ห้องปฏิบัติการกลาง ประเทศไทย
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
หน้าหลัก | กระดานความรู้ | อัพเดท
Translate to English

อันตรายที่ต้องระวัง 4 สารพิษตกค้างในอาหาร

กระแสออร์แกนิกหรือเกษตรอินทรีย์กำลังเป็นเทรนด์ที่มาแรง เนื่องจากปัจจุบันคนเรา มีความเสี่ยงต่อการได้รับสารเคมีจากการอุปโภค บริโภคและจากสิ่งแวดล้อมมากกว่า 15,000 ชนิด ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อย่างยากจะคาดเดา ด้วยเหตุนี้ ออร์แกนิก จึง กลายมาเป็นทางเลือกใหม่ ที่ผู้คนทั่วโลกหันมา ให้ความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์และ อาหารการกินต่างๆ ที่มีกระบวนการผลิตจากธรรมชาติ หรือการผลิตแบบดั้งเดิม โดยไม่มีการฉายรังสี การ ใช้สารเคมี หรือใช้วัตถุเจือปนอาหารทางเคมีแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม แม้ทั่วโลกจะให้ความสำคัญ ต่อเกษตรอินทรีย์ แต่ปีที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเปิดเผยตัวเลขว่า คนไทยป่วยจากพิษสารกำจัดศัตรูพืชปีละเกือบ 1,800 คน ซึ่งมีทั้งพิษแบบเฉียบพลัน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ และพิษเรื้อรัง เช่น โรคผิวหนัง มะเร็ง โรคระบบประสาท ที่สำคัญผลการตรวจเลือดเกษตรกรไทยยังอยู่ในเกณฑ์ น่าห่วง และพบว่ากว่า 4 ล้านคนมีความเสี่ยงจะป่วย!

ตอกย้ำด้วยข้อมูลรายงานการสำรวจขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ที่พบว่าประเทศไทย มีการใช้ยาฆ่าแมลงมากเป็นอันดับ 5 ของโลก ใช้ยาฆ่าหญ้าเป็นอันดับ 4 ของโลก ที่สำคัญจากการสำรวจในทุกปี ยังพบว่าพบสารเคมีตกค้าง ในผัก และสารพิษอันตรายที่ทั่วโลกห้ามใช้ ซึ่งนอกจาก เกษตรกรซึ่งถือเป็นต้นน้ำของการผลิตที่เสี่ยงแล้ว ผู้บริโภคก็เสี่ยงต่ออันตรายด้านสุขภาพด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะ 4 สารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในพืช ผัก ผลไม้ ที่วางขายในท้องตลาด

1) คาร์โบฟูราน (Carbofuran)

สารชนิดนี้ใช้กำจัดแมลงในวงกว้าง ทั้งหนอนกอ หนอนแมลงวัน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ฯลฯ นิยมใช้ในนาข้าว พืชไร่อย่าง ถั่วเหลือง ข้าวโพด แตงโม แตงกวา และพืชสวนอย่างกาแฟ ส้ม มะพร้าว ฯลฯ เมื่อได้รับสารพิษชนิดนี้ หากมีปริมาณมากพอ จะทำให้อาเจียน เสียการทรงตัว มองไม่ชัด เป็นสารก่อมะเร็งรุนแรง เซลล์ตับแบ่งตัวผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดเนื้องอก กลายพันธุ์ อสุจิตาย และทำลายเอนไซม์ที่เยื่อหุ้มสมอง

2) เมโทมิล (Methomyl)

ใช้กำจัดแมลงหลายประเภท เช่น แมลงปากกัด ปากดูด เพลี้ย และหนอนชนิดต่างๆ นิยมใช้ในองุ่น ลำไย ส้มเขียวหวาน สตรอว์เบอร์รี่ กะหล่ำปลี หัวหอม และมะเขือเทศ ฯลฯ สารชนิดนี้จะทำให้คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ชัก พิษต่อหัวใจ ฮอร์โมนเพศชายลดลง ทำลายท่อในลูกอัณฑะ ในระยะยาวจะทำลายดีเอ็นเอ ทำให้โครโมโซมผิดปกติ และเป็นพิษต่อม้าม

3) ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)

ใช้กำจัดแมลงประเภทปากดูด เจาะ หรือกัด ในพืชผักผลไม้ ข้าว กาแฟ ถั่วฝักยาว ผักกาดหัว อ้อย คะน้า ส้ม ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ฯลฯ พิษต่อยีน กลายพันธุ์ เกิดเนื้องอก ก่อมะเร็ง พิษต่อไต พิษเรื้อรังต่อระบบประสาท ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง เจ็บเหมือนเข็มแทง มือเท้าอ่อนล้า

4) อีพีเอ็น (EPN)

ใช้เป็นหัวยาและผสมกับสารเคมีเกษตรชนิดอื่นๆ ในการเพาะปลูก เพื่อกำจัดแมลงหลายชนิด เช่น หนอนเจาะสมอฝ้าย หนอนกอข้าว แมลงดำหนาม ข้าว ข้าวโพด พืชตระกูลแตง ไม้ผล ไม้ดอกไม้ประดับ ท้องเสีย แน่นหน้าอก มองไม่ชัด สูญเสียการทรงตัว ไอ ปอดปวม หยุดการหายใจ ทำลายระบบประสาท ไขสันหลังผิดปกติ น้ำหนัก สมองลดลง พิษเรื้อรังยังทำให้ทารกในครรภ์มีปัญหา การพัฒนาการของสมองปัจจุบันถูกยกเลิกไปแล้ว ห้ามใช้ในไทยแต่ยังตรวจพบในพืชผักผลไม้ บางชนิด

