจมีผลทำให้เกิดปฎิกริยา Oxidation ที่ผิว ทำให้เกิดความร้อนที่ผิวมากขึ้น และอาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง และเสื่อมสภาพได้ง่ายขึ้น
ครีมกันแดดประเภท Physical Sunscreen ที่ทำหน้าที่ปกป้องผิวโดยการสะท้อนรังสี ด้วยสารกันแดดในกลุ่มแร่ธาตุ โดยสารที่นิยมใช้ได้แก่ ไทเทเนียมไดออกไซด์ และซิงค์ออกไซด์

ความแตกต่างในคุณสมบัติของครีมกันแดดในกลุ่มนี้ อยู่ที่ขนาดของอนุภาค ความละเอียด ชนิดของผลึก

ความสามารถในการกระจายตัว ความเสถียร ความสามารถในการเกาะติดผิว โดยขนาดของอนุภาคที่เหมาะสม ควรอยู่ระหว่าง 100-10 นาโนเมตร จึงจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องทั้งยูวีเอ ยูวีบี และกระจายได้ทั่วถึงโดยไม่ทำให้เกิดสีขาววอกเวลาใช้

ครีมกันแดด ชนิด Physical Sunscreen มีข้อดีคือ ไม่ทำให้ผิวเกิดความร้อน จึงอ่อนโยนและก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าครีมกันแดดชนิด Chemical Sunscreen เพราะแร่ธาตุที่ใช้ เป็นของแข็งที่ไม่ซึมซาบเข้าสู่ผิวชั้นลึก ทำหน้าที่เพียงสะท้องแสง UV เท่านั้น และแม้ว่าอนุภาคมีขนาดเล็กกว่า 40 นาโนเมตร ก็จะสะสมในชั้นหนังกำพร้าเท่านั้น ไม่ซึมสู่ผิวชั้นหนังแท้เหมือนครีมกันแดดชนิดเคมี

โดยขนาดอนุภาคของสารกันแดด จะมีผลในการสะท้อนรังสี ที่มีความยาวคลื่นแตกต่างกัน คือ ขนาดอนุภาค 40 - 80 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสีทั้ง UVB, UVA และ V Ray ได้ดี มักใช้ในครีมกันแดดที่มีค่า SPF 15-30 เหมาะกับการใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไปที่ออกแดดสลับกับอยู่ในร่ม การต้องโดนแสงไฟตลอดเวลา หรือการอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ทั้งยังมีคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากริ้วรอยได้ดีอีกด้วย

ขนาดอนุภาค 10-40 นาโนเมตร จะสะท้อนรังสี UVB ได้ดีกว่า ทำให้ได้ค่า SPF ที่สูงได้ถึง 40 ขึ้นไป แต่ไม่สะท้อนรังสี UVA และ V ray จึงเหมาะกับการใช้เวลาออกแดดแรง ๆ นานๆ ทว่าจะไม่เหมาะกับการปกป้องผิวจากแสงแดดในที่ร่ม ครีมกันแดดชนิด Physical Sunscreen นี้ สามารถทาก่อนออกแดดได้ทันที และไม่จำเป็นต้องทาซ้ำบ่อยๆ ที่สำคัญไม่ซึมเข้าสู่ผิวชั้นลึก จึงไม่ทำให้เกิดความร้อนสะสมที่ผิว หรืออาการระคายเคืองจากสารเคมีอีกด้วย นอกจากคุณสมบัติในการปกป้องผิวจากแสงแดดแล้ว ครีมกันแดดที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด อาจมีส่วนผสมของสารที่ช่วยบำรุงผิว เติมความชุ่มชื้น หรือช่วยลดริ้วรอย เป็นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาเป็นทางเลือก การเลือกซื้อก็ต้องพิจารณาที่คุณภาพ และมาตรฐานของแต่ละยี่ห้อ


ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/11/29 14:34:45
อ่าน: 190, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจคุณภาพ มาตรฐาน ครีมกันแดด , ตรวจสารต่างๆในครีมกันแดด , ตรวจครีมกันแดดเพื่อขอ เลข จดแจ้ง



 
 

พิมพ์ตัวเลข ↑
 
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 621 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 646 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 883 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 883 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1013 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 866 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 883 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 868 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 927 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 865 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022