เทคนิคล้างผัก

ผักผลไม้ที่วางขายในท้องตลาด อาจเป็น "มัจจุราชเงียบ" ที่เต็มไปด้วยสารพิษจนนำไปสู่โรคร้าย ในระยะยาว นอกจากการเลือกบริโภค "ผักผลไม้ออร์แกนิก" แล้ว ทางเลือกหนึ่งหากหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การล้างผักผลไม้ให้สะอาด สำหรับวิธีการล้างผักผลไม้เพื่อขจัดสารเคมีตกค้างที่ปนเปื้อนสามารถทำได้หลายวิธี

1) การล้างด้วยน้ำธรรมดา และน้ำยาล้างผัก สามารถลดสารพิษได้ไม่น้อยกว่า 25%

2) การแช่ผัก ผลไม้ในด่างทับทิมสีชมพูอ่อนๆ (20-30 เกล็ด) จะช่วยลดสารพิษได้มากถึง 40%

3) การล้างผักโดยให้น้ำไหลผ่านใช้มือช่วยคลี่ใบผักนาน 2 นาที จะช่วยลดสารพิษได้ถึง 60%

4) การใช้น้ำส้มสายชู (5%) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 1 กะละมัง (20 ลิตร) แล้วแช่ผักผลไม้นาน 30-45 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดจะช่วยลดปริมาณสารพิษได้ถึง 80%

5) การใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (ผงฟู) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำอุ่น 1 กะละมัง (20 ลิตร) แล้วนำ ผักผลไม้ ลงแช่ 15 นาที จะช่วยลดสารพิษที่ตกค้างได้ถึง 90%

6) การใช้ผงถ่านแอคติเวตชาร์โคลหรือผงคาร์บอนกัมมันต์ (activated carbon) แช่ผักผลไม้ โดย ผสมผงถ่าน 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 5 ลิตร แล้วนำผักผลไม้มาแช่ทิ้งไว้ 15 นาที จากนั้นล้างออก ด้วยน้ำสะอาด วิธีนี้จะช่วยดูดซับสารเคมี สี และกลิ่น จากผักผลไม้ ได้มากกว่า 90%



ข้อมูลจาก http://link..

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ให้บริการตรวจวิเคราะห์ต่างๆ ทั้งผลิตภัณฑ์อาหาร และ ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร

เลือกตรวจวิเคราะห์ออนไลน์กับเราได้ที่ เมนูหลักเลือกตรวจวิเคราะห์

โดย admin 2565/12/01 12:29:55
อ่าน: 237, ความเห็น: 0, e

ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ
ตรวจสารคาร์โบฟูราน , ตรวจสารเมโทมิล , ตรวจสาร ไดโครโตฟอส อีพีเอ็น




พิมพ์ตัวเลข ↑
คุณต้องการตรวจวิเคราะห์ ?
ฉลากโภชนาการ
สารสำคัญกัญชา/กัญชง
น้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application

Line @FarmKaset
สอบถามเพิ่มเติม
คุณปริม โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

สะดวกมากขึ้น
1.กรอกฟอร์มออนไลน์ และโอนชำระเงิน
2.ส่งตัวอย่างมาที่ห้องแล็บ
3.รอรับผลทางไปรษณีย์ อีเมล์และไลน์

การตรวจ ผลิตภัณฑ์ กัญชง กัญชา ให้ได้มาตรฐาน ถูกต้องตามกฎหมายรับรอง
Update: 2566/08/30 08:27:01
อ่าน: 649 ความเห็น: 0
ฉลากโภชนาการ ประโยชน์ที่เจ้าของสินค้า ไม่ควรมองข้าม
Update: 2566/08/30 08:23:39
อ่าน: 677 ความเห็น: 0
ตรวจ GMP น้ำ กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:22:00
อ่าน: 910 ความเห็น: 0
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี กับ centrallab.online
Update: 2565/12/15 07:03:41
อ่าน: 950 ความเห็น: 0
ตรวจวิเคราะห์ดิน ปรับการใช้ปุ๋ย ไม่ว่าปลูกพืชอะไร ก็ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น ลดต้นทุนปุ๋ยได้สูงกว่าจ่ายค่าตรวจดินหลายเท่า
Update: 2565/12/15 06:51:14
อ่าน: 1096 ความเห็น: 0
ปลาร้าสับผัดสุก รสแซ่บ…
Update: 2565/12/08 14:50:25
อ่าน: 898 ความเห็น: 0
กัญชา ปรุงยังไงไห้เป็นเมนูที่ถูกต้อง และ ปลอดภัย !!
Update: 2565/12/08 14:24:35
อ่าน: 911 ความเห็น: 0
ผักอินทรีย์ คือ ผักปลอดสารพิษ หรือเปล่า?
Update: 2565/12/08 14:18:27
อ่าน: 897 ความเห็น: 0
ต้นทุนต่ำ สร้างรายได้ตลอดปี เลี้ยง ปลาสลิด ในบ่อปูนซีเมนต์
Update: 2565/12/08 14:00:22
อ่าน: 958 ความเห็น: 0
ใครป่วย มีอาการไอ มีเสมหะ ต้องลอง ! สมุนไพรแก้ไอ ขับเสมหะ
Update: 2565/12/08 13:55:08
อ่าน: 894 ความเห็น: 0
© CentralLab.online 2022